เอาตัวรอดจาก "แผ่นดินไหว" ด้วย 7 วิธีเตรียมพร้อมรับมือที่ใครก็ทำได้

เอาตัวรอดจาก "แผ่นดินไหว" ด้วย 7 วิธีเตรียมพร้อมรับมือที่ใครก็ทำได้

เอาตัวรอดจาก "แผ่นดินไหว" ด้วย 7 วิธีเตรียมพร้อมรับมือที่ใครก็ทำได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อวานนี้ (9 พ.ย. 66) ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 4.7 ริกเตอร์กลางเมืองปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งรับรู้ได้ในอีกหลายพื้นที่ใกล้เคียง เป็นที่ตกอกตกใจของประชาชน แต่เป็นที่โชคดีที่เหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้ไม่มีรายงานความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

อย่างไรก็ตาม การป้องกันและเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์แผ่นดินไหว ก็เป็นสิ่งที่ประชาชนควรรู้เอาไว้ เมื่อเกิดเหตุขึ้นมาจริงๆ จะได้สามารถดูแลตัวเองให้รอดปลอดภัยจากภัยพิบัติที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น Sanook รวบรวม 7 วิธีเตรียมพร้อมรับมือเหตุแผ่นดินไหวมาฝากทุกคน

7 วิธีเตรียมพร้อม เอาตัวรอดจาก “แผ่นดินไหว”

  • ติดตามรับฟังข่าวสารจากหน่วยงานภาครัฐอย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมพร้อมอพยพไปยังจุดที่ปลอดภัย
  • หมอบลงที่พื้นใต้โครงสร้างที่แข็งแรง ป้องกันสิ่งของจากเพดานหรือจากที่สูงหล่นใส่ กรณีอาศัยอยู่ภายในบ้าน
  • รีบปิดแก๊สทันที หากเปิดแก๊สปรุงประกอบอาหาร
  • ห้ามใช้ลิฟท์ ให้ไช้ทางหนีไฟอพยพออกจากพื้นที่ (กลุ่มเปราะบางและกลุ่มเสี่ยงทางสุขภาพ ให้รีบอพยพออกจากพื้นที่โดยเร่งด่วน)
  • ออกห่างจากหน้าต่างและประตูที่เป็นกระจก เพื่อป้องกันอันตราย
  • อยู่ในพื้นที่โล่งแจ้ง ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง ป้ายโฆษณา เสาไฟฟ้าโดยรอบ กรณีอยู่นอกอาคาร
  • เตรียมสิ่งของจำเป็นให้พร้อม เช่น ยาสามัญประจำบ้าน ยารักษาอาการประจำตัว ไฟฉาย โทรศัพท์มือถือที่ชาร์ตแบตเตอรี่เต็ม น้ำดื่ม เป็นต้น

“แผ่นดินไหว” ภัยพิบัติที่คนเหนือต้องรับมือ

พื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยมีรอยเลื่อนมากกว่า 10 รอยเลื่อน ซึ่งเป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง ยังมีการสะสมตัวของพลังงาน จึงทำให้มีโอกาสเคลื่อนตัวและทำให้เกิดแผ่นดินไหว โดย 10 ครั้งหลังสุดที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวในประเทศ มักจะเกิดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือบ่อยที่สุด

Getty Images

แต่ไม่ว่าจะเกิดแผ่นดินไหวที่ไหน การเกิดแต่ละครั้งก็ล้วนส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่อย่างเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการพังทลายของอาคารสิ่งปลูกสร้าง เกิดอัคคีภัยหรือไฟฟ้าลัดวงจร บ้านเรือนอาคารพังเสียหาย และระบบสาธารณูปโภค ซึ่งนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพจิตหรือความเครียดได้

ดังนั้น ภาครัฐและประชาชนจึงจำเป็นต้องตั้งรับ ทั้งการให้การศึกษาแก่ประชาชน ให้มีความรู้เรื่องการเตรียมรับมือกับสถานการณ์แผ่นดินไหวทั้งก่อนและหลัง เช่นเดียวกับเรื่องที่อยู่อาศัย ที่ภาครัฐต้องวางแนวทางให้โครงสร้างอาคารบ้านเรือนมีความปลอดภัยเพียงพอที่จะรับมือกับแผ่นดินไหวได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook