กกต. เผยไร้อำนาจสอบ ปูอัด ไชยามพวาน ชี้ละเมิดทางเพศไม่เกี่ยวคุณสมบัติ สส.
Thailand Web Stat

กกต. เผยไร้อำนาจสอบ ปูอัด ไชยามพวาน ชี้ละเมิดทางเพศไม่เกี่ยวคุณสมบัติ สส.

กกต. เผยไร้อำนาจสอบ ปูอัด ไชยามพวาน ชี้ละเมิดทางเพศไม่เกี่ยวคุณสมบัติ สส.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวเมื่อวันศุกร์ (3 พ.ย.) ถึงกรณี ปูอัด-นายไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์ สส. กรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล ที่ระบุพร้อมให้ กกต. ตรวจสอบกรณีถูกกล่าวหามีพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศ ตามที่นายโชติพิพัฒน์ เตชะโสภณมณี จากพรรคภูมิใจไทย ยื่นคำร้องว่า เห็นแต่เป็นข่าว ตนยังไม่ทราบข้อเท็จจริง

เลขาธิการ กกต. อธิบายกรณีนี้ว่า ตามโครงสร้างการทำงานของนายทะเบียนพรรคการเมือง และสำนักงาน กกต. นั้น กกต. จะติดต่อกับพรรค ไม่ได้ติดต่อกับสมาชิก ถ้าการดำเนินการของพรรคไม่เป็นไปตามที่กฎหมาย หรือข้อบังคับพรรคกำหนด สมาชิกพรรคหรือบุคคลภายนอกสามารถร้องขอความเป็นธรรมได้

นายแสวง พูดต่อไปว่า เท่าที่ติดตามข่าว ลักษณะพฤติกรรมที่มีการกล่าวหาไม่ใช่คุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามการเป็นสมาชิกพรรค รวมทั้งไม่ได้เป็นลักษณะต้องห้ามของการเป็น สส. ที่รัฐธรรมนูญกำหนด ที่จะเป็นเหตุให้ กกต. ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 ได้ แต่อาจเป็นพฤติกรรมซึ่งเป็นเรื่องจริยธรรมที่มีอยู่ 2 ส่วน ดังนี้

  • ส่วนแรก ถ้าเป็นสมาชิกรัฐสภาก็จะมีมาตรฐานจริยธรรมของสมาชิกรัฐสภา ที่สภาจะเป็นผู้ดำเนินการสอบ เช่น ใช้กลไกกรรมาธิการต่างๆ
  • ส่วนที่สอง เป็นจริยธรรมตามข้อบังคับพรรคการเมือง ที่พรรคจะกำหนดเพิ่มเข้าไป จากที่กำหนดว่าต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่ล้อมาจากกฎหมาย 
Advertisement

นายแสวง ให้ความเห็นอีกว่า พฤติกรรมจริยธรรมมันจะมากกว่าและลึกกว่าลักษณะต้องห้ามการเป็นสมาชิกพรรคที่กฎหมายกำหนด แต่ย้ำว่านายทะเบียนพรรคการเมือง หรือสำนักงาน กกต. ไม่มีอำนาจเข้าไปตัดสิน มีหน้าที่เพียงดูแลความเป็นอยู่หรือการดำเนินการของพรรคการเมืองให้เป็นไปตามกฎหมาย มีแค่นั้น 

เลขาธิการ กกต. รายนี้ กล่าวว่า ถ้าไม่ใช่คุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้าม นายทะเบียนพรรคการเมือง หรือสำนักงาน กกต. ไม่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบเหมือนเรื่องขัดจริยธรรมของสภา ไม่ได้ยื่นไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ แต่ยื่นไปที่ ป.ป.ช. ถ้าขัดจริยธรรมตามข้อบังคับพรรค ก็เป็นเรื่องที่พรรคต้องดำเนินการ เช่น พรรคมีมติขับออก แต่ถ้าสมาชิกที่ถูกขับเห็นว่า เขาไม่ได้รับความเป็นธรรม การขับไม่เป็นไปตามข้อบังคับ ก็มาร้องต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองได้ เพราะมีหน้าที่ดูแลให้พรรคดำเนินกิจการทางเมืองให้เป็นไปตามข้อบังคับพรรคและกฎหมาย

ส่วนกรณีที่นายวุฒิพงศ์ ทองเหลา สส. จ.ปราจีนบุรี ที่บอกว่าผิดหวังกับมติขับออกของพรรคก้าวไกลนั้น นายแสวง กล่าวว่าสามารถยื่นร้องต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองได้ ถ้าเห็นว่าการประชุมเพื่อมีมติขับและเหตุผลในการขับไม่ชอบ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
kookkak

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบน
เว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้