ไทยพีบีเอสปลุกกระแสสังคม ปี 2579 คนไทย “ต้องมีบ้าน” ลดเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในสังคม
Thailand Web Stat

ไทยพีบีเอสปลุกกระแสสังคม ปี 2579 คนไทย “ต้องมีบ้าน” ลดเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในสังคม

ไทยพีบีเอสปลุกกระแสสังคม ปี 2579 คนไทย “ต้องมีบ้าน” ลดเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในสังคม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือไทยพีบีเอส จัดเสวนา The Visual Talk: Home & Hope คนไทยต้องมีบ้าน” เพื่อรับฟังแนวคิดและมุมมองจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม โดยได้รับเกียรติจาก นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็น Keynote Speech : สิ่งที่หวังจะสร้างฝัน การมีบ้านของคนไทย พร้อมตอบคำถามสด ๆ จากทั้งทางออนไลน์และผู้ร่วมฟังเสวนา โดยมีคำถามอาทิ ขอให้ลดหย่อนดอกเบี้ยโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองเปรมประชากร และดูแลชาวแฟลตดินแดง ซึ่ง รมว.พม. รับไปตรวจสอบและหาวิธีทางแก้ปัญหาต่อไป

นายวราวุธ ศิลปอาชา กล่าวว่า บ้านถือเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่สำคัญ ทุกคนต้องการบ้านที่ปลอดภัย ราคาไม่แพง แต่ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ พบว่า คนไทย 5.79 ล้านครัวเรือน ยังไม่มีที่อยู่อาศัย ซึ่งตามแผนยุทธศาสตร์ชาติระบุว่า ปี 2579 คนไทยต้องมีบ้าน ถือเป็นภารกิจสำคัญของ พม. โดยมีกลไกการทำงานของการเคหะแห่งชาติ และสถาบันพัฒนาองค์การชุมชน (พอช.) เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนที่อยู่อาศัย ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการครอบครองที่ดิน ทั้งในบริบทพื้นที่เขตเมืองและชนบท ซึ่งรัฐบาลมีแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะ 20 ปี (2560 - 2579) ภายใต้วิสัยทัศน์ “คนไทยทุกคนมีที่อยู่อาศัยถ้วนทั่วและมีคุณภาพชีวิตที่ดี” (Housing For All) ในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อย หรือที่รู้จักกันในชื่อโครงการบ้านมั่นคง ที่ดำเนินการแล้ว 7 แสนครัวเรือน มีการทำงานร่วมกับหลายหน่วยงานโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอีกหลายโครงการเพื่อรองรับสังคมสูงวัย และคนรุ่นใหม่ที่จะมีบ้านหลังแรกในอนาคต

รศ.ดร. วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการ ส.ส.ท. กล่าวว่า ไทยพีบีเอสปักธงในการเป็นสื่อที่ไม่เพียงแค่นำเสนอข้อมูลข่าวสาร แต่เป็นพื้นที่กลางเพื่อระดมการมีส่วนร่วมหาทางออกให้กับสังคมไทยอย่างสร้างสรรค์ โดยประกาศวาระขับเคลื่อนสังคมไทย ตั้งแต่ปี 2565 เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำ ปัญหาที่อยู่อาศัยเป็นปัญหาใหญ่ที่กลุ่มคนจนเมือง กลุ่มเปราะบาง ได้รับผลกระทบต่อหนี้สิน แหล่งงาน การเข้าถึงขนส่งสาธารณะ การศึกษา และเป็นวิกฤตมากขึ้นในคนที่เริ่มทำงานใหม่ ๆ  หรือที่ย้ายเข้ามาอาศัยในเมือง ไทยพีบีเอส จึงเปิดประเด็นเรื่องบ้านโดยนำข้อมูลทั้งหมดมาประมวลสร้างช่องทางให้เข้าถึงข้อมูล มีการระดมความเห็น หาทางออกร่วมกัน และทำงานกับภาคนโยบายที่มีกระทรวงพัฒนาสังคมฯ เป็นเจ้าภาพที่สำคัญ ดังที่ประเทศไทยมีมุดหมาย ในอีก 13 ปี หรือปี 2579 ซึ่งไทยพีบีเอสพร้อมเป็นพลังผลักดันขับเคลื่อนการมีบ้านของคนไทย สำหรับ The Visual เป็นอีกหนึ่งบริการที่จะนำข้อมูลประด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับบ้านสู่แพลตฟอร์มสื่อดิจิทัลช่วยเป็นแหล่งข้อมูลที่เข้าใจได้ง่ายเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ

Advertisement

ภายในงานมีหัวข้อที่น่าสนใจมากมาย อาทิ โอกาสของผู้มีรายได้น้อยกับการมีบ้าน การเข้าถึง “บ้าน” ในเมือง โดยนายสิทธิพล ชูประจง ตัวแทนมูลนิธิกระจกเงา กับโครงการจ้างวานข้า เปิดพื้นที่ให้คนไร้บ้านมีพื้นที่ในการทำงานสร้างรายได้ ปรับปรุงคุณภาพชีวิต สร้างการเปลี่ยนผ่านการเป็นคนไร้บ้านเป็นคนมีบ้าน, อ่านแนวคิดคนรุ่นใหม่กับการซื้อบ้าน นายชัชวาล พัฒนะโชติ นักลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ และเวทีเสวนา “ทำอย่างไรให้คนไทยต้องมีบ้าน” โดยนายอภิชาติ ประสิทธิ์นฤทธิ์ นายกสมาคมการค้าอสังหาริมทรัพย์และพันธมิตร นายธฤต ศรีอรุโณทัย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จํากัด (เครดิตบูโร) และ ดร. นณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีบูธให้บริการตรวจเครดิตบูโร ฟรี!, และพบกับตัวแทนธนาคาร/การเคหะแห่งชาติ ที่จะมาให้ความรู้ แนะนำบ้านราคาพิเศษ ร่วมสำรวจความหวังและความจริง ของการเข้าถึง “บ้าน” ในเขตเมืองหลวง บนหลักไมล์ พ.ศ. 2579 ในรูปแบบเว็บไซต์ Interactive ได้แล้วที่ https://thevisual.thaipbs.or.th/HomeAndHope

สามารถติดตามไทยพีบีเอสทุกช่องทางออนไลน์ ได้ที่
▪ Social Media Thai PBS : FacebookYouTubeX (Twitter)LINETikTokInstagram, Threads
▪ Website : www.thaipbs.or.th
▪ Application : Thai PBS

[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
kookkak

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบน
เว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้