บริษัทย้ายออฟฟิศไปอยู่บนภูเขา พนักงานแห่ลาออก ผ่านไป 4 วันช็อก หรือจะเป็นแผน
บริษัทโฆษณาประกาศย้ายไปออฟฟิศไปอยู่กลางหุบเขา เส้นทางสุดทรหด พนักงานแห่ลาออก 4 วันต่อมาช็อก ตัดสินใจโพสต์แฉ
เว็บไซต์ phunuphapluat รายงานเรื่องราวของบริษัทโฆษณาแห่งหนึ่งซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในเมืองซีอาน มณฑลส่านซี ประเทศจีน ซึ่งได้ย้ายสำนักงานไปยังพื้นที่ชนบทที่เต็มไปด้วยภูเขา และการจราจรไม่สะดวก โดยมีจุดประสงค์เพื่อบังคับให้พนักงานลาออกจากงาน ทำให้เกิดกระแสในหมู่ชาวเน็ต
นายชาง อดีตพนักงานของบริษัทนี้ กล่าวว่า บริษัทแจ้งให้ทุกคนทราบว่าจะย้ายสำนักงานไปยังสถานที่ทำงานแห่งใหม่ในเทือกเขาคินหลิง สถานที่แห่งนี้อยู่ห่างไกลมาก แต่เพียงขาไปใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง มีระบบขนส่งสาธารณะไม่กีอย่าง สำหรับผู้ที่ไม่มีรถยนต์ส่วนตัว
"เพื่อนร่วมงานที่ไม่มีรถยนต์จะต้องนั่งรถบัสเป็นเวลา 3 ชั่วโมง แล้วเดินต่อไปอีก 3 กิโลเมตร ผ่านถนนบนภูเขาเพื่อไปยังสำนักงาน" ฉางกล่าว พร้อมเสริมว่า หากคุณนั่งแท็กซี่จากสถานีรถไฟที่ เพื่อมาออฟฟิศค่าเดินทาง ราคา 60 หยวน (ประมาณ 300 บาท) ซึ่งทางบริษัทไม่สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่ไม่เพียงแต่ห่างไกล แต่ยังขาดสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน ทำให้พนักงานหญิงต้องเดินทางไปยังหมู่บ้านที่ใกล้ที่สุดเพื่อใช้ห้องน้ำสาธารณะ โดยเฉพาะเวลามืด ที่นี่ก็มีสุนัขจรจัดมากมาย แม้ว่าพนักงานจะเรียกร้องอย่างไร แต่บริษัทก็ปฏิเสธที่จะแก้ไขปัญหา
หลังจากการเรียกร้องที่ไม่ประสบผลสำเร็จ พนักงาน 14 ใน 20 คน รวมทั้งฉาง ได้ยื่นเรื่องลาออก อย่างไรก็ตาม เพียง 4 วันต่อมา พวกเขาก็ตกใจเมื่อพบว่าบริษัทได้ย้ายไปที่เมืองซีอาน และกำลังมองหาพนักงานใหม่ จู่ ๆ ทุกคนก็ตระหนักได้ว่าเป้าหมายของเจ้านายคือการอยากให้พวกเขาลาออกจากงาน เพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแรงงาน
เมื่อฉางแชร์เรื่องราวนี้ทางออนไลน์ ข้อมูลก็แพร่กระจายไปทั่วทันที แต่บริษัทเดิมของเขาปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมด และขู่ว่าจะฟ้องร้องฐานหมิ่นประมาทและทำให้ชื่อเสียงของบริษัทเสื่อมเสียชื่อเสียง
ตัวแทนของบริษัทบอกกับสื่อว่า "ค่าเช่าสำนักงานในย่านการค้ากลางสูงมาก เรากำลังปรับปรุงสำนักงานใหม่ จึงย้ายไปอยู่บนภูเขาชั่วคราวเป็นเวลา 1 สัปดาห์"
อย่างไรก็ตาม อดีตพนักงานกล่าวหาว่าบริษัทโกหก โดยได้รับแจ้งว่าสำนักงานแห่งใหม่ในพื้นที่ภูเขาห่างไกลแห่งนี้จะเป็นสำนักงานใหญ่ของบริษัทเป็นเวลานานน่าจะมากกว่า 1 ปี
ขณะที่เสียงของชาวเน็ตชาวจีนส่วนใหญ่ต่างเข้าข้างอดีตพนักงาน โดยกล่าวหาว่าบริษัทหลอกลวงและกระทั่งละเมิดสัญญาจ้างงานด้วย การเปลี่ยนสถานที่ทำงานโดยไม่ได้รับความยินยอมจากพนักงานถือเป็นการละเมิดสัญญา