โชว์ช้างว่ายน้ำสวนสัตว์เขาเขียว เจอดราม่าสงสารช้าง ชาวเน็ตช็อตฟีล สงสารควาญเถอะ!

โชว์ช้างว่ายน้ำสวนสัตว์เขาเขียว เจอดราม่าสงสารช้าง ชาวเน็ตช็อตฟีล สงสารควาญเถอะ!

โชว์ช้างว่ายน้ำสวนสัตว์เขาเขียว เจอดราม่าสงสารช้าง ชาวเน็ตช็อตฟีล สงสารควาญเถอะ!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ช้างว่ายน้ำสวนสัตว์เขาเขียว เจอคนดราม่าสงสารช้าง ทรมานสัตว์ ชาวเน็ตช็อตฟีล สงสารควาญเถอะ เรียกน้องขึ้นจากน้ำยากสุดๆ

เป็นคลิปน่ารักที่มีกระแสดราม่าปะปนมาเรื่อยๆ สำหรับการชมช้างว่ายน้ำแห่งเดียวในประเทศไทยที่ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว Khao Kheow Open Zoo ซึ่งเมื่อทางสวนสัตว์ลงคลิปช้างว่ายน้ำ ก็จะมีคอมเมนต์บางส่วนที่บอกว่า สงสารช้าง เอาช้างซึ่งเป็นสัตว์บกมาทรมานในน้ำ หลังจากนั้นก็จะทำให้มีชาวเน็ตอีกจำนวนมากเข้ามาโต้แย้งและให้ความรู้ ว่าช้างเป็นสัตว์ที่ชอบเล่นน้ำมาก และน้ำลึกแค่นี้ก็ไม่ใช่ปัญหาสำหรับช้าง เพราะน้องว่ายน้ำเก่งมาก และแหล่งน้ำในธรรมชาติก็ลึกกว่านี้ด้วยซ้ำ 

นอกจากนี้ ยังมีบางรายที่คอมเมนต์ติดตลกว่า ถ้าจะสงสารช้างให้สงสารควาญดีกว่า เพราะเรียกเท่าไหร่เจ้าตัวแสบก็ไม่ยอมขึ้นจากน้ำ เหมือนอยากเล่นทั้งวัน และเวลาช้างว่ายน้ำก็ดูมีความสุขมากด้วย

สำหรับชมการลงเล่นน้ำของช้าง ดำผุด ดำว่าย ในสระว่ายน้ำขนาดใหญ่ผ่านมุมมองตู้กระจกสุดน่ารัก ที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ชลบุรี รอบเวลาการแสดง วันละ 2 รอบ เวลา 11.00 / 14.30 น. ส่วน วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์เพิ่มรอบเวลา 12.30 น. นักท่องเที่ยวสามารถชมความน่ารักของช้างว่ายน้ำได้อย่างใกล้ชิดที่บริเวณส่วนแสดงช้างเอเชีย 

อย่างไรก็ตาม ดราม่าเรื่องช้างว่ายน้ำในสวนสัตว์นั้นมีมาเป็นระยะๆ อย่างเมื่อปี 2564 หลังจากภาพ Elephant in the Room ของ Adam Oswell จากประเทศออสเตรเลีย ซึ่งถ่ายที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ได้รับรางวัลชนะเลิศในสาขา Photojournalism ที่เน้นเรื่องการค้าที่ผิดกฎหมาย การทรมาน และจริยธรรมสัตว์ป่า จากงานประกวดภาพ Wildlife Photographer of the Year Awards 2021 จัดโดย Natural Historical Museum London สหราชอาณาจักร ทำให้เกิดกระแสทรมานช้างให้ว่ายน้ำโชว์ในห้องกระจก 

 ภาพ Elephant in the Room ของ Adam Oswellภาพ Elephant in the Room ของ Adam Oswell

นายเทวินทร์ รัตนะวงศวัต ผอ.สวนสัตว์เปิดเขาเขียว เผยว่า โดยปกติช้างสามารถดำน้ำว่ายน้ำได้ และชอบเล่นน้ำในธรรมชาติจะนอนแช่น้ำในป่าครั้งละเป็นชั่วโมงๆ ยืนยันว่าไม่ได้ถูกบังคับให้แสดง เพราะไม่มีควาญช้างลงไปขี่คอลงว่ายน้ำ แต่ปล่อยให้ช้างดำผุดดำว่ายตามพฤติกรรมของช้างเอง และจะให้อาหารเป็นรางวัล โดยควาญคอยดูแลใกล้ชิด เพื่อสังเกตว่ามีอาการผิดปกติอะไรหรือไม่

สำหรับช้างบางตัวอายุ 70 ปี ก็จะไม่ได้ให้อยู่ในพื้นที่แคบๆ มีการพาเดิน และให้ทำกิจกรรมอื่นๆ และสัตว์ทุกตัวทุกตัวที่อยู่ในความดูแลของเขาเขียว ได้รับการดูแลสวัสดิภาพสัตว์เป็นอย่างดีตามมาตรฐานของ WAZA และ SEAZA รับรองมาตรฐาน

ส่วนคำถามที่ว่าทำไมสวนสัตว์ ต้องให้ดูช้างผ่านห้องกระจก นายเทวินทร์ กล่าวว่า การจับช้างมาใส่ตู้ น่าจะเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เพราะความเป็นจริง สวนสัตว์จัดพื้นที่กว้างขวาง เพียงพอให้สัตว์ได้ใช้ชีวิตตามธรรมชาติ พร้อมควาญช้างคอยดูแลให้ช้างได้เดินออกกำลังกายทำให้สัตว์ไม่เครียด และบ่อน้ำให้ช้างได้ลงเล่นน้ำ การลงเล่นน้ำเป็นธรรมชาติของช้าง ช้างสามารถลอยตัวในน้ำและหายใจด้วยงวง ช้างสามารถว่ายน้ำได้ไกล การลงอาบน้ำยังช่วยกำจัดแมลง สิ่งสกปรกบนตัวช้าง ให้ผิวหนังมีสุขภาพดีด้วย

การที่ให้นักท่องเที่ยวเห็นผ่านกระจก คือจะเห็นพฤติกรรมช้างขณะว่ายน้ำนั้น เป็นเรื่องพิเศษหาเรียนรู้ได้ยาก โดยเฉพาะเด็กๆ จะได้เรียนรู้พฤติกรรม การเคลื่อนไหวของช้างว่ายน้ำอย่างใกล้ชิด มีวิทยากรเล่าเรื่องราวชีวิต พฤติกรรม ชีววิทยาของช้างให้เด็กๆเรียนรู้ เกิดความรักและสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กๆ และครอบครัวร่วมกันอนุรักษ์ช้างไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook