ไทยฮือฮา "อิกัวน่าเขียว" เอเลี่ยนสปีชีส์ บุกหลายจังหวัดแล้ว แต่คนยังสับสนกับ "ตะกอง"

ไทยฮือฮา "อิกัวน่าเขียว" เอเลี่ยนสปีชีส์ บุกหลายจังหวัดแล้ว แต่คนยังสับสนกับ "ตะกอง"

ไทยฮือฮา "อิกัวน่าเขียว" เอเลี่ยนสปีชีส์ บุกหลายจังหวัดแล้ว แต่คนยังสับสนกับ "ตะกอง"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ไทยแลนด์ฮือฮา "อิกัวน่าเขียว" ที่กลายเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ ล่าสุดพบในหลายจังหวัดของไทย ทำลายพืชผลทางการเกษตร ตลอดจนการสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้แก่ประชาชน อีกทั้งยังหวั่นติดเชื้อจากสัตว์ต่างถิ่นชนิดนี้ด้วย แต่ในขณะเดียวกันก็ยังสับสนกับตัว "ตะกอง" ซึ่งมีลักษณะภายนอกที่คล้ายคลึงกัน

ในประเด็นนี้ ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความรู้ผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ เรื่อง "ข้อแตกต่างระหว่าง ตะกอง กับ อิกัวน่า"

1. ตรงแก้มทั้งสองข้างของตัวตะกอง จะเป็นปุ่มสีขาว แต่อิกัวน่าจะเป็นวงกลมใกล้คาง

2. ใต้คางตะกองจะเรียบลงไปถึงอก แต่อิกัวน่าจะมีถุงใต้คาง

3. แผงหลังตัวตะกองจะมีสีเขียวเข้มจนดำ แต่ของอิกัวน่าจะมีสีเขียว ช่วงปลายแผงจะเป็นสีชมพู

4. ตัวตะกองจะกินสัตว์เล็กเป็นอาหาร เช่นจิ้งหรีด ตั๊กแตนหรือตัวหนอนบางครั้ง แต่อิกัวน่าจะกินผักผลไม้เป็นอาหารหลัก

ทั้งนี้ "อิกัวน่า" ถือเป็นสัตว์ควบคุมกลุ่มที่ 1 หรือสัตว์ป่าที่ได้รับความคุ้มครองตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ลำดับที่ 690 อีกัวน่าทุกชนิดในสกุล Iguana : มาตรา 9 พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าควบคุม พ.ศ. 2565

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook