แม่ขู่ฆ่าตัวตาย กดดันลูกแต่งงาน ได้มีสะใภ้สมใจ แต่ยังไม่ทันปั๊มหลานให้ ผัวเมียหย่ากันแล้ว!

แม่ขู่ฆ่าตัวตาย กดดันลูกแต่งงาน ได้มีสะใภ้สมใจ แต่ยังไม่ทันปั๊มหลานให้ ผัวเมียหย่ากันแล้ว!

แม่ขู่ฆ่าตัวตาย กดดันลูกแต่งงาน ได้มีสะใภ้สมใจ แต่ยังไม่ทันปั๊มหลานให้ ผัวเมียหย่ากันแล้ว!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แม่สุดโต่ง! ขู่ฆ่าตัวตาย กดดันลูกชายให้แต่งงาน ได้เป็นแม่เจ้าบ่าวสมใจ แต่มีสะใภ้แค่ 6 เดือน ฝันสลายไร้หลาน ผัวเมียไร้เซ็กซ์ แถมหย่าชิงกันก่อน

เรื่องราวการแต่งงานของ “เสี่ยวจิน” ชายหนุ่มในมณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน จุดประกายให้เกิดการอภิปรายบนโซเชียลเน็ตเวิร์กเกี่ยวกับการ "คลุมถุงชน" ซึ่งสามีภรรยาเข้ากันไม่ได้ ไม่มีความสัมพันธ์ทางอารมณ์ อีกทั้งระหว่างใช้ชีวิตคู่ยังปฏิเสธที่จะสื่อสารกัน

เสี่ยวจิน เล่าว่า เขาถูกแม่กดดันให้แต่งงานเมื่อเขากำลังจะอายุ 30 แม้ว่าเขาจะไม่มีความรู้สึกในเชิงโรแมนติกกับคู่หมั้นของเขา และยืนยันว่าไม่ต้องการคุยเรื่องการแต่งงาน แต่สุดท้ายก็ยังจำใจต้องเข้าพิธีวิวาห์ หลังจากที่แม่ของเขาข่มขู่ว่าจะ “ฆ่าตัวตาย”

การบังคับขู่เข็ญสุดโต่งของผู้เป็นแม่นั้น ได้ส่งผลย้อนกลับทันที ชีวิตคู่ของลูกชายและภรรยาขัดแย้งกันตั้งแต่วันแรกที่อยู่ด้วยกัน พวกเขาโต้เถียงกันว่าใครควรทำงานบ้าน และความขัดแย้งก็รุนแรงขึ้นเมื่อทั้งคู่ปฏิเสธที่จะมีเพศสัมพันธ์กัน กระทั่งชีวิตคู่สิ้นสุดลงหลังจากสวมแหวนแต่งงานได้เพียง 6 เดือน 

เรื่องนี้ดึงดูดความสนใจของสาธารณชน คนหนุ่มสาวจำนวนมากต่างแสดงความเห็นอกเห็นใจ เพราะพวกเขาเองก็ยังต้องทนทุกข์ทรมาน จากการที่ไม่สามารถใช้ชีวิตตามทางเลือกของตนเองได้ เพราะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของครอบครัว คอมเมนต์บางส่วนระบายว่า

“คุณแม่ควรไปพบนักบำบัด เพราะบางทีหลังจากนี้เธออาจจะตำหนิอดีตภรรยาลูกชาย และกดดันให้เขาแต่งงานใหม่อีกครั้ง”

"แม่ของฉันเคยร้องไห้และบอกว่าเธอไม่อยากมีชีวิตอยู่ถ้าฉันไม่ได้แต่งงาน"

"นี่คือความกดดัน การแต่งงานแบบจีน ความรักไม่ใช่ปัญหา แค่แต่งงานกัน ความสุขไม่ใช่ปัญหา แค่แต่งงานกัน"

"พ่อแม่หลายคนบังคับให้ลูกแต่งงานเพียงเพื่อสนองความปรารถนาของตนเอง โดยไม่ใส่ใจความรู้สึกและความสุขของลูกเลย พวกเขามักอ้างว่าทำเพื่อลูกๆ แต่ในความเป็นจริงมันเป็นความเห็นแก่ตัว"

แนวโน้มของการบังคับแต่งงาน และจำนวนคู่รักคลุมถุงชนที่เพิ่มขึ้น เป็นปัญหาทางสังคมที่สำคัญของจีน จำนวนการแต่งงานใหม่ในประเทศลดลงอย่างมาก จากคู่รักประมาณ 13.5 ล้านคู่ ที่แต่งงานในปี 2556 เหลือเพียง 6.8 ล้านคู่ ในปี 2565

พ่อแม่จำนวนมากได้รับอิทธิพลจากมุมมองแบบดั้งเดิมและความคาดหวังทางสังคม ดังนั้นพวกเขาจึงกดดันให้ลูกแต่งงานเพื่อหลีกเลี่ยง "การเสียหน้า" หรือเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาการแต่งงานในอนาคต สิ่งนี้มักจะทำให้สถานการณ์แย่ลง ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่คาดเดาไม่ได้มากมาย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook