เคยสงสัยไหม ทำไมผู้หญิงไม่ค่อย "หัวล้าน" เหมือนผู้ชาย ไม่ใช่เรืองบังเอิญแต่มีเหตุผล!

เคยสงสัยไหม ทำไมผู้หญิงไม่ค่อย "หัวล้าน" เหมือนผู้ชาย ไม่ใช่เรืองบังเอิญแต่มีเหตุผล!

เคยสงสัยไหม ทำไมผู้หญิงไม่ค่อย "หัวล้าน" เหมือนผู้ชาย ไม่ใช่เรืองบังเอิญแต่มีเหตุผล!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 เคยสงสัยหรือไม่ว่า… ทำไมอาการศีรษะล้านมักพบได้แทบจะเป็นเรื่องปกติในผู้ชาย แต่กลับพบได้น้อยมากในผู้หญิง?

ศีรษะล้านเป็นปัญหาหนึ่งที่ทำให้ผู้ชายวิตกกังวล และหาทางแก้ไขได้ทุกวัน นี่เป็นปรากฏการณ์ที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อชีวิตประจำวัน รูปลักษณ์ และความมั่นใจของผู้ชาย

อายุที่มักเริ่มแสดงอาการศีรษะล้านในผู้ชายคือช่วงวัยกลางคน อย่างไรก็ตาม มีเหตุผลหลายประการที่ทำให้เกณฑ์อายุเร็วขึ้นกว่านี้ บางคนอายุเพียง 20-30 ปี ก็ต้องทนทุกข์เพราะปัญหานี้แล้ว

นักวิจัยได้ระบุตัวแปรของยีนเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงศีรษะล้านในผู้ชาย คือยีนตัวรับแอนโดรเจน (Androgen Recepter gene : AR) ที่พบในโครโมโซม X รูปแบบการถ่ายทอดทางพันธุกรรมนี้เอง ช่วยอธิบายว่าทำไมอาการศีรษะล้านแบบผู้ชาย จึงพบได้บ่อยในเพศชาย มากกว่าเพศหญิง

ยีน AR ผลิตโปรตีนที่เรียกว่า Androgen Receptor ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและการทำงานของอวัยวะของเพศชาย ตลอดจนลักษณะทางกายภาพอื่นๆ ของผู้ชาย เช่น เครา หรือเสียงทุ้มลึก

ผมร่วงเกิดขึ้นเมื่อเอนไซม์ในร่างกายของเราเปลี่ยนฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ให้เป็นสารที่เรียกว่าไดไฮโดรเทสโทสเทอโรน (Dihydrotestosterone :DHT) และเป็นผลพลอยได้จากฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ที่โจมตีรูขุมขนโดยการหดตัว และทำให้เกิดศีรษะล้านในผู้ที่ได้รับผลกระทบ เอนไซม์เหล่านี้เป็นพันธุกรรม และนั่นเป็นสาเหตุที่บางคนมีเอนไซม์เหล่านี้ ในขณะที่บางคนไม่มี

งานหลักของตัวรับแอนโดรเจนคือการรับรู้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และไดไฮโดรเทสโทสเทอโรน ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของฮอร์โมนเพศชาย มีผลกระทบต่อเส้นผม อาจทำให้รูขุมขนหดตัว และเส้นผมบางลงเมื่อเวลาผ่านไป ทั้งสองอย่างนี้มักถูกเรียกกันว่า "ฮอร์โมนเพศชาย" อวัยวะและเซลล์จำนวนมากมีตัวรับแอนโดรเจน จึงไวต่อฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน รวมถึงรูขุมขนด้วย

การศึกษาแบบครอบคลุมที่เกี่ยวข้องกับผู้ชายเชื้อสายยุโรป 12,806 คน เปิดเผยว่า บุคคลที่มียีนเฉพาะชนิดนี้มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคศีรษะล้านแบบผู้ชาย  มากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับมันมากกว่าสองเท่า

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ต้องทราบคือ มียีนมากมายที่เกี่ยวข้องกับการศีรษะล้าน และวิธีที่พวกมันส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม เมื่อรวมกันจะเป็นตัวกำหนดปริมาณเส้นผมที่คุณร่วงหล่น ดังนั้น ไม่ใช่หมายความว่ามนุษย์เพศชายทุกคนจะต้องศีรษะล้าน

ผู้หญิงมีโอกาสหัวล้านไหม?

ศีรษะล้านยังเกิดขึ้นในผู้หญิงได้เช่นเดียวกัน แต่ในผู้ชายจะพบได้บ่อยกว่าประมาณ 3 เท่า และมีแนวโน้มที่จะรุนแรงกว่าในผู้หญิงด้วย

สิ่งที่น่าสนใจคือ เพศหญิงก็ผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และไดไฮโดรเทสโทสเทอโรน ด้วยเช่นกัน แต่ทำไมภาวะศีรษะล้านจึงไม่ค่อยส่งผลต่อผู้หญิง…?

นั่นเป็นเพราะว่า นอกจากปัจจัยทางพันธุกรรมแล้ว ผู้หญิงยังผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และไดไฮโดรเทสโทสเทอโรน ในปริมาณที่น้อยกว่าผู้ชายมาก อีกทั้งผู้หญิงยังมีฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ในระดับที่สูงกว่า ซึ่งทั้งสองอย่างนี้มีบทบาทในการปกป้องรูขุมขนให้กระชับแข็งแรง

ดังนั้น เส้นผมของผู้หญิงอาจเริ่มร่วงอย่างมาก ก็เป็นในช่วงหลังวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากระดับฮอร์โมนทั้งสองนี้ลดลง

โดยผมร่วงมีแนวโน้มที่จะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการชราตามธรรมชาติ ซึ่งส่งผลต่อทั้งชายและหญิง นอกจากปัจจัยด้านฮอร์โมนและพันธุกรรมแล้ว ความชรายังสร้างการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานในร่างกายอีกด้วย การไหลเวียนของเลือดที่ลดลงอาจทำให้รูขุมขนเล็กลง และทำให้เส้นผมบางลงได้ การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ การอักเสบ และความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidation) ยังมีบทบาทในการทำให้รูขุมขนอ่อนแอลงเมื่อเราอายุมากขึ้น ส่งผลให้เส้นผมบางและร่วงเมื่อเวลาผ่านไป

นอกจากความเครียดแล้ว วิถีชีวิตบางอย่าง เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป และการรับประทานอาหารที่ไม่ดีซึ่งขาดสารอาหารที่จำเป็น อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของเส้นผมได้ กล่าวโดยสรุปคือ การเลือกรูปแบบการใช้ชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพ อาจส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตของเส้นผมทั้งชายและหญิง

ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากทั้งหมดแล้ว ความแตกต่างในรูปแบบผมร่วงระหว่างชายและหญิง ขึ้นอยู่กับพันธุกรรม ฮอร์โมน และอายุ โดยความบกพร่องทางพันธุกรรมต่อภาวะศีรษะล้านแบบผู้ชาย และความไวที่เพิ่มขึ้นของรูขุมขนต่อ DHT มีส่วนทำให้ศีรษะล้านเพิ่มขึ้นในผู้ชาย ในทางกลับกัน ความซับซ้อนทางพันธุกรรมของผู้หญิงช่วยป้องกันผมร่วงได้มากขึ้น

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ ของ เคยสงสัยไหม ทำไมผู้หญิงไม่ค่อย "หัวล้าน" เหมือนผู้ชาย ไม่ใช่เรืองบังเอิญแต่มีเหตุผล!

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook