รู้หรือไม่ ป่วยเป็นโรคเหล่านี้ พบหมอผ่าน "โทรศัพท์มือถือ" ได้เลย!

รู้หรือไม่ ป่วยเป็นโรคเหล่านี้ พบหมอผ่าน "โทรศัพท์มือถือ" ได้เลย!

รู้หรือไม่ ป่วยเป็นโรคเหล่านี้ พบหมอผ่าน "โทรศัพท์มือถือ" ได้เลย!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แม้ทุกวันนี้ผู้คนจำนวนมากจะหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น แต่ก็ยังมีผู้คนอีกไม่น้อยที่ละเลยการดูแลตนเอง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือที่เรียกว่ากลุ่มโรค NCDs ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้อง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง ซึ่งทางการแพทย์จัดเป็น “กลุ่มโรคเฉพาะด้านที่ยุ่งยากซับซ้อน” ซึ่งหากไม่ปรับการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อการเสียสุขภาพในแต่ละวัน ไม่ตรวจสุขภาพเป็นประจำ ก็มักจะไม่ทราบและไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องทันเวลา จนโรคค่อยๆ ทวีความรุนแรงขึ้น กลายเป็นอาการเรื้อรังและรักษาไม่หายในที่สุด

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจสำคัญในด้านการดูแล โรคเฉพาะด้านที่ยุ่งยากซับซ้อน รวมถึงกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.)  ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่ต้องมีมาตรการเชิงรุกในการดูแลประชาชนตั้งแต่การส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟู เพื่อช่วยลดการเกิดโรค หรือหากเป็นโรคแล้วก็สามารถลดภาวะแทรกซ้อน ลดการพิการ ลดภาระในการดูแลผู้ป่วย และลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาได้ ซึ่งหนึ่งในแนวทางสำคัญ คือ การเพิ่มความรอบรู้ทางสุขภาพให้แก่ประชาชน หรือ Health Literacy 

เนื่องด้วยปัจจุบันกรมการแพทย์ได้มีการนำเทคโนโลยีโทรเวชกรรม (Telemedicine) และระบบติดตามดูแลสุขภาพผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ (Mobile Health; mHealth) มาดูแลผู้ป่วยโรคเฉพาะด้านที่ยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งเป็นการให้คำปรึกษา แนะนำการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค ที่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ให้บริการแก่ประชาชนผ่านโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และจัดการสุขภาพของตัวเองได้ แต่เนื่องจากประชาชนมีพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจมีผลต่อการเข้าถึงและเข้าใจ

กรมการแพทย์จึงได้ดำเนิน “โครงการความเข้าใจบริการโทรเวชกรรม และการพัฒนาสื่อเพิ่มความรอบรู้ทางสุขภาพของประชาชน เรื่องโรคเฉพาะด้านที่ยุ่งยากซับซ้อน ตามภารกิจกรมการแพทย์” ซึ่งเป็นการผลิตสื่อสาธารณะในรูปแบบภาพยนตร์สั้นเพื่อให้ความรู้ทางสุขภาพในเรื่องโรคเฉพาะด้านที่ยุ่งยากซับซ้อนที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ให้แก่ประชาชน ครอบคลุมทั้งการให้บริการด้วยระบบโทรเวชกรรมและการบริการของโรงพยาบาล โดยมีกลุ่มเป้าหมายสำคัญ คือ กลุ่มผู้ป่วย กลุ่มผู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค คนดูแลและคนรอบข้างผู้ป่วย หรือแม้แต่ผู้สนใจดูแลสุขภาพตนเอง เพื่อให้สามารถเข้าถึง เข้าใจ และใช้ความรู้มาดูแลสุขภาพตนเองและคนใกล้ชิดได้ ซึ่งโครงดังกล่าวเป็นการบูรณาการความร่วมมือกันระหว่างกรมการแพทย์ ศูนย์บริการวิชาการ
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้การสนับสนุนด้านเงินทุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.)

นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ ผู้ดูแลโครงการฯ เล่าว่า ดีเอ็มเอส เทเลเมดิซีน (DMS Telemedicine) หรือ โทรเวชกรรม เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในช่วงโควิด 19 แพร่ระบาดอย่างรุนแรง เพื่อใช้ในการติดตามดูแลอาการผู้ป่วยโควิด ลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับโรคเฉพาะด้านที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ ทั้งโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดในสมอง การบำบัดรักษาฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด และโรคด้านเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อมจากฝุ่น PM 2.5 ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัย การรักษา การติดตามอาการ ไปจนถึงการประเมินภาวะสุขภาพเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ลดการพิการ และการเสียชีวิต นอกจากนี้ยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และความยุ่งยากจากการที่ต้องรอคิวรักษาที่โรงพยาบาลเป็นเวลานานๆ อีกด้วย สิ่งสำคัญคือกรมการแพทย์ตั้งใจจะให้บริการโทรเวชกรรมนี้เข้าถึงประชาชนและได้ใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย จึงได้วางแผนจัดทำโครงการเพื่อสื่อสารกับสาธารณะให้รับรู้ เข้าใจ และใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น

ด้านรองศาสตราจารย์ ดร.พนม คลี่ฉายา ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิจัยโครงการ เล่าแนวคิดในการจัดทำภาพยนตร์ว่ายึดหลักการสำคัญ 3 ข้อ คือ

  1. ต้องช่วย “แก้ปัญหา” (Solution) ให้กับผู้ชมให้ได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยจากโรคยุ่งยากซับซ้อน หรือเป็นโซลูชันที่ช่วยลดความเสี่ยงของคนที่ยังไม่เป็นโรค และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และเพื่อให้การจัดทำภาพยนตร์มีเนื้อหาที่ตอบโจทย์ เข้าใจปัญหา เข้าใจความต้องการของผู้ป่วยมากที่สุด จึงเริ่มจากทำวิจัยก่อนโดยได้มีการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-sight) กลุ่มตัวอย่าง ทั้งผู้ป่วย ผู้ที่มีความเสี่ยง คนดูแล แพทย์ พยาบาล เพื่อหา Paint Point หาความต้องการ และพื้นฐานความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคยุ่งยากซับซ้อนและเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการรักษา พร้อมทั้งสำรวจ (survey) สถานการณ์การใช้เทคโนโลยีด้านสุขภาพโทรเวชกรรมในภาพรวมทั่วประเทศ เพื่อนำข้อมูลมาเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ภาพยนตร์สั้น 
  2. ต้องมีเสน่ห์ น่าติดตามชม (Aesthetic) สร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration) และกระตุ้นให้ปฏิบัติ (Call for Action) ด้วยการแปลงเนื้อหาความรู้ทางการแพทย์ให้เข้าใจง่าย สอดคล้องกับความต้องการ ตรงกลุ่มเป้าหมาย มีเสน่ห์ น่าติดตาม สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ชม และจบเรื่องด้วยการกระตุ้นให้ “ทำทันที” ด้วยการให้ข้อมูลการเข้าถึงบริการโทรเวชกรรม
  3. ต้อง “ถูกต้อง” (Validity) ตามหลักการแพทย์ โดยจะมีการตรวจสอบทั้งเรื่องราว บทบรรยาย ภาพ เสียง เทคนิค การตัดต่อ จากแพทย์ที่ปรึกษาโครงการ และต้องผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ก่อนการเผยแพร่ โดยได้มีการนำข้อมูลจากงานวิจัยมาพัฒนาเป็นภาพยนตร์

อัลบั้มภาพ 8 ภาพ

อัลบั้มภาพ 8 ภาพ ของ รู้หรือไม่ ป่วยเป็นโรคเหล่านี้ พบหมอผ่าน "โทรศัพท์มือถือ" ได้เลย!

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook