ครั้งแรกของโลก! นักวิทย์ฯ ศึกษา "สมองคนอินเลิฟ" จัดวาง "คนรัก" ไว้ตรงไหน

ครั้งแรกของโลก! นักวิทย์ฯ ศึกษา "สมองคนอินเลิฟ" จัดวาง "คนรัก" ไว้ตรงไหน

ครั้งแรกของโลก! นักวิทย์ฯ ศึกษา "สมองคนอินเลิฟ" จัดวาง "คนรัก" ไว้ตรงไหน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นักวิทย์ออสเตรเลีย สำรวจสมองคนอินเลิฟ หวังเข้าใจ "ความรัก" เพิ่มขึ้น ชาย-หญิงโรแมนติกต่างกันอย่างไร?

คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย มหาวิทยาลัยแคนเบอร์รา และมหาวิทยาลัยเซาธ์ออสเตรเลีย เผยแพร่ผลการศึกษาฉบับแรกของโลก ซึ่งวัดว่าสมองของมนุษย์จัดวางคนที่รักไว้ที่ศูนย์กลางของความสนใจอย่างไร ผ่านการสำรวจความเชื่อมโยงระหว่างระบบพฤติกรรม (BAS) ของสมองกับความรัก

ทีมนักวิจัยได้สำรวจคนหนุ่มสาวที่บอกว่า “กำลังมีความรัก” จำนวน 1,556 คน โดยเฝ้าสังเกตปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่มีต่อคนรัก พฤติกรรมรอบตัว และการจัดวางคนที่รักเหนือคนอื่นๆ เพื่อพยายามทำความเข้าใจกระบวนการของการตกหลุมรักได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งพบสมองของคนที่มีความรักมีปฏิกิริยาแตกต่างออกไป และจัดวางคนที่รักไว้ศูนย์กลางของความสนใจ

"ฟิล คาวานาห์" ผู้มีส่วนร่วมในการศึกษานี้จากมหาวิทยาลัยแคนเบอร์รา และมหาวิทยาลัยเซาท์ออสเตรเลีย กล่าวว่า การค้นพบใหม่บ่งชี้ว่าความรักโรแมนติกเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมและอารมณ์ โดยฮอร์โมนออกซิโตซิน (oxytocin) มีบทบาทในความรัก มันหมุนเวียนทั่วระบบประสาท และกระแสเลือดยามที่คนเราได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนที่รักชอบ

อย่างไรก็ดี คาวานาห์เผยว่าวิธีการที่สมองจัดวางให้คนที่เรารักมีความสำคัญพิเศษนั้นเกี่ยวพันกับการที่ฮอร์โมนออกซิโตซินผสมกับฮอร์โมนโดปามีน ซึ่งเป็นสารเคมีที่สมองปลดปล่อยระหว่างมีความรักโรแมนติก โดยความรักนั้นนำทางให้สมองเชื่อมโยงกับความรู้สึกเชิงบวกอย่างเป็นธรรมชาติ ก่อนหน้านี้ฮอร์โมนออกซิโตซินที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเคยถูกระบุให้เป็นฮอร์โมนที่สร้างความรู้สึกอิ่มเอมใจยามตกหลุมรัก

"อดัม โบดี" นักเขียนนำของการศึกษานี้จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย กล่าวว่า มีสมมติฐานว่าความรักโรแมนติกเกิดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ 5 ล้านปีก่อน แต่เรากลับเข้าใจวิวัฒนาการของมันน้อยมาก ซึ่งทีมนักวิจัยจะเดินหน้าตรวจสอบความแตกต่างระหว่างผู้ชายและผู้หญิงในการมีความรัก และทำการสำรวจระดับโลกเพื่อบ่งชี้ประเภทต่างๆ ของการเป็นคู่รักโรแมนติก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook