อ้าว... กพร.แจงวุ่น ร่อนจดหมายเผยข้อมูล "ลิเธียม" ไทยไม่ใช่อันดับ 3 ของโลก

อ้าว... กพร.แจงวุ่น ร่อนจดหมายเผยข้อมูล "ลิเธียม" ไทยไม่ใช่อันดับ 3 ของโลก

อ้าว... กพร.แจงวุ่น ร่อนจดหมายเผยข้อมูล "ลิเธียม" ไทยไม่ใช่อันดับ 3 ของโลก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ออกประกาศชี้แจงข้อมูลเรื่อง ผลการสำรวจแหล่งลิเธียมในประเทศไทย เผยไทยไม่ใช่อันดับ 3 ของโลก

ตามที่ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ได้เผยแพร่ข่าวว่ามีการพบแหล่งลิเทียมในประเทศไทย ซึ่งเป็นแหล่งแร่จากหินแข็งในพื้นที่แหล่งเรืองเกียรติ อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา โดยแหล่งลิเทียมเรืองเกียรติมีปริมาณทางธรณีของทรัพยากรแร่ (Mineral Resource) ประมาณ 14.8 ล้านตัน ที่เกรตลิเทียมออกไซต์เฉลี่ย 0.45% หรือมีปริมาณลิเทียมคาร์บอเนตเทียบเท่า (ICE) ประมาณ 164,500 ตัน หากออกแบบแผนผังการทำเหมืองอย่างเหมาะสมและสามารถนำแร่ขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ร้อยละ 25 คาดว่าจะสามารถนำสิเทียมมาเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตแบตเตอรี่สิเทียมไอออน สำหรับรถยนต์ฟฟ้าขนาต 50 kWh ได้ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคัน นั้น

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ขอชี้แจงว่า คำว่า Mineral Resource มีความหมายถึงปริมาณทางธรณีของทรัพยากรแร่ ซึ่งแตกต่างจากคำว่า Lithium Resource ซึ่งหมายถึงปริมาณทรัพยากรโลหะลิเทียม ดังนั้น การนำข้อมูลปริมาณทางธรณีของทรัพยากรแร่ไปเปรียบเทียบกับปริมาณทรัพยากรโลหะลิเทียมของต่างประเทศ จึงอาจทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าประเทศไทยมีปริมาณแร่ลิเทียมมากเป็นอันตับต้นๆ ของโลกได้

สำหรับชนิดของแร่ที่พบในประเทศไทยในขณะนี้เป็นแร่เลฟิโตไสต์ (lepidolite) ที่พบในหินเพกมาไทต์(pegmatite) และมีความสมบูรณ์ของลิเทียมหรือเกรดลิเทียมออกไชต์เฉลี่ย 0.45% แม้จะมีความสมบูรณ์ไม่สูงมาก แต่ก็ถือว่ามีความสมบูรณ์กว่าแหล่งลิเทียมหลายแห่งทั่วโลก และมีความเป็นไปใด้ที่จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีในการแต่งแร่ที่ความสมบูรณ์ดังกล่าวได้คุ้มค่า อีกทั้งแร่ลิเทียมมีความสัมพันธ์กับแหล่งแร่อื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ดีบุกและธาตุหายากอื่น ซึ่งประเทศไทยเป็นแหล่งดีบุกที่สำคัญในอดีต จึงมีความเป็นไปใด้ที่จะพบแหล่งลิเทียมเพิ่มเติมหากมีการสำรวจในอนาคต

ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีผู้ได้รับอาชญาบัตรพิเศษเพื่อสำรวจลิเทียมจำนวน 3 แปลง ในพื้นที่จังหวัดพังงา และมีคำขออาชญาบัตรเพื่อสำรวจลิเทียมในพื้นที่จังหวัดอื่นอีก เช่น จังหวัดราชบุรี และ จังหวัดยะลา โดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่จะเร่งรัดให้เกิดการสำรวจลิเทียมและแร่หายากเพิ่มขึ้น ให้ประเทศไทยมีข้อมูลพื้นฐานสำหรับการทำเหมืองลิเทียม เพื่อรองรับการเป็นฐานการผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ในภูมิภาคต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook