เปิดไทม์ไลน์อยุธยา สมัยพระเจ้าท้ายสระ อีกกี่ปีกรุงแตก? อยู่เมืองพริบพรีรอดข้าศึกไหม

เปิดไทม์ไลน์อยุธยา สมัยพระเจ้าท้ายสระ อีกกี่ปีกรุงแตก? อยู่เมืองพริบพรีรอดข้าศึกไหม

เปิดไทม์ไลน์อยุธยา สมัยพระเจ้าท้ายสระ อีกกี่ปีกรุงแตก? อยู่เมืองพริบพรีรอดข้าศึกไหม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วิพากษ์ละครพรหมลิขิตตอนจบ ไทม์ไลน์กรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่สิ้นสมัยพระเจ้าท้ายสระ อีกกี่ปีกรุงแตก? ย้ายไปอยู่เมืองพริบพรีรอดข้าศึกไหม

ละครพรหมลิขิตตอนจบ บทสรุปของละครอิงประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งดำเนินเรื่องในรัชสมัย สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ ในตอนอวสานครอบครัวของตัวละครหลักอย่างการะเกดและพุดตาน รวมถึงบ่าวไพร่ทุกคนได้อพยพย้ายไปอยู่ที่เมืองพริบพรี ก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะถูกพม่าตีแตกจนต้องเสียกรุงฯ ครั้งที่ 2 ซึ่งชาวโซเชียลก็ได้มีการวิเคราะห์บทละคร รวมทั้งวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในช่วงนั้นกันมากมาย

สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 หรือ พระเจ้าท้ายสระ ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2251 - พ.ศ. 2275 โดยกรุงศรีอยุธยาล่มสลายหลังพระองค์เสด็จสวรรคต 35 ปี 

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในช่วงปลายของอยุธยา

  • พ.ศ. 2275 สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ เสด็จสวรรคต 

สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ มีพระราชโอรสรวม 3 พระองค์ คือ เจ้าฟ้านเรนทร์ หรือ กรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ เจ้าฟ้าอภัย และ เจ้าฟ้าปรเมศร เมื่อเจ้าฟ้าทั้งสามเจริญพระชันษาขึ้นแล้ว สมเด็จพระเจ้าท้ายสระทรงแสดงพระราชประสงค์ที่จะให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอได้รับราชสมบัติต่อจากพระองค์ เจ้าฟ้ากรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ทรงเห็นว่า พระราชบิดาได้รับราชสมบัติเพราะกรมพระราชวังบวรฯ ถวาย เมื่อสิ้นรัชกาลแล้ว ก็สมควรคืนราชสมบัตินั้นให้แก่กรมพระราชวังบวรฯ ผู้เป็นอาตามเดิม จึงทรงปลีกพระองค์ออกผนวช

แต่พระเจ้าท้ายสระ ทรงมอบราชสมบัติพระราชทานแก่ เจ้าฟ้าอภัย ทำให้กรมพระราชวังบวรฯ ไม่ทรงยินยอม จนเกิดการขัดแย้งกันระหว่างอาและหลาน กลายเป็นสงครามกลางเมืองต่อสู้แย่งชิงราชบัลลังก์กินระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี จนกระทั่ง เจ้าฟ้าพร เป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ ภายหลังเหตุการณ์สงบแล้ว กรมพระราชวังบวรสถานมงคลจึงปราบดาภิเษกเสด็จขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 2276 เป็น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พร้อมสำเร็จโทษเจ้าฟ้าอภัยและเจ้าฟ้าปรเมศร์ ด้วยท่อนจันทน์ตามโบราณราชประเพณี

  • พ.ศ. 2301 พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคต พระเจ้าอุทุมพร พระราชโอรส ขึ้นครองราชย์

  • พ.ศ.2301 พระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด) สละราชสมบัติให้แก่พระเชษฐา คือ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ หลังครองราชย์เพียง 3 เดือน แล้วเสด็จออกผบวช

  • พ.ศ.2302-2303 พระเจ้าอลองพญาแห่งพม่ายกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา ขุนนางราษฎรทั้งหลายจึงพากันไปกราบทูลวิงวอนสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรให้ลาพระผนวชออกมาเพื่อช่วยป้องกันพระนคร ตามพงศาวดารไทยระบุว่า พระองค์สวรรคตเพราะปืนใหญ่แตกที่วัดหน้าพระเมรุ แต่ทางพงศาวดารพม่าระบุว่าสวรรคตเพราะประชวร ทำให้อยุธยายังรอดพ้นจากการเสียกรุงมาได้

  • พ.ศ.2309 พระเจ้ามังระ โปรดให้มังมหานรธาและเนเมียวสีหบดี เป็นแม่ทัพยกกองมาตีกรุงศรีอยุธยา การยกกองมาตีครั้งนี้ได้เตรียมพร้อมตั้งแต่ พ.ศ. 2307 และมีการกำหนดเส้นทางการเข้าตีมาอย่างดี โดยแบ่งเป็น 2 เส้นทาง คือ เส้นทางใต้ และเส้นทางเหนือ 

  • พ.ศ.2310 เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน ตรงกับวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310

เพชรบุรี (พริบพรี) ในสงครามเสียกรุงครั้งที่ 2

ในปี พ.ศ.2302 พระเจ้าอลองพญาเสด็จยกทัพมาโจมตีกรุงศรีอยุธยา ยกจากเมืองรัตนสิงห์ราชธานีในกลางปี พ.ศ. 2302 ลงมาเมืองร่างกุ้ง พระเจ้าอลองพญาทรงทราบข่าวว่าสยามได้ยึดเมืองทวายไว้อีกครั้งและเรือการค้าของพม่าที่เมืองทวายถูกสยามยึดไว้ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญาจึงนำทัพเข้ายึดเมืองเมาะตะมะและเมืองทวายได้ ฝ่ายราชสำนักอยุธยาจึงจัดทัพมารับศึกพม่า ให้พระยายมราชเป็นทัพหลวง ให้พระยาเพชรบุรี (เรือง) เป็นทัพหน้า ไปตั้งรับพม่าที่เมืองมะริด ให้พระยารัตนาธิเบศร์เสนาบดีกรมวัง รวมทั้งขุนรองปลัดชูเป็นกองอาทมาต ยกเป็นทัพหนุนไปอีกทัพหนึ่ง ทัพหน้าของพระเจ้าอลองพญา นำโดยมังฆ้องนรธาและเจ้าชายมังระพระโอรส สามารถเข้ายึดเมืองมะริดและตะนาวศรีได้อย่างรวดเร็ว พระเจ้าเอกทัศน์มีพระราชโองการให้จัดทัพไปตั้งรับพม่าที่ทางท่ากระดานกาญจนบุรีและเชียงใหม่ด้วย ทั้งที่พม่ายกมาทางเมืองกุยบุรีทางเดียว แสดงถึงการข่าวสงครามที่ผิดพลาดและไม่แม่นยำ

ฝ่ายพระยายมราชไปไม่ทันที่เมืองมะริดจึงตั้งรับที่แก่งตุ่ม พระยารัตนาธิเบศร์ตั้งรับที่กุยบุรี ทัพพม่ายกข้ามด่านสิงขรมาตีทัพของพระยายมราชที่แก่งตุ่มแตกพ่าย พระยารัตนธิเบศร์ส่งขุนรองปลัดชูไปรบกับพม่าที่หว้าขาว ในการรบที่หว้าขาว ได้เกิดวีรกรรมของขุนรองปลัดชู ถือดาบสองมือสู้กับพม่าจนถึงตะลุมบอน สุดท้ายขุนรองปลัดชูพ่ายแพ้ ทั้งพระยายมราชและพระยารัตนาธิเบศร์จึงถอยทัพกลับกรุงศรีอยุธยา ทัพพม่าเข้ายึดเมืองกุยบุรี ปรานบุรี เพชรบุรี ได้อย่างรวดเร็ว

ทัพพม่าของพระเจ้าอลองพญาเดินทางถึงชานกรุงศรีอยุธยาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2303 พม่าตั้งทัพที่บ้านกุ่มบ้านกระเดื่อง ทัพหน้าตั้งที่โพธิ์สามต้น ทางทิศเหนือของพระนคร แล้วนำกำลังเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ บรรดาราษฎรและพ่อค้าริมคูเมืองต่างถอยเรือของตนไปรวมกันแออัดที่ท้ายคูทางฝั่งทิศใต้ พม่าเข้าโจมตีสังหารชาวบ้านและพ่อค้าวาณิชย์ที่ท้ายคูล้มตายจำนวนมาก แต่ทว่าในตอนนี้ฝ่ายกรุงศรีอยุธยามีความได้เปรียบ เนื่องจากกำลังจะเข้าถึงฤดูฝนน้ำกำลังจะหลากท่วมชานกรุงศรีอยุธยา ถ่วงเวลาไว้พม่าจะตั้งทัพอยู่ไม่ได้และต้องถอยทัพไปในที่สุด

พงศาวดารพม่าระบุว่าพระเจ้าอลองพญาประชวร ในขณะที่พงศาวดารไทยระบุว่าพระเจ้าอลองพญาทรงถูกปืนใหญ่แตกระเบิดได้รับบาดเจ็บ เจ้าชายมังระจึงเสนอให้ถอยทัพ พระเจ้าอลองพญาจึงทรงให้มังฆ้องนรธาอยู่รักษาทัพพม่าแนวหลังที่อยุธยาไว้ แล้วพระเจ้าอลองพญาจึงถอยทัพออกจากอยุธยากลับไปทางด่านเมืองตากในเดือนพฤษภาคม สุดท้ายพระเจ้าอลองพญาประชวรสิ้นประชนม์ที่ตำบลตะเมาะกะโลก ระหว่างเมืองเมียวดีกับแม่น้ำสาละวิน กรุงศรีอยุธยาจึงรอดพ้นจากกองทัพพม่าในคราวนี้ได้ครั้งหนึ่ง

วัดกำแพงแลง จ.เพชรบุรี

ต่อมา พ.ศ.2308-2309 พระเจ้ามังระ โปรดให้มังมหานรธาและเนเมียวสีหบดี เป็นแม่ทัพยกกองมาตีกรุงศรีอยุธยา การยกกองมาตีครั้งนี้ได้เตรียมพร้อมตั้งแต่ พ.ศ. 2307 และมีการกำหนดเส้นทางการเข้าตีมาอย่างดี โดยแบ่งเป็น 2 เส้นทาง คือ เส้นทางใต้ และเส้นทางเหนือ 

หลักฐานในพงศาวดารม่าระบุว่า กองทัพของมหานรธาประกอบด้วยทัพช้าง 100 ทัพม้า 1,000 และพลเดินเท้า 20,000 โดยมีเนเมียวกุณเย๊ะ และคุเชงยานองจอ ติดตามไปเป็นปลัดทัพ กองทัพทั้งหมดเคลื่อนไปสมทบกับกำลังอีกส่วนหนึ่งซึ่พงเกณฑ์จากเมืองหงสาวดี เมาะตะมะ ตะนาวศรี มะริด และทวาย รวมกำลังแล้วทั้งสิ้นกว่า 30,000 กำลังทั้งหมดนี้เคลื่อนออกจากเมืองทวายในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2308 โดยมีเป้าหมายมุ่งเข้าตีเมืองเพชรบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ไทรโยค และสวานโป ก่อนจะพุ่งเข้าตีกรุงศรีอยุธยา

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2309 มังมหานรธาที่เมืองทวายส่งทัพหน้า 5,000 คน นำโดยเมฆราโบและติงจาแมงข่อง ยกทัพเข้ามาทางเมืองกาญจนบุรี โจมตีทัพสยามของพระพิเรนทรเทพที่กาญจนบุรีแตกพ่ายกลับมา จากนั้นทัพพม่าจึงแยกย้ายกันไปโจมตีเมืองเพชรบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี และสุพรรณบุรี เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาไม่มีอำนาจไม่สามารถควบคุมหัวเมืองรอบนอกได้ ฝ่ายพม่ามีกลยุทธว่าหากเมืองใดไม่ต่อสู้ยอมอ่อนน้อมต่อพม่าก็จะไม่ทำอันตราย เพียงแต่กะเกณฑ์ผู้คนเสบียงอาหารใช้ในกองทัพโดยไม่ลงโทษ แต่ถ้าเมืองใดขัดขืดต่อสู้พม่าก็จะโจมตีเข้ายึดโดยใช้กำลัง

นอกจากนี้พม่ายังใช้การกระจายกำลังออกเกลี้ยกล่อมผู้คนพลเมืองทั่วไปในท้องถิ่นภาคกลางฝั่งตะวันตกลุ่มน้ำเจ้าพระยา จึงทำให้คนไทยที่เดือดร้อนไปเข้ากับพม่าเป็นอันมาก

พงศาวดารพม่าระบุว่า ฝ่ายสยามเมืองเพชรบุรี กาญจนบุรี และชุมพร ยกกำลังเข้าต่อสู้กับบพม่า ในขณะที่เมืองราชบุรี สุพรรณบุรี และไชยา ไม่ต่อสู้เข้าอ่อนน้อมต่อพม่า ส่วนพงศาวดารไทยระบุว่า มีการสู้รบพม่าที่เมืองราชบุรี นำโดยเจ้าพระยาพระคลังสมุหนายก (พงศาวดารหมอบรัดเลเรียกว่า เจ้าพระยาจักรี คำให้การชาวกรุงเก่าเรียกว่า พระยาพิพัฒน์โกษา) ต้านทานพม่าได้หลายวัน ในการรบที่ราชบุรี จนกระทั่งวันหนึ่ง ทั้งทหารสยามและช้างศึกเมืองราชบุรีดื่มสุรามากเกินขนาด รบพุ่งซวนเซจนพม่าสามารถเข้ายึดเมืองราชบุรีได้สำเร็จ

พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฯ ระบุว่า "...ยกแยกกันไปตีเมืองราชบูรี เพชร์บูรี มิได้มีผู้ใดต่อรบ ยกครอบครัวหนีเข้าป่าไปสิ้น พม่าเที่ยวไล่ค้นจับผู้คนครอบครัวได้บ้าง..." สุดท้ายแล้วปรากฏว่าราษฎรชาวสยามหลบหนีเข้าป่าไปจำนวนมากจนพม่าต้องติดตามจับกุมเข้ามา

เพชรบุรี ได้ชื่อว่าเป็น "อยุธยาที่ยังคงมีชีวิต" เหตุด้วยยังคงมีงานศิลปะและสถาปัตยกรรมที่สืบทอดมาจากสมัยอยุธยาตอนปลายให้ได้เห็น เนื่องจากไม่ได้ถูกเผาทำลายในช่วงเสียกรุงเช่นเดียวกับอยุธยา

วัดใหญ่สุวรรณาราม จ.เพชรบุรี ศิลปะอยุธยาตอนปลาย

เจ้าเมืองเพชรบุรีคนสุดท้ายในสมัยกรุงศรีอยุธยา

พระยาเพชรบุรี มีนามเดิมว่า เรือง ตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ ตำบล บ้านสวนตาล หลังวัดพนัญเชิง เป็นพระญาติในสมเด็จกรมพระเทพามาตย์ราชชนนีในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และเป็นพระญาติกับเจ้าขรัวเงิน พระชนกในสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี พระอัครมเหสีในรัชกาลที่ 2 โดยพระยาเพชรบุรี (เรือง) นั้นสืบเชื้อสายมาแต่ตระกูลขุนนางที่รับราชการต่อเนื่องกันมาในราชสำนักหลายชั่วอายุคนแล้ว ทั้งยังเป็นตระกูลขุนนางซึ่งรู้จักกันเป็นอย่างดีในหมู่ราษฎรกรุงศรีอยุธยาเวลานั้น

เริ่มเข้ารับราชการโดยถวายตัวเป็นมหาดเล็กในกรมขุนพรพินิต (สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร) ต่อมาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเห็นฝีมือจึงขอตัวไปทำราชการอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ตั้งให้เป็นขุนนางฝ่ายทหาร ว่าราชการเมืองเพชรบุรี เมื่อ พ.ศ. 2275 และเป็นขุนนางจากราชสำนักอยุธยาคนสุดท้ายที่ได้ออกไปครองเมืองเพชรบุรี

พระยาเพชรบุรี เป็นนักรบที่เก่งกล้าสามารถ เลื่องลือว่าอยู่ยงคงกระพัน ในสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ กรมหมื่นเทพพิพิธ ร่วมกับเจ้าพระยาอภัยราชา พระยายมราช พระยาเพชรบุรี และหมื่นทิพเสนา วางแผนถอดสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ออกจากราชสมบัติ แล้วถวายให้สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรซึ่งทรงผนวชอยู่ครองราชย์ ต่อมาความทราบถึงสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ จึงมีพระราชโองการให้กุมตัวเหล่ากบฏ พระยาเพชรบุรีรู้ข่าวจึงพาทหารไปเชิญเสด็จกรมหมื่นเทพพิพิธ หนีออกจากพระนคร แต่ก็มาถูกจับ พระยาเพชรบุรีจึงต้องพระราชอาญาเฆี่ยนแล้วจำไว้

ต่อมาเมื่อพม่ายกทัพเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ มีรับสั่งให้ไปเชิญสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรลาผนวช แล้วมอบราชสมบัติให้ เมื่อพระเจ้าอุทุมพรได้ราชสมบัติแล้ว จึงมีรับสั่งให้ปล่อยตัว เจ้าพระยาอภัยราชา พระยายมราช และ พระยาเพชรบุรี ออกมารับราชการดังเก่า ต่อมาเมืองเมาะตะมะเกิดกบฎ พระยายมราชและพระยาเพชรบุรีจึงได้ไปปราบจนพวกมอญราบคาบ

ต่อมาเมื่อพม่ายกทัพเข้าตีกรุงศรีอยุธยาครั้งหลัง พระยาเพชรบุรีได้มีหน้าที่รักษากรุง ได้รบกับทัพพม่าที่ริมวัดสังฆาวาศแล้วถูกพม่าจับกุมได้ และถูกพม่าประหารเมื่อ เดือน 12 ปีจอ พุทธศักราช 2309

รู้จัก เมืองพริบพรี อาณาจักรโบราณที่ถูกพูดถึงในพรหมลิขิต ปัจจุบันคือที่ไหนในประเทศไทย

 

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook