"กั้งหางแดง" หรือ "แม่หอบอ่อน" โผล่เกลื่อนทะเลบางแสน ธรรมชาติกำลังบอกอะไรเรา?

"กั้งหางแดง" หรือ "แม่หอบอ่อน" โผล่เกลื่อนทะเลบางแสน ธรรมชาติกำลังบอกอะไรเรา?

"กั้งหางแดง" หรือ "แม่หอบอ่อน" โผล่เกลื่อนทะเลบางแสน ธรรมชาติกำลังบอกอะไรเรา?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วานนี้ (20 ก.พ. 67) เฟซบุ๊ก Suwanan Saehueng ได้โพสต์ข้อความว่า “กุ้งต็อกหรือกั้งต็อก หลาย 10 ปี พึ่งเคยเจอ ใครอยากได้มาช้อนเอาเลย” พร้อมภาพถ่ายและคลิปวิดีโอที่แสดงให้เห็นประชาชนกำลังช้อน “กั้งหางแดง” หรือ “แม่หอบอ่อน” ขึ้นมาจากน้ำ ซึ่งปรากฏการณ์นี้ได้สร้างความตกใจให้กับประชาชนในพื้นที่ทะเลบางแสนเป็นอย่างมาก เนื่องจากกั้งหางแดงเป็นสัตว์ที่พบได้บาก อยู่ในรูในทะเล จึงไม่ค่อยเจอตัวได้ง่ายๆ 

จากการสอบถามเจ้าของโพสต์ดังกล่าว พบว่าสาเหตุที่กั้งหางแดงลอยมาเหนือน้ำในครั้งนี้ อาจเป็นเพราะปรากฏการณ์ทางทะเล ซึ่งทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคาดว่าอาจมีสาเหตุจากพื้นทะเลร้อนระอุ ทำให้กั้งหางแดงออกจากรูมาลอยเหนือน้ำ

ขณะที่ชาวบ้านในพื้นที่ก็สะท้อนว่าไม่เคยเห็นปรากฏการณ์แบบนี้มาก่อนในชีวิต โดยกั้งหางแดงนั้นเป็นสัตว์หายาก และมีราคา โดยตอนนี้สามารถขายได้ตัวละ 2 บาท คนส่วนใหญ่นิยมนำไปตกปลา และเอาไปชุบแป้งทอด 

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ได้ออกสำรวจคุณภาพน้ำทะเล พบว่ามีค่าปกติตามเกณฑ์มาตรฐาน และออกซิเจนไม่ได้ต่ำลง จึงคาดว่าอาจเป็นเพราะคุณภาพดินในบริเวณนั้น 

“กั้งหางแดง” คืออะไร

กั้งหางแดง หรือ “แม่หอบอ่อน” คือสัตว์ตระกูลกุ้งและกั้ง เป็นสัตว์มีเปลือกกลุ่มกุ้งปู โดยชาวประมงมักเรียกสัตว์ชนิดนี้ว่ากั้งหางแดง แต่ความจริงแล้วไม่ใช่กั้ง แต่เป็นสัตว์ในกลุ่มแม่หอบ หรือเป็นญาติกับแม่หอบที่อยู่ในป่าชายเลน แต่ไม่ใช่กลุ่มเดียวกัน 

เหตุผลที่มันถูกเรียกว่าแม่หอบอ่อน เป็นเพราะตัวอ่อนนุ่ม มักฝังตัวอยู่ตามพื้นทรายหรืออยู่ในรู และกินสัตว์เล็กหรือซากต่างๆ เป็นอาหาร ในเวลาปกติจะไม่ขึ้นมาอยู่เหนือน้ำ แต่อาจจะมีสาเหตุที่ทำให้แม่หอบอ่อนหนีออกมาอยู่รวมกันเยอะขนาดนี้ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์และเจ้าหน้าที่คงต้องวิเคราะห์หาสาเหตุกันต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook