เปิดสาเหตุ เรือหลวงสุโขทัยล่ม "ผู้การเรือ" รับผิดคนเดียว ขอลาออกจากราชการ

เปิดสาเหตุ เรือหลวงสุโขทัยล่ม "ผู้การเรือ" รับผิดคนเดียว ขอลาออกจากราชการ

เปิดสาเหตุ เรือหลวงสุโขทัยล่ม "ผู้การเรือ" รับผิดคนเดียว ขอลาออกจากราชการ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เปิดผลสอบ เรือหลวงสุโขทัยล่ม "ผู้การเรือ" นาวาโท พิชิตชัย เถื่อนนาดี ยอมรับผิดคนเดียว ขอลาออกจากราชการ 

(9 เม.ย.67) ที่หอประชุมกองทัพเรือ ได้แถลงผลการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีเรือหลวงสุโขทัย ประสบอุบัติเหตุ เมื่อ 18 ธันวาคม 2565 ทำให้กำลังพลเสียชีวิต 24 นายสูญหาย 5 นาย โดยมีผู้ร่วมแถลง พลเรือเอกอะดุง พันธ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ พร้อมด้วย พลเรือตรีอภิรมย์ เงินบำรุง คณะทำงานผู้เชี่ยววชาญด้านเทคนิคและคณะกรรมการสอบสวนฯ พลเรือเอกชัยณรงค์ บุญยรัตกลิน คณะกรรมการสอบ ข้อเท็จจริงความรับผิดชอบทางละเมิด พลเรือโทสุรศักดิ์ สิงขรวัฒน์ คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงทัพเรือภาคที่ 1 และ นาวาโทพิชิตชัย เถื่อนนาดี อดีตผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย

โดย พลเรือเอกอะดุง ระบุว่า ขอแสดงความเสียใจอีกครั้งต่อครอบครัวผู้เสียชีวิตทั้ง 24 รายและผู้สูญหาย 5 ราย ทั้งนี้กองทัพเรือได้ทุ่มเทยุทโธปกรณ์และกำลังพลทั้งหมดในการค้นหาช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ ตั้งแต่ช่วงแรกของเหตุการณ์ และไม่ละเลย ในการค้นหาผู้สูญหายเมื่อมีโอกาส ตลอดจนดูแลครอบครัวผู้เสียชีวิตและสูญหายได้รับการชดเชยทางการเงิน ได้รับยศที่สูงขึ้น รับบุตรและญาตเข้ารับราชการ นับตั้งแต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกองทัพเรือได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง 3 คณะ

1.คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีเรือหลวงสุโขทัยอับปาง ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อสอบสวนน้ำข้อเท็จจริง และสรุปบทเรียนเพื่อไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ

2.คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงทัพเรือภาคที่ 1

และ 3.คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความผิดทางละเมิดโดยนำผลการสอบสวนเบื้องต้นมาใช้ อย่างละเอียดตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหมเมื่อเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของราชการอันเนื่องมาจากการกระทำอันละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ 2542

พลเรือเอกอะดุง ย้ำว่า คณะกรรมการสอบสวนแต่ละคณะมีความเป็นอิสระต่อกันในการพิจารณาและใช้วิจารณญาณ ทั้งนี้เพื่อให้การสอบสวนข้อเท็จจริงเป็นไปอย่างรอบคอบโปร่งใส และเป็นไปตามระเบียบแบบแผนที่ทางราชการกำหนด เพื่อตรวจสอบให้ได้ครบในทุกมิติ กองทัพเรือมีความต้องการ ได้วัตถุพยานจริง และตั้งใจที่จะกู้เรือขึ้นมาทั้งลำ แต่เนื่องจากการกู้เรือในความลึก 50 เมตร และกองทัพเรือมีความต้องการแนะนำขึ้นมาทั้งลำโดยไม่มีความเสียหายใดๆ รวมทางให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยของทีมกู้เรือ ไม่ให้มีการสูญเสียเกิดขึ้นอีกเพียงแม้แต่คนเดียว ทำให้เกิดข้อจำกัดหลายเรื่องและไม่มีบริษัทใดเข้าเกณฑ์ผ่าน

และในช่วงเวลาเดียวกันกองทัพเรือสหรัฐอเมริกามีหนังสือเกี่ยวกับยุทโธปกรณ์ที่ติดอยู่กับเรือ เมื่อเลือกบริษัทกู้เรือได้แล้วต้องการขั้นตอนการเรียนชอบของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งใช้ระยะเวลา 6 เดือน เมื่อพิจารณาแล้วกองทัพเรือได้หารือกับกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา และทางสหรัฐอเมริกายินดีจะช่วยเหลือในการตรวจสอบทุกประเด็นค้นหาผู้เสียหายภายในเรือด้วย โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ดังนั้นกองทัพเรือปรับเป็นการกู้เรือแบบจำกัดร่วมกับกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาเพื่อเก็บภาพต่างๆใต้น้ำทั้งภายในและภายนอกตัวเรือตามจุดที่ได้จากการสอบเพื่อร่วมการยืนยันสาเหตุการจม โดยมีสำรวจห้องที่เกี่ยวกับห้องของเรือที่มีส่วนในการจม ส่วนโทรศัพย์ไม่มีซิมการ์ดจึงไม่ปรากฏข้อมูลและกล้องบันทึกวงจรปิดได้นำส่งกองพิสูจน์หลักฐานกรมสอบสวนกลางของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้รับคำตอบว่าเครื่องเล่นไม่สามารถอ่านได้เนื่องจากชำรุดมาก

ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายสหรัฐฯได้มีหนังสือถึงกองทัพเรือ และให้ความเห็นประกอบ หลังจากได้ดำลงไปตรวจสอบเรือใต้น้ำแล้ว เรือหลวงสุโขทัยขณะนี้ อยู่ในสถานะปลอดภัยที่พื้นท้องทะเลทางฝ่ายสหรัฐฯเชื่อว่า การยกเรือหรือจะย้ายจากจุดปัจจุบัน จะเสี่ยงสูงต่อความไม่สำเร็จและเสี่ยงต่อกำลังพล รวมทั้งมีค่าใช้จ่ายสูง

บัดนี้คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงทุกคณะ ได้ดำเนินการเสร็จสิ้น และรายงานผลการสอบข้อเท็จจริงให้กองทัพเรือทราบแล้ว

จากนั้นกองทัพเรือเปิดวีดิทัศน์รายงานผลสอบเหตุการณ์เรือหลวงสุโขทัยล่ม สถานการณ์บนเรือ การติดต่อสื่อสาร และการช่วยเหลือหลังเรือจม สรุปได้ว่า มีผลกระทบสภาพอากาศ คลื่นลม แปรปรวนรุนแรงมีคลื่นสูง 6 เมตร ชณะที่เรือหลวงสุโขทัยสามารถเดินเรือได้ในความสูงของคลื่น 2.5 เมตร ทำให้การควบคุมเรือเป็นไปได้ลำบาก ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นคืนเดือนมืดท้องฟ้ามีเมฆมากมีข้อจำกัดในการตรวจการให้ความช่วยเหลือ

ต่อมา พลเรือตรีอภิรมย์ ระบุต่อว่า กองทัพเรือดำน้ำสำรวจตัวเรือ 4 ครั้ง ใน 3 ครั้งแรกเป็นการปฏิบัติของกองทัพเรือเอง ไม่สามารถเข้าไปในตัวเรือได้เนื่องจากมีความอันตราย ส่วนครั้งสุดท้ายร่วมกับกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา

สาเหตุของเรือหลวงสุโขทัยจมเพราะน้ำเข้าเรือ แบ่งได้ 2 กรณีคือ

  1. น้ำเข้าจากทางท้องเรือ ทำให้เรือจมลงไป เรียกว่าการสูญเสียกำลังลอยทำเรือจม
  2. น้ำเข้าเรือด้านบนเหนือจุดศูนย์ถ่วงของเรือ จะทำให้เรือเสียการทรงตัว เอียงแบบที่เรือหลวงสุโขทัยประสบในช่วงแรก

เรือเอียงก่อนที่จะจมลงพบความเสียหายหลายแห่ง

  • ตำแหน่งแรก แผ่นการคลื่น หน้าป้อมปืน 76 มม. ยุบตัวเพราะเจอคลื่นแรง จนดึงแผ่นเหล็กบนดาดฟ้าเปิดทำให้เกิดเป็นช่องรูใหญ่ พื้นที่ 1 ตารางนิ้ว
  • ตำแหน่งที่สอง ความเสียหายของป้อมปืน 76 มม. เนื่องจากโดนวัตถุของแข็งกระแทก ซึ่งไม่พบหลักฐาน เพราะวัตถุที่ว่าไม่ติดค้างที่ป้อมปืนจึงบอกไม่ได้ว่าคืออะไร แต่เชื่อว่าโดนวัตถุขนาดใหญ่กระแทกแน่นอน เป็นช่องที่ทำให้น้ำเข้าเรือได้
  • ตำแหน่งที่สาม รูทะลุบริเวณกงที่ 35 กราบซ้าย จำนวน 2 แห่ง สูงจากน้ำ 5 ฟุต โดนวัตถุภายนอกกระแทกเข้าไป รอยดังกล่าวไม่ได้เกิกที่ส่วนรอยเชื่อม จึงไม่ได้เกิดจากการซ่อมทำ ซึ่งรอยกระแทกดังกล่าว ไม่พบวัตถุที่ตกค้างว่ากระแทกจากอะไร ทำเป็นรอยกว้างยาว 1 ฟุต กว้าง 3-4 นิ้ว มีพื้นที้ 80 ตารางนิ้ว
  • ตำแหน่งที่สี่ ประตูห้องกระชับเชือกที่อยู่ในลักษณะเปิด มีโอกาสน้ำเข้าได้เมื่อประตูเปิด
  • ตำแหน่งที่ห้า ประตูท้ายห้อง gun bay ด้านป้อมปืน 76 มม.ที่ปิดไม่สนิท


สรุปความเสียหาย

ทั้งหมดนี้สรุปความเสียหายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการทำให้เรือเสียการทรงตัวและอับปางส่วนลำดับเวลาที่เรือวิ่งจาก อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรีไปหาดทรายรี จังหวัดชุมพร เครื่องขัดข้องนั้นซึ่งกรณีที่เรือเจอคลื่นสูงก็จะพบกรณีนี้อยู่บ้าง เนื่องจากน้ำมันที่อยู่ในถังสกปรก ไปชำระเศษฝุ่น อุดตันหัวฉีด ส่งผลให้หัวฉีดบางส่วนใช้การไม่ได้ ทำให้เครื่องยนต์ไม่สามารถรับภาระได้ อีกทั้งเรือหลวงสุโขทัยก็ใช้งานมากกว่า 40 ปีแล้ว ซึ่งอยู่ในช่วงท้ายที่จะเข้าสู่การปลดประจำการ

ขณะที่ พลเรือโทสุระศักดิ์ ระบุว่า ได้มีการสอบปากคำของผู้ที่เกี่ยวข้อง ความพร้อมของเรือหลวงสุโขทัย ภายหลังการซ่อมทำ ในปี 2564 ได้ทดลองเป็นไปตามมาตรฐานที่กรมอู่ทหารเรือกำหนด และได้ออก ปฏิบัติราชการตามปกติ การตรวจพบความชื้นบริเวณผนังห้อง Sonar ทางกาบซ้ายของตัวเรือ เนื่องจากใช้ราชการมา 1 ปี 9 เดือน การซ่อมบำรุงของกรมอู่ทหารเรือเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามมาตรฐาน และขณะออกเรือ เรือหลวงสุโขทัยมีความพร้อมในการปฏิบัติงาน

ด้านความเพียงพอเสื้อชูชีพต่อจำนวนกำลังพลในเรือ รวม 120 ตัว มาใช้ในราชการในเรือหลวงสุโขทัย การออกเรือครั้งนี้ มีกำลังพลขึ้นเรือ 105 นาย เสื้อชูชีพจึงเพียงพอ และมีการประกาศให้กำลังพลสมทบมารับชูชีพแล้วจำนวน 3 ครั้ง แต่กำลังพลสมทบไม่ได้ไปรับขณะที่กำลังพลประจำเรือบางนายไม่มีชูชีพเพราะไม่ได้สวมตั้งแต่แรก เพราะเมื่อไปผนึกน้ำแล้ว จึงไม่สามารถลงไปนำเสื้อชูชีพมาใช้ได้

ความพร้อมของแพชูชีพ

โดยหลวงสุโขทัยมีแพชูชีพจำนวน 6 แพอยู่ทางกาบซ้าย 3 แผงกาบขวา 3 แพ ขณะเกิดเหตุกำลังพลสามารถปลดแพกาบขวาได้ 2 แพ ส่วนอีก 4 แพอยู่ในพื้นที่เสี่ยงอันตรายเข้าถึงได้ยาก แต่เมื่อเรืออับปาง แพชูชีพทั้งหมดก็หลุดออกจากแท่นติดตั้ง

ความพร้อมของกำลังพล

ผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย พิจารณาว่า ภารกิจครั้งนี้ไม่ใช่ภารกิจในการรบเต็มรูปแบบ จึงจัดกำลังพลประจำเรือออกปฏิบัติราชการจำนวน 75 นายจากจำนวน 100 นาย เพื่อจัดที่พักอาศัยบนเรือให้แก่กำลังพลจากหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งจำนวน 30 นาย ที่โดยสารไปกับเรือ เมื่อถึงภาวะที่ต้องปฏิบัติงานในสภาพอากาศ คลื่นลมที่รุนแรง ทำให้ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของกำลังพลลดลง ทั้งยังต้องป้องกันความเสียหายที่เกิดหลายสถานที่ในห้วงเวลาเดียวกัน จึงทำให้การป้องกันความเสียหายของเรือกระทำได้อย่างจำกัด

การป้องกันความเสียหายเรือหลวงสุโขทัยมีอุปกรณ์ป้องกันความเสียหายครบตามอัตราที่กำหนดและพร้อมใช้งาน เมื่อพบว่ามีน้ำเข้าเรือจนมีการสั่งการแก้ปัญหาด้วยการผลึกน้ำทันที แต่ไม่สามารถออกไปตรวจสอบความเสียหายภายนอกตัวเรือได้ เนื่องจากสภาวะคลื่นลมแรง ทำให้ไม่ทราบความเสียหายภายนอกตัวเรือ ซึ่งกำลังพลของเรือหลวงสุโขทัยได้ทุ่มเทสัพกำลังในการป้องกันความเสียหายเต็มที่สุดความสามารถเพื่อแก้ไขวิกฤต

ผลกระทบจากสภาพอากาศคลื่นลมในวันเกิดเหตุ สภาพอากาศแปรปรวนเปลี่ยนแปลงฉับพลัน จากที่มีการพยากรณ์ไว้ ซึ่งมีเรือขนาดใหญ่จำนวนหลายลำอับปาง ในห้วงเวลาใกล้เคียงกัน เป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้เรืออับปางหลายลำและมีน้ำเข้าเรือจนเป็นเหตุเรือโคลงมาก และเป็นอุปสรรคต่อการช่วยเหลือกำลังพลที่ประสบภัย จึงมีการสูญเสียกำลังพล

ตัดสินใจผิดพลาด แต่ไม่ได้เกิดจากความจงใจทำผิด

ส่วนการตัดสินใจนำเรือกับฐานทัพสัตหีบ ของผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย ซึ่งมีระยะทางไกล ใช้เวลาในการเดินทางมากกว่านำเรือเข้าเทียบท่าเรือบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยพิจารณาว่า คลื่นลมบริเวณหน้าท่าเรือมีความรุนแรง ซึ่งท่าเรือไม่สามารถเทียบท่า และไม่มีเรือลากจูงสนับสนุนการเทียบท่า การเข้าเทียบท่าอาจเป็นอันตรายต่อเรือและในเวลานั้นผู้บังคับการเรือสุโขทัย ยังไม่ทราบ ข้อมูลการฉีกขาดของแผ่นเหล็กกันคลื่นบริเวณหน้าป้อมปืน จึงเห็นว่าหากนำเรือกลับจะทุเลาความรุนแรง ซึ่งถือเป็นการตัดสินใจภายใต้ข้อมูลที่มีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งผู้บังคับการโดยรวมสุโขทัยเห็นว่าเป็นหนทางปฏิบัติที่ดีที่สุด

คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงสรุปว่ากรณีเรือหลวงสุโขทัยอับปางไม่ได้เกิดจากความจงใจของผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัยรวมถึงกำลังพลบนเรือ แต่เกิดจากสภาพอากาศแปรปรวนอย่างฉับพลัน ทำให้เรือเกิดสภาวะผิดปกติและน้ำเข้าเรือ จากรูทะลุเป็นเหตุทำให้เรือเอียงและอับปาง การตัดสินใจนำเรือปรับฐานสัตหีบของผู้การเรือหลวงสุโขทัย ซึ่งมีระยะทางไกลและใช้ระยะเวลาเดินทางมากกว่า เป็นดุลพินิจโดยขาดความรอบคอบทำให้เกิดความเสียหาย เชื่อว่าการอับปางของเรือหลวงสุโขทัย มีส่วนเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่

ทั้งนี้ในการใช้ดุลพินิจโดยขาดความรอบคอบทำให้เกิดความเสียหายของผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย เป็นความผิดตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหารพ.ศ 2476 โดยเห็นสมควรลงทันณ์ “กัก” เป็นเวลา 15 วัน ซึ่งทัพเรือภาคที่ 1 ได้ประเมินให้กองทัพเรือได้ดำเนินการทางวินัย กับผู้บังคับการ้รือหลวงสุโขทัย แล้วส่งผลการพิจารณาให้คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดดำเนินการ ในส่วนที่เกี่ยวข้องส่วนในความผิดทางอาญาอยู่ระหว่างการพิจารณาของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางสะพานที่จะดำเนินการตามขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมต่อไป

ส่วน พลเรือเอกชัยณรงค์ กล่าวถึง การตรวจสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด จากผลการสอบสวนได้ว่า เหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้เกิดจากการจงใจเนื่องจากเป็นเหตุสุดวิสัยจากสภาพอากาศทั้งสิ้น และการตัดสินใจของผู้การเรือในการหันหัวเรือกับสัตหีบสามารถดำเนินการได้ ถือเป็นดุลพินิจ ของผู้การเรือหลวงสุโขทัย จึงไม่เข้าเงื่อนไขที่จะต้องรับผิด ทางละเมิด ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น

“ผู้การเรือ” รับผิดคนเดียว ขอลาออกจากราชการ

ด้านนาวาโทพิชิตชัย เรายอมรับว่า ตามที่ผู้บังคับบัญชาได้ชี้แจงเสร็จสิ้นแล้วนั้น ตนในนามของผู้บังคับการเรือ ขอแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ดังกล่าวอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อครอบครัวของผู้ที่สูญเสีย

“เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเรือหลวงสุโขทัยผมขอยืนยันว่าไม่มีผู้ใดตั้งใจทำให้เกิดขึ้น ผมและกำลังพลทุกนายได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจอย่างสุดความสามารถเพื่อกู้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้น และได้พยายามแก้ไขสถานการณ์ตามขั้นตอน ในเหตุวิกฤตที่เกิดขึ้นรุนแรงเกินกว่าที่จะควบคุมได้ ในสถานการณ์วิกฤตและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นนั้นในฐานะผู้บังคับการเรือจำเป็นต้องมีการตัดสินใจดังนั้นการนำเรือกลับสัตหีบจึงมาจากการใช้ดุลพินิจของผมซึ่งจากการประเมินสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น เรือยังอยู่ในสภาวะปกติไม่เอียง สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเรือสามารถควบคุมได้ จึงเชื่อว่าสามารถนำเรือกลับได้

แต่หลังจากที่ตัดสินใจนำเรือกลับ สภาพอากาศแปรปรวนเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันเลวร้ายกว่าเดิม ซึ่งการตัดสินใจของผมอาจเป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่รอบคอบ จงส่งผลต่อการส่วนตัวที่เกิดขึ้นดังนั้น ผมในฐานะผู้บังคับการเรือขอแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ต่างๆ ขอยอมรับโทษตามกองทัพเรือภาคที่ 1 และผู้บังคับบัญชาระดับสูงจะเห็นควร นอกจากนี้แล้วหลังจากเรื่องทุกอย่างเสร็จสิ้น ผมขอแสดงโจทย์จำนงค์ ลาออกจากกองทัพเรือ ที่เป็นถิ่นกำเนิดและบ้านเกิดการอบอุ่นของผม และเป็นการรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นรวมถึงเป็นการดำรงไว้ซึ่งเกียรติและตำแหน่งผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัยที่ทหารเรือตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้ดำรงมา”

ทั้งนาวาโทพิชิตชัย ยังยืนยันว่า มีอิสระในการตัดสินใจ จากสถานการณ์หน้างาน การหันหัวเรือกลับสัตหีบ ไม่ใช่การกดดันจากใครทั้งสิ้น เป็นการตัดสินใจของตนแต่เพียงผู้เดียว พร้อมทั้งยืนยันว่าผลการสอบสวนทั้งหมดไม่ได้มีการปกปิด และไม่ผิดไปจากข้อเท็จจริง

จากนั้นพลเรือเอกอะดุง ได้กล่าวปิดท้ายการแถลงข่าวพร้อมทั้งชื่นชม อดีตผู้การเรือหลวงสุโขทัย เป็นลูกผู้ชาย ใครไม่เป็นทหารไม่รู้ เพราะตั้งแต่เป็นนักเรียนเตรียมทหาร มาเป็นผู้การเรือต้องมีใจรัก ซึ่งการเป็นผู้การเรือเกรด A ของกองทัพเรือ เมื่อนำทัพทหารไปสูญเสีย ได้แสดงสปิริต ถ้าเขาไม่ลาออกก็ยังสามารถอยู่ได้ แต่ขอขอบคุณที่รักษากองทัพเรือไว้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook