สอบ ก.พ. 67 รอบ Paper & Pencil เช็กกำหนดการ ศูนย์สอบที่นี่
สอบ ก.พ. 67 ภาค ก. รอบ Paper & Pencil เช็กกำหนดการ ศูนย์สอบ สมัครได้ตั้งแต่วันที่ 19 มี.ค.-9 เม.ย. 2567
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ประกาศแจ้งแผนการดำเนินการสอบ ก.พ. 67 ภาค ก. (Paper & Pencil) พร้อมรายชื่อศูนย์สอบและจำนวนที่นั่งสอบ โดยมีแผนการดำเนินการสอบ ทุกระดับวุฒิ ดังนี้
กำหนดการ สอบก.พ 67
- วันที่ 19 มี.ค.-9 เม.ย. 67 : กรอกข้อมูลและยืนยันการสมัครสอบ อัปโหลดรูปถ่าย และพิมพ์แบบฟอร์มชำระเงิน (ชำระค่าธรรมเนียมสอบ ภายในเวลา 22.00 น. ของวันถัดจากวันที่ยืนยันการสมัคร)
- วันที่ 12-22 เม.ย. 67 : เปลี่ยนรูปถ่าย เฉพาะผู้ที่อัปโหลดรูปผิดพลาด อนุญาตเพียง 1 ครั้ง
- วันที่ 9 พ.ค. 67 : ประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบ
- วันที่ 2 ส.ค. 67 : ประกาศกำหนดวัน เวลา สถานที่สอบ ระเบียบเกี่ยวกับการสอบ และพิมพ์บัตรประจำตัวสอบ
- วันที่ 25 ส.ค. 67 : สอบข้อเขียน
- วันที่ 7 พ.ย. 67 : ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่าน การวัดความรู้ความสามารถทั่วไป
- วันที่ 14 พ.ย. 67 : ดูผลคะแนนสอบ
- วันที่ 21 พ.ย. 67 : พิมพ์หนังสือรับรองผลการสอบผ่าน
หมายเหตุ: กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
คุณสมบัติ ผู้ที่สมัครสอบ ก.พ. 2567
- ต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้ว หรือเป็นผู้ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2567 ระดับปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา
- ต้องเป็นผู้ที่ไม่เคยสอบผ่าน หรือไม่มีหนังสือรับรองผลการสอบผ่านการวัดความรู้ ความสามารถทั่วไประดับปริญญาตรี หรือปริญญาโท ของสำนักงาน ก.พ.
- ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไป และไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ดังต่อไปนี้
คุณสมบัติทั่วไป
- มีสัญชาติไทย
- มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี (นับถึงวันปิดรับสมัครสอบ)
- เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ขั้นตอนการสมัครสอบ ก.พ
- อ่านประกาศสอบ กรอกข้อมูลและยืนยันข้อมูล
- อัปโหลดรูปถ่าย หน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน สำหรับการสมัครสอบและพิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงิน
- ชำระเงิน ค่าธรรมเนียมการสอบ ผ่านแอปพลิเคชัน "Krungthai Next" หรือ "เป๋าตัง"
- ตรวจสอบสถานะการสมัครสอบ
- พิมพ์บัตรประจำตัวสอบ
รายชื่อศูนย์สอบ ก.พ 2567
รายชื่อศูนย์สอบ และจำนวนที่นั่งสอบ มีจำนวนทั้งหมด 12 ศูนย์สอบ รวม 380,000 ที่นั่งสอบ ดังนี้
- 01 กรุงเทพฯ และนนทบุรี : 78,000 ที่นั่ง
- 02 พระนครศรีอยุธยา : 25,000 ที่นั่ง
- 03 ราชบุรี : 24,000 ที่นั่ง
- 04 ชลบุรี : 28,000 ที่นั่ง
- 05 เชียงใหม่ : 32,000 ที่นั่ง
- 06 พิษณุโลก : 31,000 ที่นั่ง
- 07 นครราชสีมา : 26,000 ที่นั่ง
- 08 อุดรธานี : 20,000 ที่นั่ง
- 09 อุบลราชธานี : 27,000 ที่นั่ง
- 10 ขอนแก่น : 30,000 ที่นั่ง
- 11 สุราษฎร์ธานี : 26,000 ที่นั่ง
- 12 สงขลา : 33,000 ที่นั่ง
หมายเหตุ
- หมายเลขด้านหน้า คือ รหัสศูนย์สอบ
- ชื่อศูนย์สอบและจำนวนที่นั่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
สอบ ก.พ. คืออะไร
การสอบ ก.พ. เป็นกระบวนการคัดเลือกผู้ที่สนใจทำงานในหน่วยงานราชการ จัดขึ้นทุกปี โดยมีวิธีการสอบทั้งแบบกระดาษและปากกา (Paper & Pencil) และแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Exam) นับเป็นขั้นตอนแรกสำหรับคนที่ต้องการเข้าสู่อาชีพในสายงานราชการ การสอบนี้แบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ
- สอบภาค ก. (วัดความรู้ความสามารถทั่วไป)
- สอบภาค ข. (วัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง)
- สอบภาค ค. (วัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง)