รู้จัก "มาลาลา ยูซาฟไซ" ที่ "แอนโทเนีย" ตอบว่าอยากจะเป็นบนเวที Miss Universe 2023

รู้จัก "มาลาลา ยูซาฟไซ" ที่ "แอนโทเนีย" ตอบว่าอยากจะเป็นบนเวที Miss Universe 2023

รู้จัก "มาลาลา ยูซาฟไซ" ที่ "แอนโทเนีย" ตอบว่าอยากจะเป็นบนเวที Miss Universe 2023
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เปิดประวัติ "มาลาลา ยูซาฟไซ" เธอคือใคร? คนที่ "แอนโทเนีย โพซิว" เลือกตอบในคำถามรอบ 3 คนสุดท้าย บนเวทีประกวด Miss Universe 2023

ทำความรู้จัก มาลาลา ยูซาฟไซ (Malala Yousafzai) นักสิทธิมนุษยชนหญิง ที่ แอนโทเนีย โพซิ้ว รองอันดับ 1 Miss Universe 2023 เลือกตอบในคำถามรอบ 3 คนสุดท้าย บนเวทีประกวด Miss Universe 2023

โดยคำถามรอบตัดสิน Final Competition ของสาวงาม 3 คนสุดท้าย พิธีกรถามว่า ถ้าคุณมีโอกาสเลือกใช้ชีวิตเป็นผู้หญิงคนอื่นแทนตัวเอง 1 ปี คุณจะเลือกใคร แล้วเพราะอะไร

ซึ่ง แอนโทเนีย ขอเป็น “มาลาลา ยูซาฟไซ” นักสิทธิมนุษยชนหญิง เจ้าของรางวัลโนเบลที่มีอายุน้อยที่สุดในโลก

มาลาลา ยูซาฟไซGetty Images/Getty Images for EIF & XQ

ประวัติ มาลาลา ยูซาฟไซ

มาลาลา ยูซาฟไซ ปัจจุบัน อายุ 26 ปี เธอเกิดเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2540 เป็นเด็กนักเรียนจากเมืองมินโกราในเขตสวัต (Swat District) แคว้นแคบาร์ปัคตูนควา ประเทศปากีสถาน 

เธอเป็นที่รู้จักในการศึกษาและการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิสตรีของเธอในหุบเขาสวัต ซึ่งตาลีบันบางครั้งห้ามเด็กหญิงมิให้เข้าศึกษาในโรงเรียน ต้นปี 2552

ขณะอายุได้ 11 ขวบ ยูซาฟไซกลายมาเป็นที่รู้จักผ่านบล็อกที่เธอเขียนให้แก่บีบีซี โดยรายละเอียดกล่าวถึงชีวิตของเธอภายใต้ระบอบตาลีบัน ความพยายามของตาลีบันในการเข้าควบคุมหุบเขา และมุมมองของเธอต่อการสนับสนุนการศึกษาแก่เด็กหญิง ฤดูร้อนปีต่อมา มีการถ่ายทำสารคดีของนิวยอร์กไทมส์ เกี่ยวกับชีวิตของเธอขณะที่กองทัพปากีสถานเข้าแทรกแซงในภูมิภาค

มาลาลา ยูซาฟไซ เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น ให้สัมภาษณ์ในสื่อสิ่งพิมพ์และทางโทรทัศน์ และรับตำแหน่งประธานสภาเด็กเขตสวัต (District Child Assembly Swat) นับแต่นั้น เธอได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลสันติภาพเด็กระหว่างประเทศโดยเดสมอนด์ ตูตู และได้รับรางวัลสันติภาพเยาวชนแห่งชาติเป็นคนแรกของปากีสถาน

ในวันที่ 9 ตุลาคม 2555 ขณะที่ มาลาลา ยูซาฟไซ มีอายุเพียง 15 ปี เธอถูกยิงที่ศีรษะและคอในความพยายามลอบสังหารโดยมือปืนตาลีบัน ขณะกำลังกลับบ้านบนรถโดยสารประจำทางโรงเรียน หลายวันหลังจากนั้น เธอยังหมดสติและอยู่ในภาวะวิกฤติ และจนถึงวันที่ 15 ตุลาคม เธอถูกส่งตัวไปยังสหราชอาณาจักรเพื่อรับการรักษาจนปลอดภัย

2 หลังจากเหตุการณ์ถูกลอบสังการ ในวันที่ 10 ตุลาคม 2557 มูลนิธิโนเบลได้ประกาศให้ มาลาลา ยูซาฟไซ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ร่วมกับไกลาศ สัตยาธี จากการต่อสู้ของเด็กเพื่อความถูกต้องของการศึกษาในเด็กทั้งหมด ถือเป็นผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลที่อายุน้อยที่สุด ด้วยวัย 17 ปี 

การศึกษา 

มาลาลา ยูซาฟไซ สำเร็จการศึกษาด้านการเมือง ปรัชญาและเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ในปี 2563

นอกจากนี้ เธอยังเปิดโรงเรียนมาลาลา ยูซาฟไฟ ซึ่งเป็นโรงเรียนสำหรับเด็กผู้หญิง (Malala Yousafzai All-Girls School) ในประเทศเลบานอนใกล้กับชายแดนของประเทศซีเรีย สถานที่ซึ่งข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) รายงานว่ามีผู้ลี้ภัยชาวซีเรียอาศัยอยู่ถึง 1.3 ล้านคน ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนหนึ่งในสี่ของจำนวนชาวซีเรีย 4 ล้านคน ที่อพยพออกนอกประเทศตั้งแต่ปี 2554

รวมทั้งยังส่งสารไปยังผู้นำประเทศทั่วโลกให้ตระหนักถึงความล้มเหลวในการดูแลเด็กชาวซีเรียที่เป็นผู้ลี้ภัย เพราะมีเพียง 1 ใน 5 เท่านั้นที่ได้เรียนหนังสือ

สำหรับโรงเรียนที่ตั้งขึ้นได้รับทุนจากกองทุนมาลาลา (Malala Fund) ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรเพื่อสนับสนุนโครงการด้านการศึกษา ที่สามารถช่วยเหลือเด็กผู้หญิงอายุระหว่าง 14-18 ปี ได้ถึง 200 คน

ครั้งหนึ่งในที่ประชุมพัฒนาการศึกษาของสหประชาชาติที่นอร์เวย์ มาลาลาเรียกร้องผู้นำระดับโลกให้ร่วมกันลดงบประมาณทางการทหารเพียง 8 วัน ก็มากพอที่จะทำให้เด็กและเด็กผู้หญิงทั่วโลกได้เรียนหนังสือฟรีถึง 12 ปี

ชีวิตส่วนตัว 

ในปี 2564 มาลาลา ยูซาฟไซ ได้เข้าพิธีแต่งงานอย่างเป็นส่วนตัวกับสามีที่เมืองเบอร์มิงแฮม สหราชอาณาจักร และจัดงานฉลองที่บ้านร่วมกับครอบครัวของทั้งสองฝ่าย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook