อ.เจษฎ์ เฉลยเอง "รุ้งกินน้ำ 2 วงซ้อน" ปรากฏการณ์วันแต่งตั้งนายกฯ "เศรษฐา" มีจริงหรือไม่?

อ.เจษฎ์ เฉลยเอง "รุ้งกินน้ำ 2 วงซ้อน" ปรากฏการณ์วันแต่งตั้งนายกฯ "เศรษฐา" มีจริงหรือไม่?

อ.เจษฎ์ เฉลยเอง "รุ้งกินน้ำ 2 วงซ้อน" ปรากฏการณ์วันแต่งตั้งนายกฯ "เศรษฐา" มีจริงหรือไม่?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลายคนสงสัย! อ.เจษฎ์ เฉลยเอง ปรากฏการณ์ "รุ้งกินน้ำ 2 วงซ้อน"  มีอยู่จริงหรือไม่?

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2566 ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความรู้ผ่านรายการ “ชัวร์แน่ หรือแชร์มั่ว” ep.103 ตอน "รุ้งกินน้ำ 2 ชั้น มีอยู่จริงๆ จริงหรือ?"

หลังจากมีประชาชนหลายคนแสดงความสงสัย เกี่ยวกับกรณีที่มีข่าวเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2566 เวลา 18.20 น. ว่าเกิดปรากฏการณ์ "รุ้งกินน้ำขึ้น 2 วงซ้อนกัน" บริเวณด้านหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล หลังจากที่ฝนตกอย่างหนัก และเกิดขึ้นหลังมีพิธีรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้คุณเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30

โดย ดร.เจษฎา เปิดเผยว่าเรื่องนี้เป็น "เรื่องจริง" รุ้ง 2 ชั้น เกิดขึ้นได้จริง และเกิดขึ้นเรื่อยๆ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สวย หาดูยาก แต่ก็ไม่ได้แปลกประหลาดมาก สัปดาห์ก่อนก็มีเกิดขึ้นให้เห็นเหมือนกัน บนทางด่วนหลังฝนตก ตอนขับรถกลับบ้าน

  • "รุ้งกินน้ำ 2 วงช้อนกัน" เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

รุ้ง 2 ชั้น หรือรุ้งกินน้ำแบบ supernumerary rainbow เป็นรุ้งที่เกิดไม่บ่อยนัก โดยเกิดจากการหักเหของแสง 2 ครั้ง และสะท้อนออกมา 2 ครั้ง

โดยรุ้งตัวแรก ตัวที่อยู่ด้านล่าง จะเรียกว่า "รุ้งปฐมภูมิ" เป็นรุ้งที่เห็นเด่นชัด และจะสังเกตเห็นว่า แถบสีบนสุดจะเป็นสีแดง แถบสีล่างสุดจะเป็นสีม่วง

ส่วนรุ้งตัวที่สอง ตัวที่ซ้อนอยู่ด้านบน จะเรียกว่า "รุ้งทุติยภูมิ" มองไม่ค่อยชัดเท่าตัวแรก และจะสลับสีกัน โดยแถบสีแดงจะไปอยู่ด้านล่างสุด และแถบสีม่วงกลับมาอยู่ด้านบนสุด

  • การเกิดรุ้งกินน้ำ

ปรกติแล้ว รุ้งกินน้ำ (rainbow) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากละอองน้ำในอากาศ หักเหแสงอาทิตย์ ทำให้เกิดแถบสเปกตรัม ดูเป็นเส้นอาร์ควงกลม เหนือพื้นผิวโลก

แสงอาทิตย์หรือรังสีที่ตามมองเห็น (Visible light) มีความยาวคลื่น 400 - 800 นาโนเมตร โดยที่แสงสีม่วง มีความยาวคลื่นสั้นที่สุดคือ 400 นาโนเมตร และแสงสีแดง มีความยาวคลื่นมากที่สุด

ภายหลังฝนตก มักจะมีละอองน้ำหรือหยดน้ำเล็กๆ ลอยอยู่ในอากาศ จะทำหน้าที่เสมือนปริซึม หักเหแสงอาทิตย์ ให้แยกออกเป็นสเปกตรัม 7 ช่วงสี ได้แก่ช่วงสีม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง

เนื่องจากในบรรยากาศหลังฝนตกมีละอองน้ำเล็กๆ ที่มองไม่เห็นแขวนลอยอยู่เป็นจำนวนมาก ละอองน้ำเล็กๆ เหล่านี้หักเหแสงอาทิตย์ มาเข้าตาของเราเป็นมุมที่แตกต่างกัน ลำแสงจากดวงอาทิตย์ที่ถูกหักเหเข้าสู่แนวสายตาเป็นมุม 40° - 42° จะปรากฏเห็นเส้นโค้งซึ่งเรียกว่า "รุ้งกินน้ำ"

  • การเกิดรุ้ง2ชั้น

ในบางครั้ง เราสามารถมองเห็นรุ้งกินน้ำ 2 ตัวได้พร้อมๆ กัน รุ้งกินน้ำตัวแรก อยู่ด้านล่างคือ "รุ้งปฐมภูมิ" ที่รู้จักกันทั่วไป (คือ มีแถบสีแดงอยู่บนสุด แถบสีม่วงอยู่ล่างสุด) รุ้งกินน้ำตัวที่ 2 จะอยู่ด้านบน เรียงลำดับสีกลับกัน (สีแดงไปยังสีม่วง จากข้างล่างขึ้นข้างบน) เรียกว่า "รุ้งทุติยภูมิ"

การที่เกิดรุ้งทุติยภูมิขึ้นมาได้นั้น เนื่องจากเกิดจากการหักเหแสงภายในหยดน้ำ 2 ครั้ง โดยถ้าแสงอาทิตย์ทำมุมกับหยดน้ำ แล้วหักเหเป็นมุม 52° เข้าสู่แนวสายตา ก็จะมองเห็นเป็นแสงสีม่วง แต่ถ้าแสงอาทิตย์ทำมุมกับหยดน้ำแล้วหักเหเป็นมุม 50° เข้าสู่แนวสายตา ก็จะมองเห็นเป็นแสงสีแดง

ด้วยเหตุนี้ รุ้งทุติยภูมิจึงปรากฏอยู่ทางด้านบน และมีสีสลับกันกับรุ้งปฐมภูมิ ทำให้เห็นเหมือนมีรุ้งกินน้ำเกิดขึ้น 2 ชั้นซ้อนกัน

อัลบั้มภาพ 15 ภาพ

อัลบั้มภาพ 15 ภาพ ของ อ.เจษฎ์ เฉลยเอง "รุ้งกินน้ำ 2 วงซ้อน" ปรากฏการณ์วันแต่งตั้งนายกฯ "เศรษฐา" มีจริงหรือไม่?

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook