รู้จัก "แมรี โวลสโตนคราฟต์" ตัวแม่ของเฟมินิสต์ ที่ส่ง "นิการากัว" เป็นมิสยูนิเวิร์ส 2023

รู้จัก "แมรี โวลสโตนคราฟต์" ตัวแม่ของเฟมินิสต์ ที่ส่ง "นิการากัว" เป็นมิสยูนิเวิร์ส 2023

รู้จัก "แมรี โวลสโตนคราฟต์" ตัวแม่ของเฟมินิสต์ ที่ส่ง "นิการากัว" เป็นมิสยูนิเวิร์ส 2023
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เชื่อว่าวันอาทิตย์ที่ผ่านมา แฟนนางงามทั่วประเทศคงตื่นตั้งแต่เช้าตรู่ เพื่อรับชมการประกวดมิสยูนิเวิร์ส 2023 และรอบตอบคำถามของสาวงาม 3 คนสุดท้ายก็คงจะเป็นสิ่งที่หลายคนตั้งตารอคอยกันอย่างใจจดใจจ่อ ซึ่งปีนี้มาพร้อมกับคำถาม “ถ้าคุณสามารถเป็นผู้หญิงได้ 1 คน ภายใน 1 ปี คุณจะเลือกเป็นใคร” ซึ่งคำตอบของ “เชนนิส ปาลาซิโอส(Sheynis Palacios) จากประเทศนิการากัว ก็กลายเป็นคำตอบที่ทำให้เธอสามารถคว้ามงกุฎมิสยูนิเวิร์ส 2023 ไปครองได้สำเร็จ

และผู้หญิงที่เธอเลือกก็คือ “แมรี โวลสโตนคราฟต์” ซึ่ง Sanook ขอทำหน้าที่พาทุกคนไปทำความรู้จัก “ตัวแม่ของเฟมินิสต์” นักเขียน นักคิด และนักปรัชญาชาวอังกฤษ ผู้ลุกขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นเรื่องความเท่าเทียมทางเพศในศตวรรษที่ 18

“แมรี โวลสโตนคราฟต์” คือใคร

แมรี โวลสโตนคราฟต์ (Mary Wollstonecraft) คือนักเขียน นักคิด นักปรัชญา และ “เฟมินิสต์” ผู้ขับเคลื่อนเรื่องสิทธิความเท่าเทียมของผู้หญิงแห่งยุคศตวรรษที่ 18 ถือเป็นผู้บุกเบิกการต่อสู้เรื่องสิทธิสตรี จนได้รับการยกย่องว่าเป็น “มารดาแห่งเฟมินิสต์” 

Getty Images

แมรีเกิดวันที่ 27 เมษายน 1759 เป็นลูกคนที่ 2 จากพี่น้องทั้งหมด 7 คน ในครอบครัวชนชั้นกลาง แมรีเติบโตขึ้นพร้อมกับการเห็นพ่อใช้ความรุนแรงกับแม่ และเห็นน้องสาวถูกสามีทำร้ายร่างกาย เธอเผชิญหน้ากับความไม่เป็นธรรมอย่างกล้าหาญ ทั้งยังเป็นคนที่ลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิในการศึกษาอย่างเท่าเทียมของผู้หญิง 

เริ่มต้นอาชีพนักเขียน

แมรีตัดสินใจเริ่มต้นอาชีพนักเขียน ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่สุดโต่ง เพราะในยุคนั้นมีอาชีพไม่กี่อย่างที่ถูกจำกัดไว้ให้กับผู้หญิง เช่น พี่เลี้ยงเด็ก พยาบาล หรือเป็นภรรยาและแม่ แต่แมรีไม่คิดเช่นนั้น เธอตั้งใจเขียนงาน ซึ่งหนึ่งในเล่มที่ทำให้ชื่อของเธอเป็นที่รู้จักคือ Vindication of the Rights of Men ซึ่งบ่งชี้ว่าแมรีให้ความสำคัญกับสิทธิของมนุษย์ และเขียนหนังสืออีกเล่มชื่อ A Vindication of the Rights of Woman ซึ่งแมรีเขียนเพื่อโจมตีแนวคิดของสภาฝรั่งเศสที่ให้ผู้หญิงควรได้รับการศึกษาแต่เรื่องในบ้านเท่านั้น และหนังสือเล่มนั้นก็ถือว่าล้ำหน้ากว่าใครในยุคนั้น

แมรียังผลิตงานเขียนออกมามากมายตลอดช่วงชีวิตของเธอ ทว่า ชื่อของแมรี โวลสโตนคราฟต์ กลับไม่ได้รับการยอมรับในช่วงที่เธอมีชีวิตอยู่ และผลงานของเธอก็ไม่ได้รับการยอมรับจนถึงยุคศตวรรษที่ 20 

Getty Images

ผู้ให้กำเนิดแฟรงเกนสไตน์

แมรีพบรักกับกิลเบิร์ต อิมเลย์ (Gilbert Imlay) นักเดินทางผจญภัยชาวอเมริกัน ทั้งคู่มีลูกด้วยกัน 1 คน ก่อนจะเลิกรากันไป จากนั้นแมรีก็มีลูกอีกครั้งกับวิลเลียม ก็อดวิน (William Godwin) นักปรัชญาที่เธอเคยไม่พอใจมาก่อน ทั้งคู่ได้ลูกสาวที่มีชื่อ "แมรี" เหมือนกับแม่ อย่างไรก็ตาม แมรีพบว่าตัวเองติดเชื้อหลังคลอดลูก และเป็นสาเหตุที่ทำให้แมรี  โวลสโตนคราฟต์ จากโลกนี้ไป 

และแมรีผู้เป็นลูกสาวก็เติบโตขึ้นกลายเป็น “แมรี เชลลี” ผู้ให้กำเนิดนิยายผีเรื่องแฟรงเกนสไตน์นั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook