รู้หรือไม่ ชายหาดทุกแห่งทั่วประเทศเป็น "สมบัติของแผ่นดิน" ครอบครองส่วนตัวไม่ได้

รู้หรือไม่ ชายหาดทุกแห่งทั่วประเทศเป็น "สมบัติของแผ่นดิน" ครอบครองส่วนตัวไม่ได้

รู้หรือไม่ ชายหาดทุกแห่งทั่วประเทศเป็น "สมบัติของแผ่นดิน" ครอบครองส่วนตัวไม่ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประเด็นเรื่อง “พื้นที่ชายหาดติดทะเล” มักกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ประชาชนตั้งคำถามว่า บุคคลหรือบริษัทสามารถครอบครองเป็นพื้นที่ส่วนตัวได้จริงหรือไม่ เพราะมีหลายกรณีที่ประชาชนทั่วไปหรือนักท่องเที่ยวถูกขับไล่ออกจากพื้นที่ชายหาด ด้วยเหตุผลว่าเป็นพื้นที่ส่วนตัว จนทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก 

แต่รู้หรือไม่ ว่าชายหาดทุกแห่งทั่วประเทศเป็น “ที่สาธารณะประโยชน์” ครอบครองส่วนตัวไม่ได้

ชายหาดเป็นพื้นที่สาธารณะประโยชน์

พื้นที่ชายหาด คืแที่ดินที่น้ำทะเลขึ้นและลง เป็นที่ดินที่น้ำท่วมถึงและที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็น “ที่ดินสาธารณะ” สมบัติของแผ่นดินที่ให้ประชาชนใช้ร่วมกัน ซึ่งสมบัติของแผ่นดินแปลว่าบุคคลใดจะยึดถือครอบครองหรือยกเอาอายุความขึ้นต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิอื่นใดไม่ได้

กล่าวคือชายหาดมีสถานะทางกฎหมายเป็นพื้นที่สาธารณะที่พลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกัน ไม่มีใครสามารถเป็นเจ้าของได้ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ มีดังต่อไปนี้ 

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น รวมทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดิน ซึ่งใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันไม่ได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะ หรือพระราชกฤษฎีกา
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1306 ท่านห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

นอกจากนี้ การกำหนดแนวถอยร่นจากหน้าหาดไปจนถึงชายทะเลที่ส่วนใหญ่ จะต้องไม่มีการใช้ประโยชน์ที่ระยะ 30 - 50 เมตร รวมทั้งกำหนดเรื่องความสูงของอาคาร และกิจกรรมที่จะกระทบต่อชายหาดด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook