แม่หน้าซีด ลูก 2 เดือน สมองบวม-หยุดหายใจ หมอชี้สาเหตุ "วิธีอุ้ม" ตอนเด็กร้องไห้

แม่หน้าซีด ลูก 2 เดือน สมองบวม-หยุดหายใจ หมอชี้สาเหตุ "วิธีอุ้ม" ตอนเด็กร้องไห้

แม่หน้าซีด ลูก 2 เดือน สมองบวม-หยุดหายใจ หมอชี้สาเหตุ "วิธีอุ้ม" ตอนเด็กร้องไห้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อย่าอุ้มลูกแบบนี้! หมอแชร์เคสเด็กวัย 2 เดือน สมองบวม-หยุดหายใจ สาเหตุมาจาก "วิธีอุ้ม" ปลอบเด็กตอนร้องไห้

Dr.Ngô Tiến Đông จากแผนกรักษาผู้ป่วยหนักอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลเด็กแห่งชาติ ประเทศเวียดนาม เปิดเผยว่ามีเคสผู้ป่วยอายุ 2 เดือน เข้ารักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการหยุดหายใจขณะหลับ และมีอาการชัก มีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิต

เมื่อมาถึงโรงพยาบาลแพทย์พบว่า เด็กมีอาการชัก ริมฝีปากสีม่วง กระหม่อมด้านหน้านูน ความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น ครอบครัวยืนยันว่าเด็กไม่ได้ล้มหรือมีอาการชักมาก่อนหน้านี้ แต่ 3 วันก่อนเข้าโรงพยาบาล เด็กมักจะร้องไห้ ทำให้ต้องอุ้มและโยกตัวเพื่อปลอบโยน กระทั่งสังเกตเห็นว่าทารกดูดนมแม่น้อยลง และมีขยับตัวเล่นซุกซนน้อยลง กระทั่งพบว่าหยุดหายใจ จึงรีบพาไปโรงพยาบาลฉุกเฉิน

แพทย์ตั้งข้อสงสัยว่าเด็กมีความเสียหายต่อเส้นประสาท หลังจากการตรวจทางคลินิก อัลตราซาวนด์ และการตรวจสายตาด้วยวิธีใช้ออพธัลโมสโคป(Ophthalmoscopy) ผลพบว่าเด็กมีภาวะเลือดออกในเยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (subarachnoid hemorrhage) ในระดับทวิภาคี อาการบวมน้ำในสมองแบบแพร่กระจายในระดับทวิภาคี ร่วมด้วย อาการตกเลือดที่จอประสาทตา และภาวะขั้วประสาทตาบวม (Papilledema) คาดว่าน่าจะเกิดจากกลุ่มอาการผิดปกติจากการเขย่าตัวทารก (Shaken Baby Syndrome)

แพทย์ให้ผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจ และรับการรักษาภาวะความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น หลังจากรักษาได้ 7 วัน เด็กก็สามารถถอดเครื่องช่วยหายใจได้ สัญญาณชีพคงที่ แต่ยังมีเสี่ยงต่อผลที่ตามมาของระบบประสาทในระยะยาว และส่งผลต่อปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและคุณภาพชีวิต

อาการผิดปกติจากการเขย่าตัวทารก (Shaken Baby Syndrome)

Shaken Baby Syndrome มักเกิดขึ้นกับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ โดยเฉพาะในช่วง 2-4 เดือนแรก ที่เด็กร้องไห้บ่อยมาก สาเหตุของโรคนี้มักเกิดจากนิสัยอุ้มเขย่าทารกเพื่อปลอบเด็กเวลาร้องไห้ รวมทั้งการโยกเปลเพื่อกล่อมทารกให้นอนหลับ หรือการเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนท่าทางกะทันหัน เช่น การอุ้มขึ้นเร็วๆ หรือการอุ้มโยนเด็กให้สูงๆ ซึ่งต้องย้ำว่าเด็กอาจตกอยู่ในอันตรายได้ แม้จะเขย่าเพียง 5 วินาทีก็ตาม

อาการที่พบบ่อยของกลุ่มอาการนี้ ได้แก่ ร้องไห้ อาเจียนมาก ทานอาหารได้ไม่ดี หายใจผิดปกติ เซื่องซึม ชัก หรือโคม่า ในบางกรณี เด็กจะไม่แสดงอาการโคม่า แต่หลังจากนั้นไม่นานอาจประสบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางจิต และการเคลื่อนไหวล่าช้า

คุณหมอระบุว่า “คอของทารกแรกเกิดยังคงอ่อนแอมาก ไม่แข็งแรงพอที่จะรองรับศีรษะ ซึ่งใหญ่กว่าลำตัวประมาณ 10-15% ในทางกลับกัน สมองของเด็กยังพัฒนาไม่เต็มที่ และยังคง 'ลอย' อยู่ในสภาพแวดล้อมของน้ำไขสันหลังโดยรอบ ดังนั้นการสั่นอย่างรุนแรงทำให้เกิดการเร่งความเร็วและการชะลอตัวของสมองอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อพื้นผิวแข็งภายในกะโหลกศีรษะ ทำลายสมองและหลอดเลือดในสมอง ทำให้เกิดอาการบวมน้ำในสมอง และเพิ่มความดันในกะโหลกศีรษะ"

“เด็กหลายคนอาจมีอาการนี้ แต่ในช่วงแรกจะแสดงอาการร้องไห้และเซื่องซึมเพียง 1-2 วัน จากนั้นจึงรับประทานอาหารและนอนหลับตามปกติ ครอบครัวจึงเพิกเฉยได้ง่าย กระทั่งในช่วงบั้นปลายของชีวิต เด็กๆ จะค่อยๆ แสดงอาการสมองพิการ สายตาไม่ดี และพัฒนาการช้า ในเวลานั้นเป็นเรื่องยากที่จะทราบสาเหตุ และยังช้ามากที่จะเข้าไปแทรกแซงและรักษาได้”

ทั้งนี้ คุณหมอยังย้ำด้วยว่า เมื่อเด็กแสดงอาการผิดปกติ ควรนำส่งโรงพยาบาลทันทีเพื่อตรวจสอบ อย่าจับหรือเขย่าเด็กมากไปกว่าเดิมเพื่อพยายามปลุก อย่าให้อาหารก่อนรับความช่วยเหลือฉุกเฉิน ในบางกรณี เด็กอาจอาเจียนได้ เพื่อป้องกันไม่ให้สำลัก ให้เอียงศีรษะและลำตัวของเด็กเบาๆ ให้เป็นแนวเดียวกัน

อัลบั้มภาพ 3 ภาพ

อัลบั้มภาพ 3 ภาพ ของ แม่หน้าซีด ลูก 2 เดือน สมองบวม-หยุดหายใจ หมอชี้สาเหตุ "วิธีอุ้ม" ตอนเด็กร้องไห้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook