วันตรุษจีน 2567 "อั่งเปา" กับ "แต๊ะเอีย" ต่างกันอย่างไร จริงๆแล้วไม่เหมือนกัน

วันตรุษจีน 2567 "อั่งเปา" กับ "แต๊ะเอีย" ต่างกันอย่างไร จริงๆแล้วไม่เหมือนกัน

วันตรุษจีน 2567 "อั่งเปา" กับ "แต๊ะเอีย" ต่างกันอย่างไร จริงๆแล้วไม่เหมือนกัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เข้าสู่ช่วง เทศกาลตรุษจีนประจำปี 2567 นี้ ท่ามกลางหมู ไก่ ขึ้นราคา ไหว้เจ้าครั้งนี้คงเหนื่อยขึ้นมานิดหน่อย รวมไปถึงลูกเล็กเด็กแดงที่ซ้อมไหว้รอรับเงินก็คงต้องลดความคาดหวังสักเล็กน้อย เพราะอาม่า อาอี๊อาจจะตะโกนเรียกให้มารับแต๊ะเอีย กับอั่งเปา ด้วยเสียงเบากว่าที่เคย ว่าแต่อั่งเปา และ แต๊ะเอีย ต่างกันยังไง

ความหมายของ "อั่งเปา"

เพื่อความเข้าใจแบบถ่องแท้คงต้องสวมวิญญาณเหล่าซือสอนภาษาจีนแล้วแจกศัพท์อธิบายเพื่อความเข้าใจสักหน่อย โดยคำว่า อั่งเปา นี้ มาจากคำว่า "อั่ง" ที่หมายถึง สีแดง และ "เปา" ที่แปลว่า ซอง ตามรากศัพท์ภาษาแต้จิ๋ว

ซึ่งเมื่อรวมกันแล้ว อั่งเปา เลยมีความหมายว่า ซองสีแดง สาเหตุที่เป็นสีแดงก็เพราะความเชื่อที่มองว่า สีแดง คือสีแห่งโชคและสิริมงคล อั่งเปา จึงกลายเป็นซองสีแดงไว้ใส่เงินเพื่อมอบแก่คนรู้จักที่มีฐานะต่ำกว่าตนเอง นอกจากนี้ในภาษาจีนกลางก็ใช้คำว่า หงเปา ที่คำว่า "หง" แปลว่า สีแดง เช่นเดียวกัน

ความหมายของ "แต๊ะเอีย"

คำว่า แต๊ะเอีย เป็นคำศัพท์จากภาษาแต้จิ๋วเช่นเดียวกัน โดยคำว่า "แต๊ะ" หมายถึง ติดหรือกด ส่วน เอีย มีความหมายว่า "เอว" เมื่อรวมกันเลยแปลว่า กดหรือติดไว้ที่เอว หรือ ของที่พกติดไว้กับเอว และของที่พ่วงติดไว้ที่เอวแน่นอนว่าต้องเป็นของสำคัญที่จะหล่นหายไม่ได้ง่ายๆอย่างเงินนั่นเอง

คำแปลแบบสวยๆของ แต๊ะเอีย เลยหมายถึง การนำเงินผูกไว้กับเอว โดยที่มาต้องย้อนไปในสมัยก่อนครั้งที่ยังไม่มีกระเป๋าตังค์ เหรียญเงินจีนสมัยโบราณจะมีรูอยู่ตรงกลางไว้เพื่อร้อยเชือกผูกเหน็บไว้กับเอว เมื่อถึงเทศกาลตรุษจีน ผู้ใหญ่ที่เอ็นดูเด็กๆก็จะร้อยเงินไว้เพื่อเตรียมไปผูกเอวจนกลายเป็นธรรมเนียมการให้เงินถึงปัจจุบัน

ต่างกันตรงไหน อั่งเปา กับ แต๊ะเอีย

ถึงจุดนี้หลายๆคนก็คงเข้าใจความหมายของ อั่งเปา และ แต๊ะเอีย ว่าเกี่ยวข้องการเรื่องเงินๆทองๆเหมือนกัน โดยความแตกต่างจะอยู่ อั่งเปา เป็นคำนาม หมายถึง ซองใส่เงินสีแดง ส่วน แต๊ะเอีย เป็นคำกริยา หมายถึง การผูกเงินไว้กับเอว

นอกจากนี้คำว่า อั่งเปา จะถูกใช้อย่างแพร่หลายมากกว่าเนื่องจาก อั่งเปา หรือ หงเปา ไม่ได้ให้เฉพาะแค่ในช่วงเทศกาลตรุษจีนเท่านั้น ยังสามารถใช้ในเทศกาลมงคลอื่นอย่างงานแต่งงาน รวมถึงปัจจุบันเหรียญเงินแบบเจาะรูก็แปลสภาพเป็นกระดาษไปหมดแล้ว สมัยนี้จึงมักจะชินหูกับเสียงคนเรียกให้มารับอั่งเปา คงจะมีแต่คนสูงอายุที่มักหลุดคำว่า แต๊ะเอีย ออกมา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook