รู้ไว้ดีกว่า! ความถี่การ "กะพริบตา" บ่งชี้ 5 โรคอันตราย ที่หลายคนคาดไม่ถึง

รู้ไว้ดีกว่า! ความถี่การ "กะพริบตา" บ่งชี้ 5 โรคอันตราย ที่หลายคนคาดไม่ถึง

รู้ไว้ดีกว่า! ความถี่การ "กะพริบตา" บ่งชี้ 5 โรคอันตราย ที่หลายคนคาดไม่ถึง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 รู้หรือไม่ ความถี่ของการ “กะพริบตา” สามารถเผยบ่งชี้ปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้ ผู้เชี่ยวชาญเตือน 5 สัญญาณควรระวัง

โดยเฉลี่ยแล้วผู้ใหญ่ส่วนใหญ่จะกะพริบตาทุกๆ 3-5 วินาที ซึ่งช่วยให้ดวงตาชุ่มชื้นและสะอาด อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าในบางกรณีการกะพริบตามากเกินไปหรือน้อยเกินไป อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคที่อันตรายได้ เช่น

โรคพาร์กินสัน

การศึกษาหลายชิ้นพบว่าความเร็วของการกะพริบตาสะท้อนปริมาณโดปามีนในสมอง ยิ่งเรามีโดปามีนน้อยลง เราก็จะยิ่งมีสมาธิกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากขึ้น และเราก็กะพริบตาน้อยลงด้วย

คนที่เป็นโรคพาร์กินสันจะมีสารเคมีโดปามีนในสมองไม่เพียงพอ เนื่องจากเซลล์ประสาทบางส่วนทำให้โดปามีนหยุดทำงานซึ่งอาจทำให้เกิดอาการต่างๆ มากกว่า 40 อาการ แต่อาการหลักๆ คือ การเคลื่อนไหวช้าและกล้ามเนื้อตึง กะพริบตาช้าลงและมือสั่น

โรคคอพอกตาโปน หรือ โรคเกรฟส์

การกะพริบตาน้อยลงอาจเป็นสัญญาณของโรคเกรฟส์ ซึ่งเป็นความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่นำไปสู่การผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป (ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน) สภาวะภูมิต้านตนเองจะเพิ่มอัตราการเผาผลาญของร่างกาย ส่งผลให้น้ำหนักลดลง และลดระดับพลังงานในร่างกาย

นอกจากการกะพริบตาน้อยลงแล้ว สัญญาณทั่วไปอื่นๆ ของโรคเกรฟส์ ได้แก่ อาการวิตกกังวล อาการสั่น ความไวต่อความร้อน และการเต้นของหัวใจผิดปกติ

โรคหลอดเลือดสมอง

สภาวะทางระบบประสาทอื่นๆ นอกเหนือจากโรคพาร์กินสัน เช่น โรคหลอดเลือดสมอง อาจทำให้อัตราการกะพริบตาปกติช้าลง เนื่องจากเส้นประสาทของเปลือกตา เส้นประสาทใบหน้า หรือกล้ามเนื้อเปลือกตาอาจเสียหายได้

โรคหลอดเลือดสมองเป็นการโจมตีของสมองที่คุกคามถึงชีวิต ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนหนึ่งถูกตัดขาด โดยอาการของโรคได้แก่ พูดไม่ชัด ชา อ่อนแรง หรือเป็นอัมพาตที่ใบหน้า แขน หรือขา

โรคภูมิแพ้และการติดเชื้อ

ละอองเกสรดอกไม้ ไรฝุ่น เครื่องสำอาง และสะเก็ดผิวหนังของสัตว์ เป็นสารก่อภูมิแพ้บางชนิดที่สามารถทำให้เกิดอาการแพ้ได้ และเพิ่มความถี่ของการกะพริบตาได้

จากผลวิจัยในสหราชอาณาจักร คาดว่าผู้คนมากถึงหนึ่งในสี่ จะได้รับผลกระทบจากโรคภูมิแพ้ หรือการเจ็บป่วยบางประเภทในช่วงชีวิตของพวกเขา เมื่อสัมผัสบางสิ่งที่เป็นสารก่ออาการแพ้ ร่างกายจะตอบสนองโดยปล่อยฮีสตามีนเข้าตา ทำให้หลอดเลือดในดวงตาขยายตัวและใหญ่ขึ้น สิ่งนี้อาจทำให้ดวงตาของคุณแดงและคันทำให้เกิดอาการแสบร้อนได้ บวม หรือน้ำตาไหลออกมา

ภาวะกล้ามเนื้อกระตุกรัว

การกะพริบตาบ่อยๆ อาจเป็นภาวะกล้ามเนื้อกระตุกรัว (Myoclonus) ที่เกี่ยวข้องกับโรคทูเร็ตต์ (Tourette syndrome) ซึ่งเป็นความผิดปกติทางระบบประสาท ทำให้มีอาการกระตุกของกล้ามเนื้ออย่างกะทันหันและควบคุมไม่ได้ เช่น การกะพริบตาถี่เกินไปหรือต่อเนื่อง

ตามรายงานที่พบในสหราชอาณาจักร แม้จะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคทูเรตต์ แต่คาดว่าเกี่ยวข้องกับปัญหาในส่วนหนึ่งของสมองที่เรียกว่าปมประสาทฐาน ในผู้ที่เป็นโรคทูเร็ตต์ พบว่าปมประสาทฐาน 'ล้มเหลว' ซึ่งนำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อกระตุกรัว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook