สภากาชาด บอกเหตุผล ทำไมผู้ป่วยต้องจ่ายค่าเลือด ถุงละ 2,100 บาท ทั้งที่เป็นเลือดบริจาค

สภากาชาด บอกเหตุผล ทำไมผู้ป่วยต้องจ่ายค่าเลือด ถุงละ 2,100 บาท ทั้งที่เป็นเลือดบริจาค

สภากาชาด บอกเหตุผล ทำไมผู้ป่วยต้องจ่ายค่าเลือด ถุงละ 2,100 บาท ทั้งที่เป็นเลือดบริจาค
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สภากาชาดไทย บอกเหตุผล ทำไมผู้ป่วยต้องจ่ายเงินค่าเลือด ถุงละ 2,100 บาท ทั้งที่เป็นเลือดที่ได้จากการบริจาค

จากกรณีที่โลกออนไลน์ได้มีการโพสต์ข้อความที่บิดเบือนจากความเป็นจริงในประเด็น เรื่อง สภากาชาดเปิดรับบริจาคเลือดฟรีแต่ รพ.รัฐ คิดค่าบริการถุงละ 2,100 บาท

ทั้งนี้ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย มิได้จำหน่ายโลหิตบริจาค แต่มีการคิดค่าบริการตามต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดเตรียมโลหิตให้มีคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุดตามมาตรฐานสากล เพื่อนำไปใช้กับผู้ป่วยที่ต้องรับโลหิตในการรักษา โดยกำหนดค่าบริการโลหิตให้โรงพยาบาลเป็นอัตราเดียวกันทุกโรงพยาบาลทั้งรัฐบาลและเอกชน มีการใช้อัตราค่าบริการจากกรมบัญชีกลาง ทั้งนี้ โรงพยาบาลจะมีการคิดค่าใช้จ่ายตามต้นทุนในการจัดเตรียมโลหิตให้กับผู้ป่วยเพิ่มเติม ตามอัตราที่แต่ละโรงพยาบาลกำหนด

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ให้บริการโลหิตและส่วนประกอบโลหิตแก่โรงพยาบาล เพื่อใช้รักษาผู้ป่วย โดยมิได้จำหน่ายหรือคิดค่าโลหิตซึ่งได้รับจากการบริจาคโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนของผู้บริจาคโลหิตทั่วประเทศ เพื่อให้การซื้อขายโลหิตในประเทศหมดไปตามหลักการขององค์การอนามัยโลกและหลักการกาชาดสากล ตามปณิธาน ที่สภากาชาดไทยเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไร ทั้งนี้ โลหิตที่ได้รับจากการบริจาคที่นำไปรักษาผู้ป่วยจะไม่มีค่าใช้จ่าย แต่มีค่าบริการที่เกิดจากค่าใช้จ่ายในกระบวนการ ดังนี้

1. ค่าเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ในการรับบริจาคโลหิต เช่น ถุงบรรจุโลหิต หลอดเก็บตัวอย่างโลหิต น้ำยาตรวจค่าความเข้มข้นเลือด น้ำยาตรวจหมู่เลือด เป็นต้น

2. ค่าใช้จ่ายการผลิตส่วนประกอบโลหิต ในการปั่นแยกโลหิตให้เป็นส่วนประกอบโลหิตชนิดต่างๆ ได้แก่ เม็ดเลือดแดงเข้มข้น (Packed red cells) พลาสมา (Plasma) เกล็ดเลือด (Platelets) เป็นต้น

3. ค่าใช้จ่ายในการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ค่าตรวจหมู่โลหิตเอบีโอ (ABO) ค่าตรวจหมู่โลหิตระบบอาร์เอช (Rh) ค่าตรวจกรองแอนติบอดี (Antibody screening) ค่าตรวจภาวะการติดเชื้อที่สามารถติดต่อทางการให้เลือด ได้แก่ เชื้อไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ไวรัสเอชไอวี และซิฟิลิส โดยการตรวจวิเคราะห์ทางซีโรโลยี และวิธี Nucleic Acid Test (NAT)

4. ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาส่วนประกอบโลหิตชนิดต่างๆ และการขนส่ง เช่น ตู้เย็นเก็บเม็ดเลือดแดง 1-6 องศาเซลเซียส ตู้เก็บเกล็ดเลือด 20-24 องศาเซลเซียสที่ต้องเขย่าตลอดเวลา ตู้แช่แข็งพลาสมา -20 องศาเซลเซียส เป็นต้น อีกทั้งต้องรักษาอุณหภูมิของส่วนประกอบโลหิตชนิดต่างๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน Blood cold chain ตลอดระยะเวลาขนส่งจากต้นทางจนถึงปลายทาง

5. ค่าใช้จ่ายในการควบคุมคุณภาพ ตามระบบ ISO และ GMP ที่เกี่ยวข้อง




โดยอัตราค่าบริการโลหิต จะถูกกำหนดโดยกรมบัญชีกลาง ซึ่งศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติจะนำมาเทียบเคียงให้เทียบเท่าหรือต่ำกว่าเกณฑ์กลางตามความเหมาะสมกับการบริการโลหิตทุกประเภท นอกจากนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายด้านอาคารสถานที่ รถออกหน่วยเคลื่อนที่ เครื่องมือ ครุภัณฑ์ บุคลากรสาธารณูปโภค ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและค่าดำเนินการสนับสนุนอื่นๆ ที่รวมแล้วจะสูงกว่าต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บ โดยส่วนที่ขาดศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติจะรับผิดชอบทั้งหมด ประกอบกับได้รับงบประมาณดำเนินการบางส่วนจากรัฐบาลมาช่วยเหลือ

ทั้งนี้ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย มิได้จำหน่ายโลหิตบริจาค แต่มีการคิดค่าบริการตามต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดเตรียมโลหิตให้มีคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุดตามมาตรฐานสากล เพื่อนำไปใช้กับผู้ป่วยที่ต้องรับโลหิตในการรักษา โดยกำหนดค่าบริการโลหิตให้โรงพยาบาลเป็นอัตราเดียวกันทุกโรงพยาบาลทั้งรัฐบาลและเอกชน มีการใช้อัตราค่าบริการจากกรมบัญชีกลาง ทั้งนี้ โรงพยาบาลจะมีการคิดค่าใช้จ่ายตามต้นทุนในการจัดเตรียมโลหิตให้กับผู้ป่วยเพิ่มเติม ตามอัตราที่แต่ละโรงพยาบาลกำหนด

ขณะที่ในโลกออนไลน์ต่างมีการถกเถียงเกี่ยวกับกรณีนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ยังคงสนับสนุนให้คนเข้าไปบริจาคเลือดอย่างต่อเนื่อง เพราะความต้องการเลือดของผู้ป่วยนั้นมีจำนวนมากในทุกโรงพยาบาล และต้องมีการสำรองเลือดไว้ในกรณีฉุกเฉินด้วย 

ในปัจจุบัน คลังเลือดมีเลือดไม่พอกับความต้องการ มีผู้ป่วยไม่ฉุกเฉินแต่ยังไม่สามารถทำการรักษาได้ เพราะต้องรอคิวเลือดสำหรับผ่าตัด ซึ่งหากไม่มีผู้บริจาคเลือดเลย ต่อให้มีเงินมากมายมาจ่ายค่าเลือด ก็ไม่มีเลือดให้ใช้ โดยเฉพาะหมู่เลือดที่หายาก การบริจาคเลือดจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตผู้ป่วยทุกคนที่จำเป็นต้องใช้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook