สรุปไทม์ไลน์ "เรือดำน้ำไทย" จะได้ใช้ไหม หรือจะได้ "เรือฟริเกต" มาใช้แทน

สรุปไทม์ไลน์ "เรือดำน้ำไทย" จะได้ใช้ไหม หรือจะได้ "เรือฟริเกต" มาใช้แทน

สรุปไทม์ไลน์ "เรือดำน้ำไทย" จะได้ใช้ไหม หรือจะได้ "เรือฟริเกต" มาใช้แทน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนถึงแนวทางการเจรจากับประเทศจีน เพื่อเปลี่ยนโครงการ “เรือดำน้ำ” เป็น “เรือฟริเกต” ก็กลายเป็นประเด็นที่ชาวเน็ตหยิบยกมาถกเถียงและวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง

แล้วมหากาพย์การจัดซื้อเรือดำน้ำจากจีนจนถึงวันที่มีการล้มดีลและเปลี่ยนเป็นเรือฟริเกต มีที่มาที่ไปอย่างไร Sanook สรุปไทม์ไลน์เรือดำน้ำไทย ที่ยังไม่แน่ใจว่าจะได้ใช้หรือเปล่า

28 เมษายน 2558 - อนุมัติหลักการให้จัดหาเรือดำน้ำ 3 ลำ

หลังปลดประจำการเรือดำน้ำ 4 ลำในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพเรือได้พยายามขออนุมัติจัดซื้อเรือดำน้ำมานานกว่า 30 ปี แต่ไม่เคยได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลอีกเลย เรื่องจากต้องใช้งบประมาณมหาศาล กระทั่งรัฐบาลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้อนุมัติหลักการให้จัดหาเรือดำน้ำ 3 ลำ กองทัพเรือจึงทำการสำรวจอู่ต่อเรือดำน้ำชั้นนำของโลก พบว่ามีทั้งหมด 6 แห่ง แต่ข้อเสนอดีที่สุดเป็นของประเทศจีน

18 เมษายน 2560 - อนุมัติจัดซื้อเรือดำน้ำ 3 ลำ รวม 36,000 ล้านบาท

คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้กองทัพเรือดำเนินการจ้างสร้างเรือดำน้ำ รุ่น Yuan class S26T จำนวน 3 ลำ โปรโมชั่นซื้อ 2 แถม 1 ในวงเงินงบประมาณ 36,000 ล้านบาท โดยไม่มีการแถลงหรือชี้แจงข้อมูลให้ประชาชนได้ทราบ ซึ่งอนุมัติจัดซื้อดังกล่าวเป็นการทำข้อตกลงแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) และลงนามในสัญญาจัดซื้อเรือดำน้ำ ระยะที่ 1 จำนวน 1 ลำ วงเงิน 13,500 ล้านบาท โดยจีนจะส่งมอบให้ไทยในปี 2566 

Getty Images

7 ตุลาคม 2562 - เห็นชอบงบประมาณรายจ่าย 63 จัดซื้อเรือดำน้ำลำที่ 2 - 3

คณะรัฐมนตรีได้มมีมติเห็นชอบงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ก่อนเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร โดยกองทัพเรือได้ของบประมาณ เพื่อจัดซื้อเรือดำน้ำลำที่ 2 และ 3 

พฤษภาคม 2563 -การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

เมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 รัฐบาลจึงขอให้แต่ละหน่วยงานโอนงบประมาณปี 2563 ในส่วนที่ยังไม่จำเป็นเร่งด่วนคืน เพื่อแก้ปัญหาโควิด ซึ่งทางกองทัพเรือก็ได้คืนงบในส่วนของการจัดซื้อเรือดำน้ำให้กับรัฐบาลไป 

17 กรกฎาคม 2564 - เสนอจัดซื้อเรือดำน้ำ 2 ลำ 

ต่อมาได้มีการเสนอจัดซื้อเรือดำน้ำ 2 ลำ ในช่วงงบประมาณปี 2565 โดยกองทัพเรือออกมายอมรับว่าเสนอจัดซื้อเรือดำน้ำลำที่ 2 และ 3 มูลค่ากว่า 2.2 หมื่นล้านบาท หลังจากนั้น 2 วัน (19 กรกฎาคม 2564) คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 ในส่วนกระทรวงกลาโหม ก็ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ขอถอนวาระการจัดซื้อเรือดำน้ำ 2 ลำ ออกจากการพิจารณาของที่ประชุม 

28 กุมภาพันธ์ 2565 - เรือดำน้ำไม่มีเครื่องยนต์

โฆษกกองทัพเรือ ออกมาแถลงยอมรับว่าปัญหาเรื่องข้อตกลงการซื้อเรือดำน้ำที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล ผลิตโดยบริษัท MTU ของเยอรมนี แต่เยอรมนีห้ามส่งออกเครื่องยนต์ให้กับทางจีน ตามมาตรการของสหภาพยุโรปที่ห้ามส่งออกสินค้ายุทโธปกรณ์ ปี 1989 ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่ทางจีนต้องแก้ไข 

Getty Images

9 สิงหาคม 2565 - กองทัพเรือขอพิจารณาสเปกเครื่องยนต์ใหม่

กองทัพเรือยืดเวลาพิจารณาสเปกเครื่องยนต์จีนใหม่ เพื่อความเหมาะสมและมีความใกล้เคียงกับเครื่องยนต์ของเยอรมนี เป็นวันที่ 15 กันยายน 2565 ขณะที่ทางจันก็ได้เสนอเครื่องยนต์ CHD 620 ที่จีนเป็นคนพัฒนาและผลิตเองให้กองทัพไทย สำหรับใช้ในเรือดำน้ำลำแรก แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ข้อสรุป และแน่ชัดว่าเรือดำน้ำที่ไทยซื้อจากจีนจะไม่ได้ใช้เครื่องยนต์ของเยอรมนีตามที่ระบุในสัญญา นำให้กองทัพเรือถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก

21 ตุลาคม 2566 - ชะลอโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำ

สุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พิจารณาชะลอโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำ และเปลี่ยนมาเป็นซื้อ “เรือฟริเกต” จากประเทศจีนแทน โดยสุทินยอมรับว่าโอกาสที่จะได้เครื่องยนต์เรือดำน้ำของเยอรมนี “น่าจะปิดสนิทแล้ว” จึงมีทางออกอยู่ 2 ทาง คือ เปลี่ยนเป็นเรือฟริเกตตามข้อเสนอของกองทัพเรือไทย กับตกลงเอาเครื่องยนต์จีนหรือใช้เครื่องยนต์เยอรมนีมือสอง

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนจากเรือดำน้ำเป็นเรือฟริเกต จำเป็นต้องจ่ายเงินเพิ่ม เนื่องจากเรือฟริเกตของจีน ราคาลำละ 14,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับราคาเรือดำน้ำที่เคยตกลงกับทางจีนที่อยู่ราว 13,000 ล้านบาท แปลว่าไทยต้องจ่ายเพิ่มอีกประมาณ ​1,000 ล้านบาท

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook