กรี๊ด! แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทฉลุย! กฤษฎีกาเคาะ พ.ร.บ.กู้ 5 แสนล้านไม่ขัดกฎหมาย

กรี๊ด! แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทฉลุย! กฤษฎีกาเคาะ พ.ร.บ.กู้ 5 แสนล้านไม่ขัดกฎหมาย

กรี๊ด! แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทฉลุย! กฤษฎีกาเคาะ พ.ร.บ.กู้ 5 แสนล้านไม่ขัดกฎหมาย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต มาแน่! คณะกรรมการกฤษฎีกา ไฟเขียว พ.ร.บ.กู้ 5 แสนล้าน ไม่ขัดกฎหมายการเงิน

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง เปิดเผยว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ตอบข้อถามของกระทรวงการคลัง โดยยืนยันว่า สามารถออก พ.ร.บ.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท เพื่อใช้ในโครงการ ดิจิทัลวอลเล็ต ได้ โดยเป็นไปตามอำนาจของคณะรัฐมนตรี และคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน ดิจิทัลวอลเล็ต ที่จะออกกฎหมายกู้เงินดังกล่าวมาใช้ในโครงการ

อย่างไรก็ดี คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ตั้งข้อสังเกตในบางประเด็นเช่น การออกกฎหมายกู้เงิน จะต้องเป็นไปตามพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง มาตรา 53 และ มาตรา 57 รวมทั้งจะต้องรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้าน ซึ่งประเด็นนี้ได้มีการพูดคุยกันในเบื้องต้นแล้ว แต่ยังไม่มีข้อสรุปใด ๆ

นายจุลพันธ์ กล่าวว่า คาดว่าในสัปดาห์หน้า จะมีการเรียกประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน ดิจิทัลวอลเล็ต ที่มีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เป็นประธาน เพื่อพิจารณาข้อหารือในประเด็นกฎหมายดังกล่าว พร้อมกันนี้ จะมีตัวแทนเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ร่วมเป็นคณะกรรมการ มาพิจารณาตรวจข้อกฎหมาย สรุปข้อประชุม และความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาว่ามีข้อสังเกตและแนวทางการดำเนินการอย่างไร 

"เมื่อมีการหารือในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายแล้ว จะสรุปความชัดเจนว่าจะดำเนินการเรื่องนี้อย่างไรต่อไป ในส่วนของร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน กระทรวงการคลัง ได้ยกร่างบางส่วนแล้วในเบื้องต้น เรื่องนี้ดำเนินการไม่ช้า"

ส่วนประเด็นที่มีข้อเห็นที่ขัดแย้งกันว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะวิกฤตหรือไม่นั้น นายจุลพันธ์ กล่าวว่า กฤษฎีกาพิจารณาเพียงว่า ขัดต่อ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังหรือไม่ และ ข้อสังเกตว่าต้องเป็นโครงการที่ดำเนินการในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะวิกฤตจนไม่สามารถตั้งงบประมาณปกติมาดำเนินการได้ รวมทั้งความคุ้มค่าของโครงการ ต้องมีการประเมินผลก่อนและหลัง และรับฟังความคิดเห็นให้รอบด้าน

ตรงนี้อาจจะต้องมาดูว่าทำกลไกอย่างไร เพื่อให้ได้รับฟังความคิดเห็นจากประชาชน หรือส่วนงานใด ๆ เพิ่มเติมหรือไม่ เป็นสิ่งที่คณะกรรมการชุดใหญ่ต้องพิจารณาต่อ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook