"คริสต์มาส" คืออะไร สรุปวันที่ 24 หรือ 25 ธันวาคม พระเยซูประสูติเมื่อไหร่กันแน่?
คริสต์มาสเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 24 ธันวาคม หรือ 25 ธันวาคม ล้วนเป็นคำถามที่หลายๆ คนค้นหาทุกปีที่วนกลับมาถึงอีกครั้ง
วันคริสต์มาสเป็นวันที่ระลึกถึงพระเยซูลงมาประสูติบนโลก พระผู้ช่วยให้รอดตามความเชื่อของชาวคริสต์ ปัจจุบันคริสต์มาสไม่ได้เป็นเพียงวันเฉลิมฉลองของชาวคริสต์เท่านั้น แต่ยังได้รับการเฉลิมฉลอจากผู้ที่นับถือศาสนาอื่นๆ อีกด้วย
วันคริสต์มาสปี 2024 คือวันไหน?
บรรยากาศคริสต์มาสเริ่มปรากฏให้เห็นบนท้องถนนตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม เมื่อถนนสายหลัก ศูนย์การค้า และโบสถ์ต่างๆ ได้รับการตกแต่งอย่างวิจิตรงดงามด้วยแสงไฟระยิบระยับ ต้นคริสต์มาส และ ภาพตลกของ ซานตาคลอส แต่เมื่อถามว่าวันคริสต์มาสคือวันที่เท่าไหร่? ทุกคนต่างตอบด้วยความคุ้นเคยว่าคือวันที่ 25 ธันวาคม แต่วันที่คนส่วนใหญ่แห่กันไปตามถนนหรือไปโบสถ์เพื่อชื่นชมบรรยากาศคริสต์มาสกลับเป็นวันที่ 24 ธันวาคม หลายคนจึงรู้สึกสับสนและไม่เข้าใจว่าสองวันนี้คือวันไหนกันแน่
ปรากฏว่าคริสต์มาสมีการเฉลิมฉลองอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 ธันวาคม แต่ผู้คนมักจะเฉลิมฉลองคริสต์มาสตั้งแต่ตอนเย็นของวันที่ 24 ธันวาคม เพราะตามปฏิทินของชาวยิว การเริ่มต้นวันใหม่คือเวลาพระอาทิตย์ตก ไม่ใช่เที่ยงคืน และในโลกตะวันตก คริสต์มาสไม่ใช่วันหยุดเดียว แต่มักเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลวันหยุดยาวซึ่งเชื่อมโยงกับปีใหม่ เวลาพักร้อนก็เพียงพอแล้วสำหรับครอบครัวและกลุ่มเพื่อนในการจัดกิจกรรมสนุกๆ ปาร์ตี้ ปิกนิก และทริปไกลบ้าน
การเฉลิมฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 ธันวาคมเรียกว่า "งานเลี้ยงวันหลัก" ในขณะที่การเฉลิมฉลองตอนกลางคืนในวันที่ 24 ธันวาคมเรียกว่า "งานเลี้ยงคืนตื่นเฝ้า" ซึ่งมักจะดึงดูดผู้เข้าร่วมได้จำนวนมาก ในคืนนี้อาสนวิหารหรือครัวเรือนที่นับถือศาสนาคริสต์ มักมีการประดับตกแต่งด้วยถ้ำที่ภายในมีรางหญ้า รูปปั้นพระเยซูกุมาร รูปปั้นของพระแม่มารี นักบุญยอแซฟ ที่รายล้อมไปด้วยผู้คนฝูงสัตว์
ดังนั้นคริสต์มาสปี 2024 จะเริ่มตั้งแต่เย็นวันอังคารที่ 24 ธันวาคม ยาวไปจนมีการเฉลิมฉลองอย่างเป็นทางการในวันพุธที่ 25 ธันวาคม นั่นเอง แม้ว่าทั่วโลกจะเฉลิมฉลองวันประสูติวันเดียวกันของพระเยซู แต่คริสต์มาสในประเทศต่างๆ ก็มีลักษณะเฉพาะของตัวเองเนื่องจากความแตกต่างในด้านประเพณี การปฏิบัติ และลักษณะทางวัฒนธรรม
ต้นกำเนิดของคริสต์มาส
ตามความเชื่อของชาวคริสต์ พระเยซูประสูติที่เมืองเบธเลเฮม ในแคว้นยูเดียของชาวยิว (ปัจจุบันเป็นเมืองในปาเลสไตน์) ในช่วงระหว่าง 7 ปีก่อนคริสตกาล ถึง 2 ปีก่อนคริสตกาล ขณะนั้นแคว้นยูเดียอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมัน
เรื่องราวการประสูติของพระเยซูอธิบายไว้ในพันธสัญญาใหม่ดังนี้ ในเมืองนาซาเร็ธ "มารี" หญิงพรหมจารี ได้หมั้นหมายกับช่างไม้ชื่อ "โยเซฟ" ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์ดาวิด วันหนึ่งทูตสวรรค์กาเบรียลปรากฏตัวต่อหน้าพระนางมารีย์ ประกาศว่า
“ดูเถิด เธอจะตั้งครรภ์และคลอดบุตรชาย จงตั้งชื่อบุตรนั้นว่าเยซู “บุตรนั้นจะเป็นใหญ่ และจะได้ชื่อว่าเป็นบุตรของพระเจ้าสูงสุด องค์พระผู้เป็นเจ้าผู้เป็นพระเจ้าจะประทานบัลลังก์ของดาวิดบรรพบุรุษของท่านให้แก่ท่าน และท่านจะครอบครองพงศ์พันธุ์ของยาโคบสืบไปเป็นนิตย์ และแผ่นดินของท่านจะไม่มีวันสิ้นสุดเลย” (ลูกา 1:30–33)
พระนางมารีย์เล่าทุกอย่างให้โยเซฟฟัง และเธอก็ตั้งครรภ์ทั้งๆ ที่ยังบริสุทธิ์อยู่ ขณะที่โยเซฟกำลังสงสัยในเรื่องนี้ ทูตสวรรค์ขององค์พระผู้เป็นเจ้าก็มาปรากฏตัวในความฝันของเขา เพื่อประกาศพระคุณของพระเจ้าด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นเขาจึงแต่งงานกับมารีย์โดยไม่กังวลอีกต่อไป
“โยเซฟบุตรดาวิด อย่ากลัวที่จะรับมารีย์มาเป็นภรรยาของเจ้าเลย. เพราะว่าผู้ซึ่งปฏิสนธิในครรภ์ของเธอเป็นโดยเดชพระวิญญาณบริสุทธิ์” (มัทธิว1:20)
วันหนึ่ง ทั้งคู่เดินทางไปที่เมืองเบธเลเฮม ในแคว้นยูเดีย ระยะทางเดินทางราว 105 กิโลเมตร เพื่อจดทะเบียนสำมะโนครัว ตามคำสั่งของจักรพรรดิโรมันออกัสตัส อย่างไรก็ดี เมื่อเดินทางไปถึงห้องพักต่างๆ ถูกเข้าพักเต็มหมดแล้ว โยเซฟจึงต้องพาภรรยาไปพักในถ้ำเลี้ยงสัตว์ และตอนเที่ยงคืนนั้นเองที่มารีย์ให้กำเนิดบุตรชายที่นี่ โยเซฟพบรางไม้สำหรับใส่อาหารสัตว์ เขาทำความสะอาดอย่างทั่วถึงและปูด้วยหญ้าแห้ง เพื่อทำเปลสำหรับลูกที่เพิ่งเกิด
คืนนั้น คนเลี้ยงแกะกำลังเฝ้าฝูงแก่ตามท้องทุ่งใกล้เบธเลเฮม ทันใดนั้น มีแสงสว่างเจิดจ้ากระจายไปทั่วท้องฟ้า ทูตสวรรค์องค์หนึ่งปรากฏแจ้งข่าวดีแก่พวกเขาว่า “อย่ากลัวเลย เพราะเรานำข่าวดีมายังพวกท่าน เป็นความยินดีอย่างยิ่ง เพราะว่าในวันนี้พระผู้ช่วยให้รอดของพวกท่านคือพระคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้ามาประสูติ ท่านจะไดพบพระกุมารพันผ้าอ้อมนอนอยู่ในรางหญ้า เมื่อนั้นท่านจะรู้ข่าวนี้เป็นความจริง”
คนเลี้ยงแกะเชื่อฟังตามคำกล่าวของทูตสวรรค์ พวกเขาออกเดินทางและพบพระกุมารเยซูบนรางหญ้าในถ้ำเลี้ยงสัตว์ เล่าทุกอย่างที่ได้เห็นในทุ่งให้มารีย์และโยเซฟฟัง แม้หลังจากพวกเขาจากออกมาแล้ว แต่หัวใจของพวกเขายังคงตื่นเต้นกับข่าวดีนี้ ต่างก็เล่าถึงสิ่งที่พวกเขาเห็นในคืนนั้น ให้กับทุกคนที่พวกเขาพบ
แม้ว่าไม่ทราบแน่ชัดถึงวันประสูติของพระเยซู แต่คริสตจักรในช่วงต้นศตวรรษที่ 4 ได้กำหนดให้เป็นวันที่ 25 ธันวาคม ซึ่งสอดคล้องกับครีษมายันในปฏิทินโรมัน
ความหมายของชื่อคริสต์มาสและโนเอล
Christmas มาจากคำว่า คริสต์ (Christ) หมายถึงพระคริสต์ และ -มาส (-mas) เป็นคำที่มาจากภาษาละติน หมายถึงมิสซา เมื่อเขียนรวมกันแล้วจะกลายเป็นคำว่าคริสต์มาส หมายถึงงานฉลองของพระคริสต์ ซึ่งก็คือการประสูติของพระเยซู
คำว่า Christmas และ Xmas ต่างก็มีความหมายเหมือนกัน เพราะคำภาษากรีกสำหรับพระคริสต์คือ Xpiôtos หรือ Xristos ผู้คนใช้พยัญชนะ X เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของตัวอักษรตั้งต้น จากนั้นเติมตัวอักษร Mas กลายเป็นคำว่าสร้างคำว่า Xmas ดังนั้นคริสต์มาสจึงหมายถึงงานฉลองของพระคริสต์ด้วย
Noel มาจากคำภาษาฝรั่งเศส Noël ซึ่งคำรูปแบบดั้งเดิมคือ Naël มาจากภาษาลาติน nātālis แปลว่า "วันเกิด" มีความเห็นว่าชื่อโนเอลมาจากชื่อ Emmanuel (เอ็มมานูเอล) ซึ่งเป็นภาษาฮีบรู แปลว่า "พระเจ้าสถิตกับเรา"
- ทำไม "คริสต์มาส" ต้องสีแดงกับสีเขียว และความเชื่อเรื่องจูบใต้ต้นมิสเซิลโท
- คริสต์มาสแบบเยอรมันๆ ธรรมเนียมปฏิทินจุติ และการโค่นสนฉลองแบบ One-Night-Stand
- คริสต์มาส คือวันที่ 24 หรือ 25 ธันวาคม พระเยซูประสูติวันไหนกันแน่?