อดีต ผอ.รร.ปวดท้อง หมอบอกลำไส้ทะลุ สุดท้ายวินิจฉัยผิด ผ่าตัดไปแล้วไม่เจอ

อดีต ผอ.รร.ปวดท้อง หมอบอกลำไส้ทะลุ สุดท้ายวินิจฉัยผิด ผ่าตัดไปแล้วไม่เจอ

อดีต ผอ.รร.ปวดท้อง หมอบอกลำไส้ทะลุ สุดท้ายวินิจฉัยผิด ผ่าตัดไปแล้วไม่เจอ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อดีต ผอ.รร. ปวดท้อง หมอบอกลำไส้ทะลุต้องผ่าตัดด่วน สุดท้ายวินิจฉัยผิด กระทบการรักษาโรคเดิม ทรมานยิ่งกว่าเดิม

วันนี้ (2 ก.พ.67) นายอารีดิง อายุ 41 ปี อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนแห่งหนึ่ง ซึ่งผู้ได้รับผลกระทบจากการรักษาในโรงพยาบาล เล่าว่าตนมีโรคประจำตัว คือ โรคไต ต้องล้างไตทางหน้าท้องแบบทำเองที่บ้าน เมื่อวันที่ 3 ม.ค.67 เวลาประมาณ 21.45 น. นายอารีดิงมีอาการปวดท้อง เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดยะลา เมื่อไปถึงโรงพยาบาล ถูกนำตัวเข้าห้องฉุกเฉิน หมอได้ซักประวัติ ตรวจร่างกาย ส่งไปเอกเรย์ช่องท้อง สักพักเข้ามาบอกว่า คนไข้ลำไส้ทะลุ ต้องผ่าตัดด่วน ตอนนี้รอให้ห้องผ่าตัดว่างก็เข้าได้เลย หลังจากนั้นเวลาประมาณ 01.00 น. ตนถูกนำตัวเข้าห้องผ่าตัดใหญ่

นายอารีดิง เล่าด้วยว่า หลังการผ่าตัดผ่านไป หมอออกแจ้งญาติว่า ผ่าตัดแล้วแต่ไม่เห็นรอยทะลุของลำไส้ ขอเย็บปิดแผลก่อน วันรุ่งขึ้นหมอแจ้งผลการผ่าตัดให้ทราบว่า ไม่เจอรอยลำไส้ทะลุ  ตอนนี้การรักษาโรคไต ด้วยการล้างไตทางหน้าท้องคงต้องยุติลงไปก่อน เนื่องจากแผลผ่าตัดที่หน้าท้องมีขนาดใหญ่ โดยจะเปลี่ยนมาเป็นฟอกเลือดแทน 

นายอารีดิง บอกด้วยว่าผ่านไปประมาณ 3 - 4 วัน สายที่หน้าท้องมีความผิดปกติ หมอจึงนำไปตรวจพบการติดเชื้อ หมอจึงให้ยาฆ่าเชื้อและครั้งนี้นอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล ทั้งหมด 9 วัน หลังจากหมอให้กลับบ้าน ก็ยังมีอาการปวดท้อง หลังจากนั้น 2 วัน ถึงกำหนดนัดตัดไหมแผลผ่าตัด ตนแจ้งหมอว่า ยังคงมีอาการปวดท้อง หมอจึงส่งไป CT สแกน และหมอแจ้งว่า น่าจะมีการติดเชื้อเพิ่มในช่องท้องบริเวณสายหน้าท้องเดิม ต้องทำการผ่าตัดอีกครั้งเพื่อเอาสายออก

"ผ่ารอบนี้ หมอแจ้งว่า จะยังไม่เย็บปิดแผล เพราะในช่องท้องมีการติดเชื้อและมีหนอง ต้องล้างแผลทุกวัน วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ซึ่งเวลาล้างแผลทรมานสุดๆ ผ่านไป 6 วัน ก็ได้เย็บแผล รอบนี้ต้องนอนพักที่โรงพยาบาลอีก 9 วัน

นายอารีดิง บอกด้วยว่า ปกติจะล้างไตทางหน้าท้องแบบทำเองที่บ้าน แล้วมาพบหมอ 3 เดือน/ครั้ง หลังการผ่าตัดต้องเปลี่ยนไปเป็นฟอกเลือด สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง หรือเดือนละ 8-10ครั้ง ได้คิวที่โรงพยาบาลในจังหวัดปัตตานี  เพราะโรงพยาบาลใน จ.ยะลา คิวเต็มหมด ตนต้องเดินทางไปๆ มาๆ ร่างกายก็ไม่แข็งแรง จากการตรวจวินิจฉัยที่ผิดพลาดครั้งนี้ ทำให้ตนและครอบครัวได้รับผลกระทบทั้งร่างกาย จิตใจ และการดำเนินชีวิต หลังการผ่าตัด โรงพยาบาลได้ส่งเจ้าหน้าที่มาเยี่ยม 2 ครั้ง มามอบกระเช้า ก่อนหน้านี้ขอเข้าพบผู้บริหารเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม แต่ถูกกีดกัน อ้างว่าผู้บริหารไม่อยู่บ้าง ติดประชุมบ้าง จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่ได้คำตอบว่า โรงพยาบาลจะช่วยเหลือหรือเยียวยาหรือไม่อย่างไร

นายอารีดิง ย้ำว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยากให้เป็นอุทาหรณ์ และขอเป็นกระบอกเสียง เพื่อไม่ให้เกิดเหตุผิดพลาดซ้ำอีก หลังการผ่าตัดตนต้องเป็นภาระของภรรยาซึ่งต้องลางานมาดูแล ตนมีอาการ 3 วันดี 4 วันไข้ โรงพยาบาลใกล้บ้านที่จะไปขอรับการฟอกเลือดก็ไม่มี คิวเต็มทั้งหมด จึงขอวอนให้ผู้หลักผู้ใหญ่ของโรงพยาบาลและกระทรวงสาธารณสุข ช่วยดูแลคนไข้ด้วย

ความคืบหน้าล่าสุด วันที่ 2 ม.ค.67 นายแพทย์ประภัศร์ ติปยานนท์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลยะลา ชี้แจงกรณีที่เกิดขึ้นว่า คนไข้มารักษาที่โรงพยาบาลด้วยอาการปวดท้อง ประวัติเดิมของคนไข้มีโรคไตวายเรื้อรังอยู่แล้ว คนไข้มีการฟอกไต ด้วยการล้างไตที่หน้าท้อง ซึ่งอาการที่ปวดท้องขึ้นมาในคืนนั้น มีลักษณะก้ำกึ่งโรคลำไส้ทะลุในช่องท้อง คือมีอาการปวดท้อง มีอาการทางหน้าท้อง และมีลมรั่วจากการเอกซเรย์ที่ตรวจพบได้ โดยแพทย์ที่ทำการรักษาในคืนนั้น พิจารณาจากสถานการณ์โดยรวมทั้งหมด คิดว่าการที่ปล่อยให้มีลมรั่วที่ช่องท้อง หากเป็นอาการทะลุจากลำไส้ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตคนไข้ได้ จึงตัดสินใจในการรักษาโดยการผ่าตัด

เมื่อทำการผ่าตัดไปแล้วปรากฏว่ามีการติดเชื้อในช่องท้อง จากตัวน้ำล้างไตในช่องท้องเอง ซึ่งอาการติดเชื้อในช่องท้องตรงนี้ จะแยกกันได้ยากมาก มีลักษณะก้ำกึ่ง ดังนั้นแพทย์ที่ทำการรักษาได้ตัดสินใจในการรักษา เพื่อให้คนไข้ปลอดภัยมากที่สุด กระบวนการผ่าตัด แพทย์ได้นำน้ำที่ติดเชื้อออกมาตรวจ พบว่ามีการติดเชื้อจริง ซึ่งนำออกมาทั้งหมด จากนั้นได้มีการล้างช่องท้องทำความสะอาด ทำการเย็บปิดแผล คนไข้ย้ายจากห้องผ่าตัดได้ อาการคงที่ ในครั้งที่ 1 คนไข้สามารถกลับบ้านได้ และกลับมาที่โรงพยาบาลในครั้งที่ 2 ด้วยอาการติดเชื้อเหมือนเดิม คุณหมอได้ทำการพิจารณา พบว่าสายที่ล้างไตในช่องท้องยังอยู่ และน่าจะเป็นต้นเหตุของการติดเชื้อ จึงทำการผ่าตัดครั้งที่ 2 เพื่อนำสายออก หลังจากนั้นคนไข้อาการดีขึ้นสามารถกลับบ้านได้

กระบวนการหลังจากนั้น เนื่องจากคนไข้เดิมมีการฟอกไตทางช่องท้อง เมื่อนำสายที่ฟอกไตทางช่องท้องออก ในกระบวนการติดเชื้อที่ผ่านมา ทำให้คนไข้ไม่สามารถฟอกไตทางช่องท้องได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้นคุณหมอโรคไตที่ดูแลอยู่ ต้องเปลี่ยนวิธีในการฟอกไต โดยการเปลี่ยนไปใช้การฟอกไตทางเส้นเลือด การทำเส้น ต้องใช้วิธีการทำเส้นชั่วคราวไปก่อน เพราะคนไข้ต้องทำการฟอกไตเร่งด่วน จึงได้ทำเส้นฟอกไตชั่วคราวที่ลำคอ จากนั้นทำการหาสถานที่ในการฟอกไตให้ ซึ่งในช่วงนั้น สถานที่ฟอกไตที่เร็วที่สุด คือ ค่ายอิงคยุทธบริหาร ต.หนองจิก จ.ปัตตานี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook