จริงหรือ? สาวเป่า “เมาแล้วขับ” ขอตรวจเลือดยันไม่ได้ดื่ม แค่ “จูบคนเมา” ผลออกมา ตร.อึ้ง!!!

จริงหรือ? สาวเป่า “เมาแล้วขับ” ขอตรวจเลือดยันไม่ได้ดื่ม แค่ “จูบคนเมา” ผลออกมา ตร.อึ้ง!!!

จริงหรือ? สาวเป่า “เมาแล้วขับ” ขอตรวจเลือดยันไม่ได้ดื่ม แค่ “จูบคนเมา” ผลออกมา ตร.อึ้ง!!!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ไขข้อข้องใจ จูบคนดื่มเหล้า ทำให้เมาได้ไหม? หลังสาวหวิดโดนจับ “เมาแล้วขับ” รีบตรวจเลือดยันไม่ได้ดื่ม แค่ “จูบ” แฟนที่เมาเหล้า ผลออกมารอดจริงๆ

ปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายส่วนใหญ่ขับออกทางปัสสาวะ ส่วนที่เหลือขับออกทางเหงื่อและการหายใจ เมื่อคนเราดื่มแอลกอฮอล์ก็จะมีแอลกอฮอล์อยู่ในลมหายใจและน้ำลาย โดยเฉพาะของเหลวที่ไหลย้อนจากกระเพาะสู่ปาก จะมีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ค่อนข้างสูง

เมื่อ “จูบคนเมา” เป็นเวลานาน สามารถ "ส่งต่อ" ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ของคนเมาได้ โดยช่องปากยังปนเปื้อนแอลกอฮอล์จากน้ำลายของคนเมา หรือน้ำย่อยในกระเพาะอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ปริมาณแอลกอฮอล์ที่เข้าสู่ช่องปากและทางเดินหายใจของผู้จูบมีความเข้มข้นต่ำ จากนั้นจะถูกเผาผลาญอย่างรวดเร็วในตับ จึง “ไม่ทำให้เกิดอาการมึนเมา”

ดังนั้น การจูบคนที่เพิ่งเมาสุราจึงมีโอกาส "ติด" ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ได้ แต่กรณีนี้พบได้น้อยมาก เพราะฉะนั้นหากจูบคนที่เมา แล้วเป่าวัดแอลกอฮอล์ในลมหายใจ ได้ค่าเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด สามารถขอตรวจเลือดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำยิ่งขึ้น

เราไม่สามารถคำนวณได้อย่างแน่ชัดว่า หลังจากรับประทานอาหารที่มีแอลกอฮอล์ ต้องใช้เวลานานเทาไหร่ปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจและเลือดจะหายไป ทั้งนี้ โดยเฉลี่ยทุกๆ ชั่วโมงร่างกายจะกำจัดแอลกอฮอล์ออกจากเลือดได้ 15 มิลลิกรัม ยิ่งดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเท่าไร ร่างกายก็จะต้องใช้เวลาในการเผาผลาญนานขึ้นเท่านั้น

มีเคสตัวอย่างในประเทศจีน เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2020 ผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งตรวจพบความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในลมหายใจเกินขีดจำกัดที่กฎหมายกำหนดขณะขับรถ อย่างไรก็ตาม เธอยืนกรานว่าไม่ดื่มแอลกอฮอล์ และผลการทดสอบความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในเลือดเป็น “ศูนย์”

โดยหญิงสาวรายดังกล่าวอธิบายว่า ก่อนหน้านี้เธอได้ขับรถไปรับแฟนหนุ่มซึ่งดื่มแอลกอฮอล์จนมึนเมา และทั้งคู่ก็จูบกันเป็นเวลานานก่อนที่เธอจะขับรถออกมา

จากผลการตรวจเลือดและคำอธิบายของหญิงสาว ทำให้ตำรวจจราจรเชื่อว่าทั้งสองคนอาจจูบกันเป็นเวลานาน ทำให้ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในปากของผู้หญิงเกินมาตรฐาน ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่เคยพบเคยเจอมาก่อน

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าผู้ชายไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เกิน 2 หน่วยต่อวัน ผู้หญิงไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เกิน 1 หน่วยต่อวัน และไม่ดื่มเกิน 5 วันต่อสัปดาห์

โดยแอลกอฮอล์ 1 หน่วย เทียบเท่ากับแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 10 กรัมที่มีอยู่ในสารละลายสำหรับดื่ม ซึ่งคิดเป็นประมาณ 3/4 ของขวด หรือเบียร์กระป๋องขนาด 330 มล. (5%) หรือเบียร์สดหนึ่งแก้วขนาด 330 มล. หรือแก้วขนาด 100 มล. ไวน์ (13.5%) หรือเหล้าหนึ่งแก้ว 30 มล. (40%)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook