สปสช. ให้สิทธิ "บัตรทอง" กลุ่ม LGBTQ+ ผ่าตัดแปลงเพศฟรี มีมานานแล้ว!

สปสช. ให้สิทธิ "บัตรทอง" กลุ่ม LGBTQ+ ผ่าตัดแปลงเพศฟรี มีมานานแล้ว!

สปสช. ให้สิทธิ "บัตรทอง" กลุ่ม LGBTQ+ ผ่าตัดแปลงเพศฟรี มีมานานแล้ว!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังโลกโซเชียลถกเถียงกันเรื่องสิทธิการผ่าตัดแปลงเพศว่าสามารถใช้สิทธิบัตรทองได้หรือเปล่า จนเกิดเป็นดราม่าขนาดย่อมๆ วันที่ 2 ธ.ค. 66 ที่ผ่านมา นายแพทย์จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานประกันหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการเพิ่่มสิทธิประโยชน์ผ่าตัดแปลงเพศในกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) ระบุว่า การผ่าตัดแปลงเพศอยู่ในสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาตั้งแต่ปี 2561 แล้ว เนื่องจากไม่มีข้อยกเว้นเอาไว้

นายแพทย์จเด็จอธิบายว่า ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุข พ.ศ.2565 ระบุไว้ชัดเจนว่า การกระทำใดๆ เพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ จะไม่ครอบคลุมหรือเบิกสิทธิบัตรทองไม่ได้ แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ก็สามารถทำแล้วใช้สิทธิได้ พร้อมยกตัวอย่างกรณีการเบิกเพื่อผ่าตัดแปลงเพศกลุ่ม LGBTQ+ ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เมื่อปีที่แล้ว จำนวน 1 ราย

"เรื่องการแปลงเพศของกลุ่ม LGBTQ+ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เรื่องของสิทธิประโยชน์ แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีการพูดคุยเป็นเรื่องเป็นราวว่าตรงไหนทำได้หรือไม่ได้อย่างไร และ รพ.ก็ไม่เคยทำและเบิกเข้ามา สปสช.ก็ไม่รู้ว่าต้องทำอะไรบ้าง จึงมีการนัดภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องหารือทั้งแพคเกจเลย ตั้งแต่ส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค รักษาฟื้นฟูครบทุกกระบวนการ เพราะจะมีตั้งแต่การใช้ฮอร์โมนจนถึงแปลงเพศ ซึ่งฮอร์โมนบางตัวอาจจะไม่อยู่ในบัญชียาหลัก ก็ต้องไปดูรายละเอียด" นายแพทย์จเด็จกล่าว

ในประเด็นที่ว่าข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ต้องตรวจกับแพทย์หรือจิตแพทย์ เพื่อระบุว่าบุคคลนั้นมีความจำเป็นต้องข้ามเพศ นายแพทย์จเด็จก็ชี้ว่า ตอนนี้ไม่ได้มองว่าเป็นความผิดปกติ (Disorder) แล้ว แต่เป็นลักษณะทางเพศสภาพไม่ตรงกับจิตใจและร่างกาย หากแพทย์มองว่าปล่อยทิ้งวไว้จะเป็นปัญหาสุขภาพจิต เรื่องความเป็นอยู่ ก็พิจารณาให้ทำได้

อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดแปลงเพศมีราคาค่อนข้างสูง เพราะไม่ใช่แค่การผ่าตัดแปลงเพศเท่านั้น แต่ยังมีหัตถการอื่นๆ มาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งสิทธิประโยชน์จำเป็นต้องครอบคลุมทั้งหมด ซึ่งขณะนี้ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย และสมาคมเพศวิทยาคลินิกและเวชศาสตร์ทางเพศ ที่ดูแลรักษาผู้มีเพศสภาพไม่ตรง กำลังจัดทำคู่มือทำไกด์ไลน์ออกมาว่า ก็มีประมาณ 8-9 หัตถการที่ต้องทำ เช่น ตัดกราม ผ่าตัดใบหน้า ผ่าตัดหน้าอก ผ่าตัดอวัยวะเพศ เป็นต้น

“เรากำลังให้ทีมทำเป็นแพคเกจทั้งหมดของทรานส์เจนเดอร์ ซึ่งบางเรื่องมีอยู่แล้ว แต่แค่กระจัดกระจาย เราไม่เคยเอาพวกนี้มามองเป็นเรื่องของทรานส์เจนเดอร์ เราจะรวมแพ็กเกจมาคุยกันใหม่ ที่มีอยู่แล้วก็เอามารวม ที่ยังไม่มีก็เอามาเสริม แล้วประกาศเป็นแพคเกจสำหรับคนกลุ่มนี้ คาดว่าประมาณ 1-2 เดือนน่าจะแล้วเสร็จ”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook