ร้อนถึงหมอ! ไวรัลเจ้าหัวชักโครก "Skibidi Toilet" ในหมู่วัยรุ่นฟันน้ำนม ผปค.ควรกังวลไหม?

ร้อนถึงหมอ! ไวรัลเจ้าหัวชักโครก "Skibidi Toilet" ในหมู่วัยรุ่นฟันน้ำนม ผปค.ควรกังวลไหม?

ร้อนถึงหมอ! ไวรัลเจ้าหัวชักโครก "Skibidi Toilet" ในหมู่วัยรุ่นฟันน้ำนม ผปค.ควรกังวลไหม?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"Skibidi Toilet" กลายเป็นการ์ตูนที่โด่งดังในกลุ่มเด็กประถมฯ เด็กๆ พูดถึงกันไม่หยุด ร้องเพลงตามวนติดหูทั้งวัน หนักสุดถึงขั้นร้องซื้อตุ๊กตา เรียกได้ว่าฮิตในเบอร์ที่ทำผู้ปกครองหลายคนรู้สึกกังวล เนื่องจากเนื้อหาของเจ้าการ์ตูนที่มีส่วนหัวเป็นมนุษย์ และร่างกายเป็นชักโครกตัวนี้นั้น ไม่เหมาะสมกับเด็กๆ เอาเสียเลย

ล่าสุดทางด้าน นพ.วรวุฒิ เชยประเสริฐ หรือ หมอวิน กุมารแพทย์เจ้าของเพจ "เลี้ยงลูกตามใจหมอ" ก็ได้ออกมาแชร์ประสบการณ์ตรง พร้อมให้ความรู้เกี่ยวกับประเด็น Skibidi Toilet พ่อแม่ต้องกังวลหรือไม่?

โดยคุณหมอวินเล่าว่า โดยส่วนตัวนั้นเคยได้ยินกลุ่มเด็กประถมร้องเพลง “สกิบิดี้ ดัม ๆ ยิบ ๆ สกิบิดี้ ดัม ๆ ยิบ ๆ” จนเกิดความสงสัยจนต้องไปค้นหา และก็อึ้งจนอุทานในใจว่า “การ์ตูนอะไรวะ เนี่ย” และแน่นอนคงไม่ให้ลูกดูการ์ตูนเรื่องนี้แน่ๆ ส่วน YouTube Kids ไม่มีการ์ตูนเรื่องนี้ เพราะไม่เหมาะสมกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 13 ปี

อย่างไรก็ดี หลายบ้านคงประสบปัญหาเช่นเดียวกันคือ ที่บ้านไม่ได้ดูแน่ๆ เพราะผู้ปกครองคอยสอดส่องรายการที่ลูกดูเสมอ แต่สุดท้ายลูกได้ไปดูมาจากนอกบ้าน ซึ่งคุณหมอก็แนะนำว่า "อันนี้ก็ต้องนั่งคุยกันกับลูกดี ๆ สอนกันไปนะฮะ"

คุณหมอยังให้ความรู้ด้วยว่า ทุกสิ่งแวดล้อม และทุกสิ่งที่ลูกเห็น รวมถึงการ์ตูน รายการต่าง ๆ และหน้าจอ ส่งผลต่อ ‘พัฒนาการ’ ทางสมองของเด็กเสมอ ดังนั้น ในปัจจุบันจึงมีการจัดเรตของรายการตามช่วงอายุของผู้ชมนั่นเอง เพราะเด็กยังเป็นวัยที่มีพฤติกรรมเลียนแบบสูง และยังตีความในเชิงซับซ้อนถึงความเหมาะสมและไม่เหมาะสมในหลายเนื้อหาไม่ได้ดีเท่ากับเด็กที่โตขึ้นมา ดังนั้นเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมอาจส่งผลลบต่อพฤติกรรมของเด็กๆ ได้ รวมถึงความหยึยของเนื้อหาอาจสร้างความหวาดกลัวให้กับเด็กได้เช่นกัน

หากกล่าวถึงการเรียนรู้ของเด็ก งต้องกล่าวถึงทฤษฎี 2 ทฤษฎี นั่นก็คือ The Social Learning Theory และ The Cultivating Theory ที่กล่าวรวมๆ ก็คือ เด็กจะเรียนรู้ผ่านการสังเกตและเลียนแบบสิ่งต่างๆ ในสิ่งที่อยู่แวดล้อมตัวของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ครอบครัว ข้างบ้าน เพื่อน ทีวี ยูทูป รวมถึงอินฟลูเอ็นเซอร์ที่เขาให้ความสนใจ หากสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ดี เด็กก็จะได้รับสิ่งดีๆ มา ในขณะเดียวกันในระยะยาว หากสิ่งที่แวดล้อมเหล่านี้มีอยู่ซ้ำๆ มันจะค่อยๆ ซึมสู่สมองของคนคนนั้นจนส่งผลต่อทัศนคติและความเชื่อของเขาต่อโลกใบนี้ในระยะยาวได้เลย ซึมลงไปยังจิตใต้สำนึกได้เลย ดังนั้น Media ต่างๆ รอบตัวลูกมีอิทธิพลต่อลูกเสมอ

"มิใช่ว่า พ่อแม่อิเดียดหรือคิดมากเกินไปนะจ๊ะ เรื่องนี้ต้องคิด และปกป้องลูกออกจากเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมตามวัยก่อนดีที่สุด แล้วเมื่อถึงวัย ถ้าจะดูก็ดูได้ ไม่ว่ากัน พ่ออยากมีเพื่อนไปดูหนังผี หรือหนังแอคชั่นล้างผลาญแหละ เมื่อไรจะถึงวัยเสียทีนะ 555 ตอนนี้ยังไม่พร้อมก็ไม่ควรดูนะลูกนะ อย่าเพิ่งรีบโตเลย"

คุณหมอยังยกเคสทิ้งท้ายไว้ด้วยว่า ล่าสุดเห็นเด็กเลียนแบบ Skibidi Toilet พยายามจะยัดตัวยัดหัวลงในถัง ในกล่อง กลิ้งหัวทิ่มมากับตา ซึ่งอันตรายมาก ซึ่งแน่นอนว่าถ้าเด็กอายุมากกว่า 13 ปี ตามที่อายุที่ควรดูการ์ตูนเรื่องนี้คงไม่ทำแบบนี้

อัลบั้มภาพ 10 ภาพ

อัลบั้มภาพ 10 ภาพ ของ ร้อนถึงหมอ! ไวรัลเจ้าหัวชักโครก "Skibidi Toilet" ในหมู่วัยรุ่นฟันน้ำนม ผปค.ควรกังวลไหม?

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook