ย่าแอบ "ป้อนน้ำ" หลานวัย 2 เดือนเกือบตาย สุดท้ายรอดมาได้ แต่สุขภาพแย่จนโต

ย่าแอบ "ป้อนน้ำ" หลานวัย 2 เดือนเกือบตาย สุดท้ายรอดมาได้ แต่สุขภาพแย่จนโต

ย่าแอบ "ป้อนน้ำ" หลานวัย 2 เดือนเกือบตาย สุดท้ายรอดมาได้ แต่สุขภาพแย่จนโต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 แม่แชร์อุทาหรณ์ใจสลาย เกือบเสียลูกวัย 2 เดือน เพราะย่าแอบ “ป้อนน้ำ” เตือนเหล่าผู้ปกครองอย่าพลาดแบบนี้!

ตามรายงานของสื่อมาเลเซีย ผู้หญิงคนหนึ่งโพสต์บทความในแพลตฟอร์มส่วนตัวของเธอ เล่าย้อนไปถึงตอนที่ลูกสาวของเธอคลอดออกมา ทารกมีขนาดตัวที่เล็กกว่ามาตรฐานนิดหลัง ทำให้คุณย่าของเด็กจึงกังวลอยู่เสมอ จนแอบกระทำบางอย่างที่ส่งผลต่อสุขภาพของทารกอย่างร้ายแรง

โดยผู้โพสต์เล่าว่า เนื่องจากแม่สามีกังวลเรื่องน้ำหนักของหลานสาวมาก และแนะนำเธอหลายครั้งให้ป้อนอาหารเด็กและอาหารเสริมอื่นๆ ให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้เติบโตอย่างมีสุขภาพที่ดี  เธอจึงต้องพยายามย้ำอย่างหนักแน่นอยู่เสมอว่า “อย่าป้อนอาหารเสริมแก่ทารกแรกเกิด”  แต่ลับหลังแม่สามีกลับแอบ “ป้อนน้ำ” ให้กับลูกสาวของเธอ

กระทั่งลูกสาวที่อายุเพียง 2 เดือน อาเจียนอย่างต่อเนื่อง และมีอาการไม่สบายเป็นเวลา 20 วัน เธอรีบลูกสาวไปโรงพยาบาลเพื่อเอ็กซเรย์ และพบว่าลำไส้ของทารกบวมผิดรูป แพทย์จึงต้องฉีดยาและให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โชคดีที่หลังจากผ่านช่วงโคม่ามา 3 วัน อาการของเด็กหญิงก็ค่อยๆ ดีขึ้น

สิ่งที่ทำให้เธอยิ่งรู้สึกหมดหนทางคือแม้ว่าเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นเมื่อ 4 ปีที่แล้ว แต่ทุกวันนี้ลูกสาวของเธอยังคงต้องรับผลที่ตามมาอย่างรุนแรง “ทุกๆ สองเดือน ลูกสาวจะปวดท้องกะทันหัน และป่วยเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ ฉันต้องรีบไปโรงพยาบาลเพื่อรับยา ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพลูกสาว และชีวิตของทั้งครอบครัว”

จากข้อมูลของ แพทย์ชื่อดังอย่าง “Ahmad Sanhan” ยังชี้ให้เห็นว่าน้ำเปล่าไม่มีสารอาหารและไม่มีแคลอรี่ พร้อมย้ำว่าเด็กๆไม่ควรดื่มน้ำก่อนอายุ 6 เดือน หากเด็กดื่มน้ำมากเกินไป จะสูญเสียความอยากนม ลำไส้และกระเพาะอาหารจะไม่มีที่ว่างสำหรับดูดซับสารอาหารและแคลอรี่ที่ช่วยในการพัฒนาอีกต่อไป ส่งผลให้น้ำหนักลดลง ขาดสารอาหาร และพัฒนาการช้า

นอกจากนี้ คุณหมอยังเตือนด้วยว่าการดื่มน้ำมากเกินไป อาจทำให้เกิดพิษจากน้ำในทารกแรกเกิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไตยังไม่เจริญเต็มที่ "เด็กไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำก่อนอายุ 6 เดือน หรือก่อนเริ่มรับประทานอาหาร เพราะนมมีน้ำถึง 88% ซึ่งเพียงพอต่อสุขภาพของทารก”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook