นักวิชาการเผย 3 เหตุผล ที่ข่าวพบแร่ "ลิเธียม" ในไทย เป็นแค่การ "แหกตาประชาชน"

นักวิชาการเผย 3 เหตุผล ที่ข่าวพบแร่ "ลิเธียม" ในไทย เป็นแค่การ "แหกตาประชาชน"

นักวิชาการเผย 3 เหตุผล ที่ข่าวพบแร่ "ลิเธียม" ในไทย เป็นแค่การ "แหกตาประชาชน"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากกรณี นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ ที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้เร่งสำรวจจนพบแหล่งแร่ลิเธียมที่มีศักยภาพ 2 แหล่ง ได้แก่ แหล่งเรืองเกียรติ และแหล่งบางอีตุ้ม จ.พังงา ล่าสุด ไทยยังค้นพบแหล่งแร่โซเดียมในพื้นที่ภาคอีสาน ปริมาณสำรองอีกจำนวนมาก ซึ่งแร่ทั้ง 2 ชนิดนี้ถือเป็นแร่หลัก หรือวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) 100% เสริมศักยภาพความพร้อมของไทยในการเดินหน้าสู่การเป็นศูนย์กลางและฐานการผลิตแบตเตอรี่ EV ในภูมิภาค

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากปีก่อนหน้าที่เป็นข่าวใหญ่ว่า อินเดียค้นพบแร่ลิเธียม และกลายเป็นผู้เล่นหลักในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ และ EV นั้น ตอนนี้ไทยมีลุ้นเช่นกัน ซึ่งจากข้อมูลของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ระบุว่า ไทยสำรวจพบ (Resources) แร่ลิเธียมกว่า 14,800,000 ล้านตัน (Million Tonne: Mt) ส่งผลให้ไทยเป็นประเทศที่ค้นพบแร่ดังกล่าวมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากโบลิเวีย และอาร์เจนตินา

การค้นพบแร่ศักยภาพลิเธียม-โซเดียมนี้ถือเป็นทั้งข่าวดี และเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ทำให้ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ครอบครองแร่ลิเธียมมากที่สุดของโลกแห่งหนึ่ง ช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ ดึงดูดนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติที่มีศักยภาพเข้ามาตั้งโรงงาน ท่ามกลางการแข่งขันของนานาประเทศ เพื่อให้ไทยมุ่งสู่การเป็นฐานผลิตหลักของภูมิภาค ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่า ความต้องการลิเธียมทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าภายในปี พ.ศ.2568 และจะต้องการมากกว่า 2 ล้านตัน ภายในปี พ.ศ.2573

“จากการเติบโตของตลาดอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า การค้นพบแร่ 2 ชนิดที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแบตเตอรี่ EV จะทำให้ไทยลดการนำเข้าและพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น ซึ่งด้วยนโยบายของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และการค้นพบนี้จะทำให้ไทยกลายเป็นหมุดหมายที่สำคัญยิ่งในแผนที่โลกในการก้าวขึ้นสู่การเป็นศูนย์กลางและฐานการผลิตแบตเตอรี่ EV” นางรัดเกล้า กล่าว

แต่ล่าสุด อาจารย์ลอย ชุนพงษ์ทอง นักคณิตศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญดาราศาสตร์คำนวณ และยูทูบเบอร์ ผู้ก่อตั้ง Loy Academy ได้ออกมาโพสต์ถึงเรื่องดังกล่าวว่า 

หยุดแหกตา โกหกประชาชน!! เรื่องแหล่งแร่ #ลิเธียม ที่พังงา แร่ Lepidolite ที่ตะกั่วทุ่งมี % Lithium Oxide ราว 0.35-0.45%

1. สินแร่(หิน) Lepidolite 25 ล้านตัน ไม่ใช่ลิเธียมออกไซด์ 25 ล้านตัน ตามที่ตีข่าวใหญ่โต มีลิเธียมออกไซด์ ไม่เกิน 0.45% ของหินชนิดนี้ ที่แหล่งนี้
2. แหล่งเล็กมาก ต่อให้เอา 2 แหล่ง และต่อให้มีหินแร่รวมกัน 25 ล้านตัน ก็คาดว่าขุดหินแร่มาใช้ได้อย่างเก่งแค่ 10 ล้านตัน ถ้าแยกแร่ได้ดีเยี่ยม ก็เหลือลิเธียมออกไซด์ไม่เกิน 3 หมื่นตัน
3. ที่สำคัญสุดคือเกรดห่วย ต่อให้นำสินแร่ขึ้นมาได้ ยกสินแร่ให้ผมฟรี ๆ ผมก็ไม่เอาครับ เพราะเกรดต่ำมาก 0.45% ปรกติเกรดที่คุ้มค่าการลงทุนแต่งแร่ คือ 0.9% ค่าสกัดให้เป็นลิเธียมออกไซด์ ต่อตันอาจแพงกว่าราคานำเข้าเสียอีก ประมาณว่า แหล่งนี้ต้องใช้หินแร่(สินแร่)ถึง 300 ตัน จึงจะสกัดลิเธียมออกไซด์ได้ 1 ตัน

เศร้าใจไม่รู้ใครหลอกคนไทย จนเป็นข่าวใหญ่โตปัญญาอ่อน อีก 3 ปีคนไทยก็ลืม ข่าวขุมทรัพย์โคตรแร่โลกตะลึงนี้ เหมือนขุมทองทหารญี่ปุ่นที่เมืองกาญจน์ หรือเป็นข่าวปั่นหลอกนักลงทุน?

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook