ธปท.อนุญาตแบงก์ปิดสาขา-เอทีเอ็มหากเกิดเหตุรุนแรง

ธปท.อนุญาตแบงก์ปิดสาขา-เอทีเอ็มหากเกิดเหตุรุนแรง

ธปท.อนุญาตแบงก์ปิดสาขา-เอทีเอ็มหากเกิดเหตุรุนแรง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อนุญาตให้ผู้บริหารธนาคารพาณิชย์สามารถตัดสินใจสั่งปิดการให้บริการตู้เอทีเอ็มหรือสาขาที่อยู่ในจุดเสี่ยงได้ทันที โดยไม่ต้องรายงานให้ ธปท.ทราบก่อนการดำเนินการ

นายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่า การชุมนุมเพื่อเคลื่อนไหวทางการเมืองในวันที่ 14 มีนาคมนี้ อาจจะมีเหตุการณ์ทุบตู้เอทีเอ็ม หรือเกิดความไม่ปลอดภัยในสาขาธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะสาขาที่อยู่ในจุดเสี่ยงว่า ตามแผนการดูแลความปลอดภัยของธนาคารพาณิชย์ในกรณีฉุกเฉินที่ได้มีการหารือกับธนาคารพาณิชย์นั้น หากเกิดกรณีฉุกเฉินเกิดขึ้น ธปท.อนุญาตให้ผู้บริหารธนาคารพาณิชย์สามารถตัดสินใจสั่งปิดการให้บริการตู้เอทีเอ็มหรือสาขาที่อยู่ในจุดเสี่ยงได้ทันที โดยไม่ต้องรายงานให้ ธปท.ทราบก่อนการดำเนินการ

"ปกติการเปิดและปิดการดำเนินการของสาขาธนาคารพาณิชย์ หรือตู้เอทีเอ็ม ธนาคารพาณิชย์ต้องรายงานให้ ธปท.ทราบก่อน แต่ในกรณีฉุกเฉินธนาคารพาณิชย์สามารถรายงานตามภายหลังการปิดสาขาธนาคารและตู้เอทีเอ็มได้ เพื่อความปลอดภัยของชีวิตพนักงานและทรัพย์สินของธนาคารพาณิชย์ด้วย" นายเกริก กล่าว

นายเกริก กล่าวต่อว่า เชื่อว่าการดูแลด้านความปลอดภัยธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งเป็นสิ่งที่ธนาคารพาณิชย์ความเข้าใจดี และมีการเตรียมแผนรับมือไว้อยู่แล้ว

นอกจากนี้ นายเกริก กล่าวว่า ธปท.ได้อนุมัติต่ออายุการให้บริการของศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาการปล่อยสินเชื่อของธปท.ต่อไปจนถึงสิ้นปี 2553 จากกำหนดเดินที่จะต้องสิ้นสุดโครงการเมษายนนี้ เนื่องจากที่ผ่านมายังมีประชาชนเข้ามาร้องเรียนกับศูนย์ฯ จำนวนมาก รวมทั้งเห็นว่าช่องทางดังกล่าวมีประโยชน์สำหรับการสร้างความเข้าใจในการให้ขอสินเชื่อ และบริการของธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งยังเป็นช่องทางให้ประชาชนสามารถร้องเรียนปัญหาที่เกิดขึ้นให้กับ ธปท.รับทราบได้

"ที่ผ่านมา พบว่ายังมีประชาชนร้องเรียนผ่านศูนย์ฯเข้ามาเยอะ ดังนั้น เห็นว่าศูนย์ยังมีบทบาทสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนอยู่ไม่ใช่เฉพาะเรื่องสินเชื่อเท่านั้น แต่รวมถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินทั้งหมดได้" นายเกริก กล่าว

ทั้งนี้ หากประชาชนมีข้อร้องเรียนการให้บริการของธนาคารพาณิชย์ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการให้สินเชื่อ สามารถร้องเรียนหรือปรึกษากับศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาการปล่อยสินเชื่อของ ธปท.ได้ที่เบอร์ 02-283-5900 อัตโนมัติ 12 คู่สาย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook