ไขปริศนา "บ้านเกิด" ของบรรพบุรุษมนุษย์ มาจากตอนใต้ของแม่น้ำแซมเบซี ดำรงอยู่ถึง 7 หมื่นปี

ไขปริศนา "บ้านเกิด" ของบรรพบุรุษมนุษย์ มาจากตอนใต้ของแม่น้ำแซมเบซี ดำรงอยู่ถึง 7 หมื่นปี

ไขปริศนา "บ้านเกิด" ของบรรพบุรุษมนุษย์ มาจากตอนใต้ของแม่น้ำแซมเบซี ดำรงอยู่ถึง 7 หมื่นปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นักวิจัยไขปริศนา บ้านเกิดของบรรพบุรุษมนุษย์ในปัจจุบัน มาจากตอนใต้ของแม่น้ำแซมเบซี ในบอตสวานา ดำรงอยู่ถึง 7 หมื่นปี

จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร Nature ซึ่งเปิดเผยว่า บรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน หรือโฮโมเซเปียนส์ กำเนิดขึ้นเมื่อ 200,000 ปีที่แล้ว ในพื้นที่ชุ่มน้ำกว้างใหญ่ตอนใต้ของแม่น้ำแซมเบซี ในบอตสวานา ในอดีตเคยเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่นั้น บรรพบุรุษของเราเคยดำรงอยู่ถึง 70,000 ปี

โดยเริ่มจากช่วง 110,000 และ 130,000 ปีก่อน สภาพอากาศโลกเริ่มเปลี่ยนแปลง ก่อเกิดความอุดมสมบูรณ์ที่หุบเขาแห่งนี้ บรรพบุรุษของเราถือกำเนิดขึ้น ต่อมาจึงได้อพยพออกจากแอฟริกาไปทั่วโลก

ศาสตราจารย์ วาเนสซา เฮย์ส หัวหน้าทีมวิจัย นักพันธุศาสตร์แห่ง Garvan Institute of Medical Research ประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าจุดกำเนิดของมนุษย์อยู่ที่แอฟริกาเมื่อ 200,000 ปีที่แล้ว หลังจากมีการถกเถียงมาอย่างยาวนานเกี่ยวกับสถานที่กำเนิดและการแพร่กระจายของเผ่าพันธุ์มนุษย์ในยุคแรกเริ่ม

ศาสตราจารย์เฮย์ส และทีมงาน ได้เก็บตัวอย่างเลือดจากผู้เข้าร่วมการศึกษาในนามิเบียและแอฟริกาใต้ เพื่อตรวจดูไมโตคอนเดรียลดีเอ็นเอ (mtDNA) หรือดีเอ็นเอจากฝั่งแม่ ที่ส่งต่อเฉพาะจากแม่สู่ลูกผ่านเซลล์ไข่ จากรุ่นสู่รุ่น เป็นสิ่งที่จะบอกได้ว่าจุดเริ่มต้นของมนุษย์อยู่ที่ใด

ทีมนักวิจัยได้ศึกษาสายดีเอ็นเอ L0 ซึ่งเป็นดีเอ็นเอเก่าแก่ที่สุดของมนุษย์ เปรียบเทียบกับรหัสพันธุกรรมสมบูรณ์ (ไมโตจีโนม) ในกลุ่มตัวอย่างจากที่ต่างๆ และยังดูไปถึงดีเอ็นเอย่อยจากผู้คนในพื้นที่ต่างๆ ในแอฟริกาเพื่อรู้ว่ามนุษย์เกี่ยวข้องกันอย่างไร

นอกจากนี้ ทีมนักวิจัยยังได้พิจารณาข้อมูลทางพันธุศาสตร์ ร่วมกับข้อมูลทางภูมิศาสตร์ และสภาพอากาศ เพื่อวาดภาพว่าโลกของเราเมื่อ 200,000 ปีก่อน มีสภาพเป็นอย่างไร

หลักฐานทางภูมิศาสตร์ยังแสดงให้เห็นว่าพื้นที่ที่เป็นจุดกำเนิดมนุษย์นี้ ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ตั้งของระบบทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกา ที่รู้จักกันในชื่อทะเลสาบ Makgadikgadi ซึ่งใหญ่เป็นสองเท่าของทะเลสาบวิกตอเรีย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook