หนุ่มจ่ายแพงสร้าง "เพนต์เฮาส์ระดับไฮเอนด์" ฝันสลายเจอน้ำรั่ว-ผนังร้าว เชื่อเพราะอิฐที่ใช้
หนุ่มเวียดนาม แชร์เรื่องที่เจอกับตัว จ่าย 8 พันล้าน เป็นเจ้าของ "เพนต์เฮาส์ระดับไฮเอนด์" ไม่อยากเชื่อ น้ำรั่ว-ผนังแตก เตือนอย่าใช้อิฐแบบนี้
Đặng Anh Vũ ชายหนุ่มวัย 30 ปีจากฮานอย ซึ่งเป็นบล็อกเกอร์ด้านอาหาร และยูทูบเบอร์ ย้ายมาอยู่ที่โฮจิมินห์ซิตี้เพื่อเริ่มต้นธุรกิจเมื่อไม่กี่ปีก่อน กระทั่งล่าสุดได้ทุ่มเงินเพื่อเป็นเจ้าของเพนต์เฮาส์มูลค่า 8 พันล้านดอง (มากกว่า 11 ล้านบาท) มี 2 ชั้น 246 ตารางเมตร และตั้งอยู่ในทำเลที่สวยงามของเมือ
เนื่องจากเป็นบ้านหลังแรกเขาจึงใส่ใจทุกรายละเอียด มีการออกแบบที่พิถีพิถัน และเลือกวัสดุแต่ละชิ้นอย่างระมัดระวัง เขาใช้ความพยายามอย่างมากกับบ้านหลังนี้ “กระเบื้องทุกแผ่น ไม้ทุกสี ม่านทุกผืน ทุกอย่างล้วนเป็นเรื่องของความคิดที่จะมีบ้านที่สะดวกสบายและตรงตามความชื่นชอบ เพราะบ้านจะอยู่กับเราไปอีกหลายปี หลายปี "
อย่างไรก็ดี แม้ว่าเขาจะวางแผนไว้ล่วงหน้า และพยายามทำทุกอย่างให้เพอร์เฟคที่สุดแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดได้ ปัญหาหนึ่งที่เขาใช้เวลาแก้ไขนานที่สุดก็คือพื้น เนื่องจากการคำนวณอัตราส่วนที่ไม่สมดุล ในตอนที่บ้านใกล้จะเสร็จสมบูรณ์กลับพบปัญหาพื้นแตก ดังนั้นทีมงานก่อสร้างจึงต้องย้ายเฟอร์นิเจอร์และสิ่งต่างๆ ออกไป เพื่อเริ่มต้นใหม่ แต่สุดท้ายผลงานที่ได้ออกมาก็สมบูรณ์แบบตามความตั้งใจของเขา และทำให้หลายคนชื่นชม
เนื่องจากเขาเป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์แบบ และหลงใหลในเทคโนโลยี เพนต์เฮาส์จึงได้รับการออกแบบในสไตล์ "สมาร์ทโฮม" พร้อมด้วยเฟอร์นิเจอร์ทันสมัยมากมาย บ้านสไตล์ที่เน้นความสวยงามของวัสดุหยาบๆ เรียบง่าย ให้ความรู้สึกอ่อนโยนและผ่อนคลายที่สุดเมื่ออยู่บ้าน เลือกโทนสีกลางๆ ที่ไม่โดดเด่นจนเกินไป เช่น สีเอิร์ธโทน สีเบจ สีขาว และสีเทาซีเมนต์ พร้อมการลงสีเอฟเฟ็กต์ และพื้นคอนกรีตขัดเงาที่มีสีเทา 2 เฉดสี ให้ความรู้สึกสว่างและกว้างขวาง ทั้งยังดูเหมือนใกล้ชิดกับธรรมชาติ
ทั้งนี้ เขาชื่นชอบมุมโค้งในบ้านเป็นพิเศษ เช่น บันไดทรงโค้ง เพราะสร้างความรู้สึกนุ่มนวล และให้ความรู้สึกแบบเอเชียสุดๆ แถมยังช่วยให้พลังงานในบ้านไหลเวียนได้ราบรื่นยิ่งขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากส่วนนี้เองที่ทำให้กระบวนการสร้างบ้านใช้เวลานานกว่าปกติ
อย่างไรก็ดี แม้จะมีการออกแบบที่พิถีพิถันและเลือกกระเบื้องแต่ละชิ้นอย่างระมัดระวัง แต่หลังจากใช้ชีวิตที่เพนต์เฮาส์หลังนี้มา 2 ปี เขาก็ต้องเผชิญกับ "ความทุกข์ยาก" แม้ว่าเขาจะอาศัยอยู่ในเพนต์เฮาส์ระดับไฮเอนด์ แต่เขาก็ต้องทนต่อปัญหาน้ำรั่วและน้ำซึมในช่วงฤดูฝน ซึ่งเมื่อได้รับบ้านในปี 2564 ไม่พบปัญหานี้ เพราะหน้าฝนปีนั้นไม่หนักมาก จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ เขาถึงเพิ่งรู้ว่าน้ำรั่วเข้ามาผ่านช่องว่างของกรอบหน้าต่างที่ใหญ่ที่สุดในบ้าน ตอนนี้เขาได้จ้างคนงานมาซ่อมแซม หลังจากหารือกับนักลงทุนและคณะกรรมการบริหารอาคารแล้ว
และไม่เพียงแต่น้ำรั่วเท่านั้น เขายังพบปัญหาผนังแตกร้าวอีกด้วย เนื่องจากบ้านตั้งอยู่บนชั้นบนสุดของโครงการอพาร์ตเมนต์ ยิ่งบ้านอยู่สูงเท่าไรก็ยิ่งมีโอกาสสั่นสะเทือนมากขึ้นเท่านั้น จึงทำให้เกิดรอยแตกร้าวได้ หรืออาจเพราะเขาใช้อิฐที่ยังไม่เผาเพื่อสร้างบ้าน เมื่ออาคารขยับและสั่นไหว รอยแตกก็จะก่อตัวขึ้น
นอกจากนี้ตู้ในห้องน้ำของห้องมาสเตอร์ก็กำลังจะโค่นลง ส่วนหนึ่งเพราะเขาใช้อิฐที่ไม่เผามาทำผนัง อีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะตู้เต็มไปด้วยสิ่งของมากเกินไปทำให้ตู้ค่อยๆ เอียงลงมา หลังจากใช้งานไป 2 ปี รวมทั้งอ่างล้างหน้าในห้องน้ำก็มีน้ำกระเซ็น เนื่องจากเขาไม่ได้ปรึกษาสถาปนิกในการติดตั้ง
หลังจากผ่านประสบการณ์ "ความทุกข์ยาก" นี้ เขาจึงอยากแนะนำให้ทุกคนใส่ใจและพิจารณาอย่างรอบคอบหากจะเลือก "อิฐที่ไม่เผา" สำหรับสร้างผนังและพื้น โดยเฉพาะครัวเรือนที่อาศัยอยู่บนชั้นสูง
ปัจจุบันเขาได้ปรับปรุงเพนต์เฮาส์แล้ว ซึ่งต้องใช้เงินและเวลาในการซ่อมแซมพอสมควร ดังนั้น หลังจากผ่านประสบการณ์ "ความทุกข์ยาก" นี้ เขาจึงอยากแนะนำให้ทุกคนใส่ใจและพิจารณาอย่างรอบคอบ ในการเลือกวัสดุและเฟอร์นิเจอร์เพื่อใช้ในบ้าน เพื่อให้มีพื้นที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัย และเตือนเป็นพิเศษหากจะเลือกใช้ "อิฐที่ไม่เผา" สำหรับสร้างผนังและพื้น โดยเฉพาะครัวเรือนที่อาศัยอยู่บนชั้นสูง
อัลบั้มภาพ 16 ภาพ