พบแล้วพระพุทธรูปโบราณล้ำค่า วัดประตูสาร โจรทิ้งไว้ข้างถนน แห่ซูมเลขเด็ดสลักบนจีวร

พบแล้วพระพุทธรูปโบราณล้ำค่า วัดประตูสาร โจรทิ้งไว้ข้างถนน แห่ซูมเลขเด็ดสลักบนจีวร

พบแล้วพระพุทธรูปโบราณล้ำค่า วัดประตูสาร โจรทิ้งไว้ข้างถนน แห่ซูมเลขเด็ดสลักบนจีวร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พบแล้วพระพุทธรูปทรงเครื่องปางห้ามญาติ วัตถุโบราณล้ำค่าแห่งวัดประตูสาร โจรทิ้งไว้ข้างถนน แห่ซูมเลขเด็ดสลักบนจีวร 

จากกรณี ชมรมนักโบราณคดีสมัครเล่นเมืองสุพรรณ และ นายสรชัด สุจิตต์ สส.สุพรรณบุรี ประกาศตามหาพระพุทธรูปทรงเครื่องปางห้ามญาติ หรือ ปางประทานพร ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย และพระพุทธรูปอีกจำนวนหนึ่ง ที่ถูกขโมยไปจากวิหารวัดประตูสาร อ.เมืองสุพรรณบุรี เมื่อกลางดึกคืนวานนี้ (11 มี.ค.)

ล่าสุดเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ตำรวจภูธรเมืองสุพรรณบุรี ได้รับแจ้งจากชาวนาบ้านหนองจิก ต.วังยาง อ.ศรีประจันต์ ว่าพบพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว ถูกตั้งทิ้งอยู่ข้างทาง ริมถนนสายเลี่ยงเมืองบ้านวังยาง โดยมีกระสอบปุ๋ยวางอยู่ด้านข้าง

จากการสอบถามชาวบ้านที่มาเจอเล่าว่า ขณะกำลังจะเดินเข้าสวนมะม่วง ถึงกับตกใจเมื่อพบพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว ตั้งอยู่ริมถนน มีผ้าคลุมไว้ จึงรีบแจ้งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบ

เบื้องต้นเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน เข้ามาเก็บลายนิ้วมือแฝง เมื่อหาตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี และ ติดตามพระพุทธรูปส่วนที่เหลือกลับคืนวัด

สำหรับ วัดประตูสาร จ.สุพรรณบุรี แม้จะไม่มีหลักฐานระบุชัดว่า วัดประตูสาร สร้างขึ้นตั้งแต่เมื่อใด หากแต่สันนิษฐานกันว่าน่าจะสร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. 2345 เนื่องจากเป็นปีที่สุนทรภู่มาเยือนจังหวัดสุพรรณบุรี และได้เขียนโคลงนิราศสุพรรณบุรีขึ้น โดยภายในโคลง มีการกล่าวถึงวัดแห่งนี้ไว้ ในอดีตกาล ศาลาวัดแห่งนี้เคยใช้เป็นศาลตัดสินคดีความ พอตัดสินเสร็จ ศาลก็ยกเลิกไปแล้วกลับมาเป็นศาลาวัดตามเดิม แต่อย่างไรก็ดี ปัจจุบันไม่มีศาลาดังกล่าวให้เห็นอีกต่อไป เหลือเพียงวิหารกับโบสถ์ที่สร้างอยู่เคียงกัน โดยหันหน้าไปทางตะวันออกสู่แม่น้ำท่าจีน มีกำแพงล้อมรอบ กำแพงด้านทิศเหนือทำหน้าที่เป็นกำแพงวัด ส่วนอีก 3 ด้านที่เหลือมีประตูเข้า-ออกตกแต่งด้วยรูปปั้นและลายเขียนสีงดงาม ด้านหน้ามีมณฑปหลวงพ่อก๋ำ (พระครูวิธุรสีตาคม)

จุดเด่นที่น่าสนใจของวัด คือ จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติและภาพวิถีชีวิตของสามัญชน ผนังระดับเหนือประตูและหน้าต่างด้านซ้ายและขวาเขียนภาพอดีตของพระพุทธเจ้า โดยแบ่งเนื้อที่ไปตามยาวของผนังเป็น 3 แถว ส่วนบนสุดเขียนภาพอดีตพุทธเจ้าเรียงเป็นแถว 20 องค์ ส่วนกลาง 19 องค์ และส่วนล่าง 20 องค์ รวมเป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้าผนังด้านละ 59 องค์ ส่วนผนังหุ้มกลองหลังพระประธานส่วนบน เขียนภาพพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ อยู่ในท่าประทับยืนปางประทานพร และด้านล่างเป็นภาพพระพุทธองค์เสด็จลงจากดาวดึงส์ ภาพจิตรกรรมอันงดงามนี้คาดว่าน่าจะวาดโดยนายคำ คนเดียวกับที่เขียนภาพที่วัดหน่อพุทธางกูร โดยเขียนขึ้นในช่วงประมาณ พ.ศ. 2391

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook