สงกรานต์ซอฟต์พาวเวอร์ ปี 67 สาดน้ำทั้งเดือน "อ.เจษฎ์" มาประโยคเดียว ขนลุก!

สงกรานต์ซอฟต์พาวเวอร์ ปี 67 สาดน้ำทั้งเดือน "อ.เจษฎ์" มาประโยคเดียว ขนลุก!

สงกรานต์ซอฟต์พาวเวอร์ ปี 67 สาดน้ำทั้งเดือน "อ.เจษฎ์" มาประโยคเดียว ขนลุก!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อุ๊งอิ๊ง ดันซอฟต์พาวเวอร์ ปักหมุดสงกรานต์ 67 จัดงานสาดน้ำทั้งเดือน อ.เจษฎา มาประโยคเดียว ช็อตฟีลจนขนลุก น่ากังวลมาก

 (1 ธ.ค. 66) จากกรณี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และประธานคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก Ing Shinawatra ระบุว่า  

“แผนงานปีหน้า เริ่มแล้วค่ะ ประชุมคณะกรรมการการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ เมื่อวานนี้ (30 พ.ย. 66) ทั้ง 12 คณะ จาก 11 อุตสาหกรรม ได้เสนองบประมาณเพื่อเตรียมดำเนินการในปีหน้า โดยหลังจากนี้เราจะเสนองบประมาณตามลำดับขั้นตอนต่อไป 

และอีกหนึ่งเรื่องใหญ่และน่าตื่นเต้น คือแผนงานใหญ่ปีหน้า วันสงกรานต์จะไม่ใช่แค่เทศกาลแบบในอดีตที่ผ่านมา แต่เราจะจัดงานใหญ่ มหาสงกรานต์ World Water Festival - The Songkran Phenomenon 

เราจะปักหมุดให้สงกรานต์ในไทยปีหน้า เป็นเทศกาลที่คนทั้งโลกต้องบินมาเล่นที่บ้านเรา และสงกรานต์ปีหน้า เราจะไม่เล่นน้ำแค่ 3 วันนะคะ แต่จะจัดงานกันทั้งเดือน ทยอยจัดกันทั้งประเทศ 77 จังหวัด  

เตรียมวางแผนกันได้เลยนะคะ ว่าสัปดาห์ไหนของเดือนเมษายน อยากจะไปเล่นน้ำสงกรานต์กันที่จังหวัดไหนค่ะ 

มาร่วมกันทำให้สงกรานต์บ้านเรา เป็นเทศกาลที่ทั่วโลกต้องปักหมุดมาเล่นน้ำที่บ้านเรา และทำให้ประเทศไทยติด 1 ใน 10 ประเทศสุดยอดเฟสติวัลโลกค่ะ”

ทางด้าน รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ได้แชร์ข่าวและโพสต์ถึงเรื่องดังกล่าวสั้นๆ ว่า

"แต่ปีหน้า น้ำแล้ง เพราะเอลนีโญนะครับ"

 

เอลนีโญ เป็นรูปแบบสภาพอากาศที่เกิดขึ้นตลอดมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน โดยเกิดขึ้นเฉลี่ยทุกห้าปี ลักษณะของเอลนีโญ คือ เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุณหภูมิผิวน้ำทะเลของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก สำหรับ เอลนีโญ เป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิมหาสมุทรอุ่นขึ้นผิดปกติ ประกอบกับความดันบรรยากาศสูงบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก ส่วน ลานีญา เป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิมหาสมุทรเย็นลงผิดปกติ ประกอบกับความดันบรรยากาศต่ำบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก

ปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้ฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และก่อให้เกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตอนเหนือของออสเตรเลีย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook