เปิดรายชื่อ "คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ" มีใครบ้าง ไปดูเลย!

เปิดรายชื่อ "คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ" มีใครบ้าง ไปดูเลย!

เปิดรายชื่อ "คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ" มีใครบ้าง ไปดูเลย!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประเด็นเรื่อง SOFT POWER (ซอฟต์พาวเวอร์) ยังเป็นประเด็นร้อนที่ประชาชนให้ความสนใจอย่างต่อเนื่อง หลังรัฐบาลพยายามอย่างยิ่งในการผลักดันและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ด้านต่างๆ ให้กลายเป็นที่รู้จักทั่วทั้งโลก ทั้งการประกาศนโยบาย ‘1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์’ พร้อมจัดตั้ง ‘คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ’ ขึ้นมาดูแลนโยบายนี้เป็นพิเศษ​ ซึ่งคณะกรรมการฯ ดังกล่าว ได้รวบรวมหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ด้านต่างๆ มาทำงานร่วมกัน เพื่อผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ไทยให้ ‘ปัง’ ระดับโลกของจริง

แล้วผู้เชี่ยวชาญที่ถูกคัดเลือกมาเพื่อทำหน้าที่ในคณะกรรมการฯ ที่จะช่วยเหลือและผลักดันซอฟต์พาวเวอร์เหล่านี้มีใครกันบ้าง Sanook เปิดรายชื่อผู้เชี่ยวชาญจาก 11 อุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ และพาไปดูบันได 3 ขั้นที่เปรียบเสมือนแนวทางการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ที่รัฐบาลวางเอาไว้เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ

คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ คือคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ภายในประเทศ ตามนโยบาย ‘1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์’ ของพรรคเพื่อไทย ซึ่งมีเป้าหมายจะยกระดับทักษะคนไทยให้เป็นแรงงานทักษะสูง 20 ล้านคน สร้างรายได้อย่างน้อย 200,000 บาทต่อปี และสร้างงาน 20 ล้านตำแหน่ง 

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ แบ่งได้เป็น 5 ด้านหลักๆ ดังนี้

  • กำหนดยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ จัดทำนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ เพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
  • เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดนโยบายและทิศทางด้านการเงิน การคลัง การลงทุน รวมทั้งมาตรการและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับหรือเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ
  • เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในการจัดให้มี ปรับปรุงหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ
  • เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการดำเนินงานตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ รวมทั้งมาตรการเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและประสานงานระหว่างส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศในการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ทั้งในและต่างประเทศ
  • รายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและพิจารณามีมติเกี่ยวกับการดำเนินการของหน่วยงานเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ

รายชื่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ

หลังคณะรัฐมนตรีได้ประชุมเพื่อขับเคลื่อนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ และจัดตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติขึ้น ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้เชี่ยวชาญจาก 11 อุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ของไทย จำนวนทั้งหมด 31 คน โดยมีรายชื่อดังต่อไปนี้ 

ประธานกรรมการ

รองประธานกรรมกร

  • แพทองธาร ชินวัตร (หัวหน้าพรรคเพื่อไทย)

ที่ปรึกษาและกรรมการ

  • พันศักดิ์ วิญญรัตน์ (อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี)

กรรมการ

  • ดร.ปานปรีย์ พหิทธานุการ (รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ)
  • สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล (รัฐมนตรีว่าการกระทรววงการท่องเที่ยวและกีฬา)
  • ศุภมาส อิศรภักดี (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
  • ประเสริฐ จันทรรวง (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)
  • ภูมิธรรม เวชยชัย (รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์)
  • อนุทิน ชาญวีรกูล (รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย)
  • พิพัฒน์ รัชกิจประการ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน)
  • กองเอก เสริมศักดิ์พงษ์พานิช (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม)
  • เพิ่มพูน ชิดชอบ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)
  • พวงเพชร ชุนละเอียด (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)
  • พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม)
  • กมลนาถ องค์วรรณดี (ผู้ประสานงานเครือข่าย Fashion Revolution ประเทศไทย)
  • จรัญ หอมเทียนทอง (อดีตนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย)
  • หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล (ผู้อำนวยการฝ่ายคอนเทนต์ Viu บจก. พีซีซีดับเบิลยู โอทีที (ประเทศไทย))
  • ชฎาทิพ จูตระกูล (ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บจก.สยามพิวรรธน์) 
  • ชุมพล แจ้งไพร (ทูตอาหารเพื่อความยั่งยืน องค์การสหประชาชาติ)
  • ดวงฤทธิ์ บุนนาค (อดีตกรรมการสภาสถาปนิก) 
  • ปรีชา สนั่นวัฒนานนท์ (อดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัท รี้ดเทรดเด็กซ์ จำกัด)
  • ผศ.พิมล ศรีวิกรม์ (ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี)
  • มาริสา สุโกศล หนุนภักดี (นายกสมาคมโรงแรมไทย)
  • วิเชียร ฤกษ์ไพศาล (อดีตรองกรรมการผู้อำนวยการ บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่)
  • ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ (ที่ปรึกษาคณะกรรมการด้านเศรษฐกิจ พรรคเพื่อไทย)
  • ธนกฤติ สิทธิชัย เทพไพฑูรย์ (กรรมการสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย)
  • เสริมคุณ คุณาวงศ์ (อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท ซีเอ็มโอ จำกัด (มหาชน))

กรรมการและเลขานุการ

  • นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี (อดีตรองนายกรัฐมนตรี)

กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

  • อดุชา พิชยนันท์ (เลขานุการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)
  • ภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ)
  • ชาคริต พิชญางกูร (ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์)

ทั้งนี้ หลังการประชุมของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 1 เสร็จสิ้นลง นายกฯ ได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้ง ‘คณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ’ เพื่อทำหน้าที่ผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ในด้านต่างๆ ให้มีความคืบหน้า และนำเสนอต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติต่อไป โดยกรรมการพัฒนาฯ ชุดนี้มีแพทองธาร ชินวัตร นั่งเป็นประธาน พร้อมด้วยภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ รวมเป็น 49 คน 

บันได 3 ขั้นการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ไทย

แผนการผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ไทย คือการเร่งขับเคลื่อนนโยบาย 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ (One Family One Soft Power: OFOS) และ Thailand Creative Content Agency (THACCA) ซึ่งมีเป้าหมายยกระดับทักษะคนไทย 20 ล้านคน สู่การเป็นแรงงานทักษะขั้นสูงและแรงงานสร้างสรรค์ และจะสามารถสร้างรายได้อย่างน้อย 4 ล้านล้านบาทต่อปี สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยจะมีแนวทางขับเคลื่อนแบ่งเป็น 3 ขั้น ได้แก่ 

  • ขั้นที่ 1 การพัฒนาคนผ่านกระบวนการส่งเสริมบ่มเพาะศักยภาพ โดยเฟ้นหาคนที่มีความฝันและอยากทำความฝันนั้นให้เป็นจริง ทุกช่วงอายุ จำนวน 20 ล้านคน จาก 20 ล้านครัวเรือน โดยแจ้งลงทะเบียนกับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อบ่มเพาะผ่านศูนย์บ่มเพาะทักษะสร้างสรรค์ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
  • ขั้นที่ 2 การพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์สาขาต่าง ๆ ภายในประเทศ 11 สาขา ได้แก่ อาหาร กีฬา เฟสติวัล ท่องเที่ยว ดนตรี หนังสือ ภาพยนตร์ เกม ศิลปะ การออกแบบ และแฟชั่น กำหนดให้เป็นหน้าที่ขององค์กร THACCA ที่จะถูกจัดตั้งขึ้นในอนาคต ดำเนินการปรับแก้กฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่ไม่สอดคล้องกับยุคสมัย สนับสนุนเงินทุนวิจัยและพัฒนา สร้างแรงจูงใจด้านภาษี จัดตั้งศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ทุกจังหวัด เพิ่ม Co-Working Space ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบวงจร ส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ ริเริ่มไอเดียสร้างสรรค์ และต่อยอดเป็นซอฟต์พาวเวอร์ตั้งแต่ระดับภูมิภาค ไปจนถึงระดับประเทศ
  • ขั้นที่ 3 การนำอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์รุกสู่เวทีโลก ด้วยการทูต เชิงวัฒนธรรม หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องนำซอฟต์พาวเวอร์ของไทยเผยแพร่สู่ตลาดโลก

ดันซอฟต์พาวเวอร์ไทยใน 3 ระยะ 

รัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายในการผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ไว้ 3 ระยะ โดยกำหนดวันที่ 3 ตุลาคม 2566 เป็นวันเริ่มต้น ซึ่งการผลักดันใน 3 ระยะ มีดังต่อไปนี้ 

  • ภายใน 100 วัน (ภายใน 11 ม.ค. 2567) กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจะพร้อมให้ประชาชนลงทะเบียนแสดงความสนใจเข้ารับการบ่มเพาะ มีการปรับปรุงศูนย์บ่มเพาะทักษะสร้างสรรค์ในสถาบันการศึกษา การปรับเปลี่ยนกฎหมายบางส่วนให้สอดรับการดำเนินงาน และจะร่วมจัด Winter Festival เทศกาลฤดูหนาวกับกรุงเทพมหานครอย่างยิ่งใหญ่
  • ภายใน 6 เดือน (ภายใน 3 เม.ย. 2567) เริ่มต้นกระบวนการบ่มเพาะศักยภาพคนผ่านศูนย์บ่มเพาะทักษะสร้างสรรค์ พร้อมเสนอร่างพระราชบัญญัติ THACCA สู่การพิจารณาของสภา มีการจัดงานเทศกาลสงกรานต์ทั้งประเทศให้เป็น World Water Festival และจัดงานซอฟต์พาวเวอร์ฟอรัมนานาชาติ ระดมความคิดสร้างสรรค์ของคนในวงการซอฟต์พาวเวอร์ทั้งระดับประเทศและระดับโลก
  • ภายใน 1 ปี (ภายใน 3 ต.ค.2567) กระบวนการบ่มเพาะศักยภาพคน จะสามารถสร้างแรงงานทักษะสูงและแรงงานสร้างสรรค์ ได้อย่างน้อย 1 ล้านคน และคาดว่าร่างพระราชบัญญัติ THACCA จะได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร และเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาต่อไป รวมไปถึงการส่งเสริมการจัดเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติและเทศกาลดนตรีนานาชาติ สนับสนุนซอฟต์พาวเวอร์ของไทยในสาขาต่างๆ ไปร่วมงานในระดับโลก

ความคิืบหน้าของนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ล่าสุด อ่านได้ที่นี่

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook