เริ่มแล้ว! "เศรษฐา" แถลง พ.ร.บ.งบฯ วงเงิน 3.48 ล้านล้าน สส.ลงชื่อเข้าฟังทะลุ 400 คน

เริ่มแล้ว! "เศรษฐา" แถลง พ.ร.บ.งบฯ วงเงิน 3.48 ล้านล้าน สส.ลงชื่อเข้าฟังทะลุ 400 คน

เริ่มแล้ว! "เศรษฐา" แถลง พ.ร.บ.งบฯ วงเงิน 3.48 ล้านล้าน สส.ลงชื่อเข้าฟังทะลุ 400 คน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เริ่มแล้ว! นายกฯ แถลงสรุปเอกสาร พรบ.งบประมาณ 2567 ต่อสภา 45 หน้า เกือบ 2 ชม. ย้ำจัดสรรเหมาะสม จัดเก็บรายได้ได้เพิ่มขึ้น

การประชุมสภาฯ เพื่อเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท วาระแรก เป็นวันแรกได้เริ่มขึ้น โดยมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ เป็นประธานการประชุม โดยก่อนเริ่มพิจารณา ตัวแทนวิปรัฐบาลและวิปฝ่ายค้าน ยืนยันจะทำงานเพื่อให้การประชุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ คือ 43 ชั่วโมง ฝ่ายค้าน จำนวน 20 ชั่วโมง, ฝ่ายรัฐบาลและคณะรัฐมนตรี (ครม.) จำนวน 20 ชั่วโมงและประธานในที่ประชุม 3 ชั่วโมง

สำหรับบรรยากาศก่อนเริ่มประชุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และ รมว.คลัง สวมสูทผูกเนกไทสีเหลือง นำทีมรัฐมนตรีเข้าประจำที่ในห้องประชุมสภาฯ อย่างพร้อมเพรียง เช่นเดียวกับ สส.รัฐบาล และ สส.ฝ่ายค้าน ที่พบว่ามาลงชื่อเพื่อร่วมประชุมกว่า 400 คน จากจำนวน สส.ที่มีทั้งสิ้น 499 คน

จากนั้นนายกรัฐมนตรี ได้แถลงสรุปร่างงบประมาณรายจ่ายปี พ.ศ. 2567 ต่อสภาฯ โดยใช้เวลาในการอ่านเอกสารจำนวน 45 หน้า ประมาณ 1.45 ชั่วโมง โดยระบุ มีงบประมาณรายจ่าย 3,480,000 ล้านบาท โดยมีที่มาจากรายได้ที่คาดว่าจะจัดเก็บได้ 2,787,000 ล้านบาท และเป็นการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 693,000 ล้านบาท

แม้ว่างบประมาณรายจ่ายปีนี้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่รัฐบาลจะสามารถจัดเก็บรายได้ ได้มากขึ้นกว่าร้อยละ 11.9 ทำให้สามารถจัดสรรงบไปลงทุนได้กว่า 717,722.2 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 4.1 และสามารถชดใช้เงินคงคลังและชำระคืนต้นเงินกู้ได้กว่า 118,361.1 ล้านบาทอีกด้วย ซึ่งจะทำเป็นการเตรียมพร้อมทำให้รัฐบาลมีกรอบในการลงทุนในระยะกลางและยาวมากขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ.2568 อีกด้วย

โดยการบริหารงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นในการดำเนินนโยบายทั้งในระยะสั้นไปจนถึงระยะยาว โดยรัฐบาลจะดำเนินการให้เป็นไปตามกรอบวินัยการเงินการคลังของรัฐ ใช้จ่ายเงินภาษีของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีเป้าหมายที่จะบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ลงทุนเพื่อสร้างการเจริญเติบโตของประเทศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และเป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งมั่นใจว่าจะสามารถฟื้นเศรษฐกิจประเทศได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook