เอาให้ชัด! ควรเปลี่ยน "หมอนหนุน" บ่อยแค่ไหน? เรื่องใกล้หัวอย่ารู้เมื่อสายไป

เอาให้ชัด! ควรเปลี่ยน "หมอนหนุน" บ่อยแค่ไหน? เรื่องใกล้หัวอย่ารู้เมื่อสายไป

เอาให้ชัด! ควรเปลี่ยน "หมอนหนุน" บ่อยแค่ไหน? เรื่องใกล้หัวอย่ารู้เมื่อสายไป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลายครอบครัวใส่ใจแค่การทำความสะอาดและเปลี่ยน "ปลอกหมอน" เป็นประจำ แต่กลับละเลยด้านในของหมอน ใช้ใบเดิมใบเดียวมานานหลายทศวรรษ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างมาก อาจทำให้ป่วยโดยไม่รู้ว่าทำไม แล้วเพื่อความปลอดภัยและสุขอนามัยที่ดีของครอบครัว ควรเปลี่ยน "หมอน" บ่อยแค่ไหน?

คุณควรเปลี่ยนหมอนหนุนบ่อยแค่ไหน?

จริงๆ แล้ว ไม่มีคำตอบที่ตามตัวสำหรับคำถามนี้ เพราะระดับสิ่งสกปรกในหมอนด้านในจะแตกต่างกันไปตามการใช้งาน และที่สำคัญขึ้นอยู่กับวัสดุของหมอนด้วย

"Nancy Rothstein" ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับในสหรัฐอเมริกา เสนอวิธีพิจารณาว่าหมอนที่ใช้นั้นถึงเวลาที่ต้องทิ้งแล้วหรือไม่ "ถ้าหมอนของคุณทำจากยาง ให้ลองพับครึ่งดู ถ้าหมอนไม่สามารถเด้งกลับคืนสภาพเดิมได้ก็ถึงเวลาโยนทิ้งไป"

ขณะที่ทางด้าน Dr.Michael Breus นักจิตวิทยาการนอนหลับ แนะนำว่า "หากหมอนของคุณยัดไส้ด้วยผ้าฝ้ายเทียม ควรเปลี่ยนทุกๆ 6 เดือน ส่วนหมอนที่ทำจากเมมโมรีโฟม หรือหมอนชนิดใดก็ตามที่รองรับสรีระ ควรเปลี่ยนประมาณ 18 - 36 เดือน"

นอกจากนี้ ยังสามารถกำหนดได้ว่าเมื่อใดควรเปลี่ยนหมอน "ตามความรู้สึก" ของผู้ใช้งานเองเลย โดยหมอนที่ดีต้องสามารถเติมเต็มช่องว่างระหว่างคอและไหล่ได้ หากหมอนปัจจุบันที่ใช้หนุนนอนอยู่ไม่เป็นไปตามนี้ หรือทำให้ปวดไหล่และคอหลังตื่นนอนทุกคืน ก็ถึงเวลาที่ควรเปลี่ยนหมอนใบใหม่ได้แล้ว

อย่างไรก็ตาม ต่อให้หมอนจะยังคงรูปทรงและสภาพดีอยู่ แต่ก็ควรพิจารณาเปลี่ยนใหม่ทุกปี เนื่องจากหมอนเป็นสิ่งที่เราสัมผัสทุกวัน แม้กระทั่งการกดฝังใบหน้าลงไปเพื่อหายใจ แน่นอนว่าหลังจากใช้งานไปสักระยะจะเต็มไปด้วยสิ่งสกปรก ผิวหนังที่ตายแล้ว แบคทีเรีย ไรฝุ่น ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก

ดังนั้น หากจำคำแนะนำเฉพาะเจาะจงจากผู้เชี่ยวชาญไม่ได้ว่าควรเปลี่ยนปลอกหมอนใหม่บ่อยแค่ไหน ก็ควรเปลี่ยนทุกๆ 1-2 ปี ห้ามใช้หมอนใบเดิมนานเกิน 3 ปี และควรนำหมอนมาตากกลางแสงแดดจัดทุกๆ 3 เดือน ส่วนปลอกหมอนควรซักทุกสัปดาห์

ผลร้ายจากการใช้ปลอกหมอนเก่า

จากการศึกษาในสหราชอาณาจักร พบว่า ในหมอนที่ใช้งานมา 2 ปี จะมีสิ่งสกปรก ไรฝุ่น เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว ตัวเรือด และสารตกค้างอื่นๆ รวมอยู่มากถึง 1/3 ของน้ำหนักหมอน สิ่งเหล่านี้คือปัจจัยที่ทำให้มีอาการภูมิแพ้ จาม น้ำมูกไหล ไอ ผื่น คันแก้ม หรือหอบหืดแย่ลง

นอกจากนี้ยังจะทำให้ผิวหนังติดเชื้อ และทำให้เกิดสิวอีกด้วย หากจู่ๆ ใบหน้าก็มีสิวผุดขึ้นมาโดยไม่ทราบสาเหตุ ต้นเหตุที่ควรคำนึงถึงไว้ก่อนเลยก็คือ "หมอน" สกปรกที่นอนทับอยู่ทุกคืนนั่นแหละ

ที่สำคัญคือคุณภาพของหมอนจะค่อยๆ ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป หมอนที่เก่าเกินไปจะสูญเสียความยืดหยุ่นและการรองรับตามมาตรฐานเดิม ไม่สามารถเติมเต็มช่องว่างระหว่างศีรษะและไหล่ขณะนอนหลับได้ จะทำให้คอและกระดูกสันหลังได้รับบาดเจ็บ หรือทำให้อาการปวดหัวแย่ลง

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ ของ เอาให้ชัด! ควรเปลี่ยน "หมอนหนุน" บ่อยแค่ไหน? เรื่องใกล้หัวอย่ารู้เมื่อสายไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook