เปิดประวัติ หมอมิ้ง นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกฯ มันสมองของเพื่อไทย

เปิดประวัติ หมอมิ้ง นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกฯ มันสมองของเพื่อไทย

เปิดประวัติ หมอมิ้ง นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกฯ มันสมองของเพื่อไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายแพทย์ พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช หรือ "หมอมิ้ง" เกิดวันที่ 5 พฤศจิกายน 2497 ในสมัยเป็นนักเรียน นายแพทย์พรหมินทร์ เคยทำงานในตำแหน่งประธานนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อจบชั้น ม.ศ. 5 สอบได้เป็นอันดับที่ 6 ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเป็นอันดับที่ 30 ของประเทศ

หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เขาสอบได้คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต่อมาได้รับเลือกให้เป็นประธานนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ ชีวภาพปี 2 เมื่อปี พ.ศ. 2518 ได้รับความไว้วางใจให้เป็นเลขาธิการพรรคแนวร่วมมหิดล (ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2517 โดยมีประธานพรรคคนแรกคือ นายแพทย์เหวง โตจิราการ) 

หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 นายแพทย์พรหมินทร์ได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยใช้ชื่อจัดตั้งว่า สหายจรัส

ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ แพทย์หญิงมัธยา เลิศสุริย์เดช มีบุตร 2 คน คือ นายมติ เลิศสุริย์เดช และ น.ส.มาพร เลิศสุริย์เดช

ประวัติการศึกษา

นพ.พรหมินทร์ จบการศึกษามัธยมศึกษา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จบวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จบแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จบ Fellowship In Public Administration From Ottawa University And Carleton University, Canada (September 1989 - August 1990) รวมทั้งได้อนุมัติบัตรเวชศาสตร์ป้องกันคลินิกจากแพทย์สภา และ National Health Administration, Japan (May - June 1992)

ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ แพทย์หญิงมัธยา เลิศสุริย์เดช มีบุตร 2 คน คือ นายมติ เลิศสุริย์เดช และ น.ส.มาพร เลิศสุริย์เดช

ประวัติการทำงาน

  • พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2544 กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี.เอส. คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด
  • พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2543 ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานบริหารภาคพื้นดินและงานสนับสนุน บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน)
  • พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2539 ผู้จัดการทั่วไป บมจ. อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น (ไอบีซี)
  • พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2538 รักษาการกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ไอบีซี ลาว จำกัด
  • พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2538 ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไอบีซี กัมพูชา จำกัด
  • พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2538 ผู้จัดการอาวุโสพัฒนาธุรกิจ บมจ. อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น
  • พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2536 หัวหน้าฝ่ายแผนงานสาธารณสุข กองแผนงานสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
  • พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2534 นายแพทย์ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น
  • พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2531 นายแพทย์ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น

เส้นทางการเมือง

พรรคพวกเครือข่ายคนเดือนตุลาที่ไปช่วยงาน ทักษิณ ชินวัตร แนะนำให้ดึงตัวนายแพทย์พรหมินทร์เข้ามาช่วยงานด้านกลยุทธ์ และได้เข้าร่วมทำงานกับกลุ่มบริษัทชินวัตร จนตำแหน่งสุดท้ายคือซีอีโอ ของบริษัทชินแซทเทิลไลท์ คอมมิวนิเคชั่นส์ โดยเขาและบริษัทแมทช์บอกซ์อยู่เบื้องหลังแคมเปญการรณรงค์ทางการเมืองให้กับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่เป็นภาพโปสเตอร์ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ยืนชี้นิ้วมองไกลไปข้างหน้าพร้อมกับคำขวัญ "พลิกเมืองไทยให้แข่งกับโลก" ที่ได้รับว่าพึงพอใจจากคนชั้นกลางเป็นจำนวนมาก

นายแพทย์พรหมินทร์ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549

ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 เขาร่วมงานกับกลุ่มแคร์ ซึ่งทักษิณเป็นหนึ่งในแกนนำ และในอีก 2 ปีต่อมาเขารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการนโยบายพรรคเพื่อไทย และมีบทบาทสำคัญในช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 โดยเป็นตัวแทนพรรคเพื่อไทยในการขึ้นเวทีประชันวิสัยทัศน์ โต้วาทีกับพรรคการเมืองอื่น ๆ

ต่อมาเมื่อพรรคเพื่อไทยได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยมี เศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี นายแพทย์พรหมินทร์จึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่สาม

ตำแหน่งสำคัญทางการเมือง

  • 6 กันยายน พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
  • 14 มีนาคม พ.ศ. 2548 - 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
  • 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 - 6 มกราคม พ.ศ. 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
  • 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 รองนายกรัฐมนตรี
  • 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 - 8 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook