"ใบ สด.43" คืออะไร สำคัญกับชายไทยมากแค่ไหน จำเป็นต้องพิมพ์ลายนิ้วมือหรือไม่

"ใบ สด.43" คืออะไร สำคัญกับชายไทยมากแค่ไหน จำเป็นต้องพิมพ์ลายนิ้วมือหรือไม่

"ใบ สด.43" คืออะไร สำคัญกับชายไทยมากแค่ไหน จำเป็นต้องพิมพ์ลายนิ้วมือหรือไม่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ยังคงเป็นประเด็นร้อนในโลกออนไลน์อยู่ในตอนนี้ สำหรับเรื่อง “ใบ สด.43” ของ “จิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์” สส.ฉะเชิงเทรา พรรคก้าวไกล หลังถูกร้องเรียนให้มีการตรวจสอบว่า “หนีทหาร” หรือไม่ จนกลายเป็นประเด็นดราม่าใหญ่โตที่เจ้าตัวและกองทัพต้องออกมาแถลงข่าว ก่อนนำไปสู่การขุดคุ้ยและวิพากษ์วิจารณ์ของชาวเน็ตจนติดเทรนด์ X (เอ็กซ์)  

แล้ว “ใบ สด.43” ที่กำลังเป็นที่สนใจของคนในสังคมนี้คืออะไร สำคัญกับชายไทยมากแค่ไหน แล้วทำไมต้องพิมพ์ลายนิ้วมือ Sanook รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับใบ สด.43 มาฝากทุกคน

“ใบ สด.43” คืออะไร

ใบ สด.43 คือใบรับรองผลการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ หรือ “ใบผ่านทหารเกณฑ์” ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่ “กองทัพบก” ออกให้กับชายไทยทุกคนที่มีอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์​ เพื่อแสดงผลการตรวจเลือกทหารกองเกินว่าได้รับการผ่อนผัน ไม่ต้องรับราชการทหาร หรือจับใบดำหรือใบแดง

ข้อมูลสำคัญที่จะปรากฏอยู่ในใบ สด.43 ประกอบด้วย

  • ชื่อ - นามสกุล
  • เลขประจำตัวประชาชน
  • วันเดือนปีเกิด
  • ผลการตรวจเลือก (ส่วนนี้ทหารจะเป็นคนเขียนว่า ผ่อนผัน/ ไม่ต้องรับราชการ/ จับสลากได้ใบดำหรือใบแดง)
  • สถานที่ตรวจเลือก
  • วันที่ออกใบรับรอง
  • ช่องพิมพ์ลายนิ้วมือ
  • ลายเซ็นประธานกรรมการและกรรมการ

ทั้งนี้ ใบ สด.43 จะประกอบด้วยใบ 3 ท่อน ได้แก่ 

  • ท่อนที่ 1 เก็บไว้ที่สำนักงานสัสดีจังหวัด
  • ท่อนที่ 2 เก็บไว้ที่กองทัพภาค ภูมินำเนาทหาร
  • ท่อนที่ 3 เก็บไว้กับเจ้าตัว

ใบ สด.43 คือเอกสารสำคัญ

ใบ สด.43 ถือเป็นหลักฐานสำคัญที่ชายไทยทุกคนต้องใช้ในการยืนยันว่าตนได้แสดงตัวเพื่อรับการตรวจเลือกทหารแล้ว หรือผ่านการเกณฑ์ทหารมาแล้ว ไม่มีภาระติดพัน ซึ่งในการสมัครงานของหลายบริษัทก็มักจะขอดูประกอบ รวมไปถึงการใช้สมัครเรียนต่อ 

ดังนั้น หากใบ สด.43 ชำรุดหรือสูญหาย เว็บไซต์หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน ระบุว่า ต้องแจ้งต่อนายอำเภอภูมิลำเนาทหารภายใน 30 วัน จากนั้นให้ติดต่อยื่นคำขอ สด.43 ฉบับใหม่ ที่หน่วยสัสดีเขต/อำเภอ ที่มีภูมิลำเนาทหาร พร้อมนำเอกสารส่วนตัวฉบับจริง พร้อมสำเนา ไปประกอบการยื่นขอ ดังต่อไปนี้

  • ทำเบียนบ้านฉบับจริง พร้อมสำเนาเอกสาร 2 ฉบับ
  • บัตรประชาชนฉบับจริง พร้อมสำเนาเอกสาร 2 ฉบับ
  • ใบแจ้งความเอกสารหายฉบับจริง พร้อมสำเนาเอกสาร 2 ฉบับ

ทั้งนี้ มีค่าธรรมเนียมในการดำเนินการ 20 บาท โดยต้องดำเนินการในกำหนด 30 วัน นับตั้งแต่ใบ สด.43 ชำรุดหรือสูญหาย กรณีที่เปลี่ยนชื่อ นามสกุล หรือข้อมูลอื่นๆ ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนอำเภอ และสัสดีเขต/อำเภอ เพื่อแก้ไขข้อมูลบนใน สด.43 ให้เป็นฉบับอัปเดตด้วย

ใบ สด.43 ต้องพิมพ์ลายนิ้วมือหรือไม่

พล.ท.ทวีพูล ริมสาคร ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน ระบุว่า ใบ สด.43 ที่ถูกต้อง ต้องมีลายเซ็นกรรมครบทั้ง 5 คน และ “ต้องพิมพ์ลายนิ้วมือ”

อย่างไรก็ตาม อ้างอิงจากสำนักข่าว BBC Thai ที่ได้ตรวจสอบเอกสารคู่มือแนวทางปฏิบัติตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 ประจำปี 2563 ของกองการสัสดี กรมการสรรพกำลังกลาโหม สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พบว่า ตัวอย่างแบบ สด.43 ที่แสดงให้เห็นว่าทหารกองเกินที่ได้รับการรับรองผลการตรวจ สามารถเลือกระหว่างการลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วมือได้ 

ในประเด็นนี้ มีชาวเน็ตได้ออกมาแสดงความคิดเห็น พร้อมโพสต์ภาพใบ สด.43 ของตัวเองจำนวนมาก โดยระบุว่าใบของพวกตนก็ไม่มีการพิมพ์ลายนิ้วมือ บางรายไม่มีทั้งพิมพ์ลายนิ้วมือและลายเซ็น จนกลายเป็นการตั้งคำถามว่าในกรณีของตนนั้นจะถือว่าไม่ผ่านการเกณฑ์ทหารหรือไม่

การเกณฑ์ทหารของชายไทย

ใบ สด.43 ถือเป็นเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเกณฑ์ทหาร ซึ่งเป็นหน้าที่ของชายไทยทุกคนที่เมื่ออายุย่างเข้า 18 ปี (17 ปีบริบูรณ์) ต้องไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน ณ อำเภอท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหารของตัวเอง และเมื่ออายุอย่างเข้า 21 ปี (20 ปีบริบูรณ์) ทหารกองเกินทุกคนต้องไปแสดงตัวเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหารของตัวเอง ภายใน พ.ศ.นั้น

การเกณฑ์ทหาร หรือการตรวจเลือกทหารกองเกินเจ้ารับราชการทหารกองประจำการ จะมีขึ้นในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี แต่ละครั้งจะต้องเข้ารับราชการเป็นทหารเกณฑ์จำนวน 2 ปี แต่มีข้อยกเว้นและผ่อนผันสำหรับผู้ที่เรียนวิชารักษาดินแดน (ร.ด.) หรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับต่างๆ ตาม พ.ร.บ. รับราชการทหารและกฎกระทรวง 

หลักฐานที่ต้องใช้ในการเข้ารับการเกณฑ์ทหาร มีดังต่อไปนี้

  • ใบสำคัญทหารกองเกิน (ใบ สด.9)
  • หมายเรียก (ใบ สด.35)
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • ประกาศนียบัตรหรือหลักฐานทางการศึกษา
  • ใบรับรองแพทย์

ทั้งนี้ หากไม่ไปเกณฑ์ทหารจะมีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook