แนวคิดหลักหนังโฆษณาจุดเริ่มต้นของโอกาส จากโครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน
ภายใต้สภาวะอากาศที่เต็มไปด้วยฝุ่น PM 2.5 ที่กลายเป็นภัยคุกคามหลักต่อสุขภาพของคนไทย ไม่ว่าจะอยู่ในเมืองใหญ่หรือพื้นที่ที่ห่างไกลในต่างจังหวัด ทุกคนต่างได้รับผลกระทบ ซึ่งหนึ่งในสาเหตุหลักคือการเผาป่าและพื้นที่การเกษตรเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการปลูกในฤดูกาลใหม่ โดยเฉพาะในภาคเหนือของประเทศไทย
โออาร์ เล็งเห็นถึงปัญหานี้ จึงได้ลงมือดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงนี้ ด้วยความเชี่ยวชาญของ Cafe Amazon โออาร์ จึงได้พัฒนา "โครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน " ที่ ต.ท่าผา อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ และ อ.ปัว จ.น่าน ที่มุ่งเน้นการพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำของธุรกิจ Cafe Amazon ตั้งแต่การลงพื้นที่ศึกษาปัญหาจริง การให้ความรู้แก่เกษตรกรปลูกกาแฟ การปลูกกาแฟร่วมกับไม้ร่มเงา(พืชเศรษฐกิจ) เพื่อช่วยลดการเผาป่าทำไร่เลื่อนลอย ลดการใช้สารเคมียาฆ่าแมลง ทำให้ลดมลพิษต่างๆ ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น จนถึงการรับซื้อเมล็ดกาแฟจากเกษตรกรโดยตรงด้วยราคาที่เป็นธรรม (Fair Trade) เพื่อสร้างรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืนให้กับเกษตรกร ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนผ่านสู่วิถีการเกษตรอย่างยั่งยืน ไม่ต้องพึ่งพาการเผาพื้นที่เกษตรแบบเดิม ๆ อีกต่อไป นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 และมลพิษทางอากาศในระยะยาว
โออาร์ พร้อมเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างสังคมที่พึ่งพาตนเองได้ สู่อนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้น โออาร์ โอกาสเพื่อสังคมสะอาด
โครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน
ชุมชนบ้านสามสบ และ บ้านแม่ยางส้าน ต.ท่าผา อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ อยู่ห่างจากอำเภอเมืองเชียงใหม่กว่า 120 กิโลเมตร ในอดีตชุมชนนี้เคยได้รับการส่งเสริมให้ปลูกกาแฟสายพันธุ์อะราบิกากันเกือบทุกครัวเรือน แต่ด้วยปัญหาสำคัญจากเส้นทางเดินทางเข้าหมู่บ้านค่อนข้างลำบากมาก จึงไม่ค่อยมีพ่อค้าและตลาดเข้าไปรับซื้อผลผลิตในพื้นที่ และผลผลิตที่ขายได้ก็มักจะถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงเลิกและตัดต้นกาแฟทิ้งกันเกือบหมด หันไปทำไร่ข้าวโพด ฟักทอง หอมแดง และข้าวไร่ แทนจนเกิดถางป่าในพื้นที่ป่าต้นน้ำเป็นจำนวนมาก มีการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงอย่างรุนแรงเพื่อเร่งปริมาณผลผลิต ส่งผลต่อการสะสมของสารเคมีในดิน และตามมาด้วยปัญหาด้านสุขภาพของตัวเกษตรกร
โออาร์ โดย Cafe Amazon จึงได้พัฒนาโครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน ต.ท่าผา อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ โดยมีความตั้งใจและมีเป้าหมายสำคัญเพื่อขยายผลองค์ความรู้การทำงานพัฒนาการปลูกและการผลิตกาแฟร่วมกับภาคีเครือข่ายในหลายพื้นที่เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่ที่ยังขาดโอกาสในการพัฒนาทักษะความรู้ได้มีองค์ความรู้ในการประกอบอาชีพอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นการช่วยเพิ่มเพิ่มพื้นที่ป่าผ่านการส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรให้ปลูกและผลิตกาแฟให้ได้ผลผลิตกาแฟที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน ควบคู่การอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยนำต้นแบบการปลูกกาแฟภายใต้ไม้ร่มเงา (ไม้เศรษฐกิจ) มาส่งเสริมในพื้นที่ ช่วยลดการเผาป่าทำไร่เลื่อนลอย ลดการใช้สารเคมียาฆ่าแมลง ทำให้ลดมลพิษต่างๆ ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น และยังเป็นช่องทางในการจำหน่ายเมล็ดกาแฟด้วยระบบราคาที่เป็นธรรม (Fair Trade) เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่แน่นอนและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
นอกจากนี้ โครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน ได้ขยายการดำเนินโครงการไปยังพื้นที่ อ. ปัว จ.น่าน ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง โออาร์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการปลูกกาแฟควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ มอบโรงเพาะกล้า โรงตากกาแฟ และระบบท่อน้ำเพื่อส่งเสริมการปลูกกาแฟให้แก่เกษตรกร ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน OR SDG ทั้งในด้าน “S” หรือ “SMALL” ที่มุ่งเน้นการให้โอกาสเพื่อคนตัวเล็ก ด้าน “D” หรือ “DIVERSIFIED” ที่มุ่งสร้างโอกาสเพื่อทุกการเติบโตทุกรูปแบบ และด้าน “G” หรือ “GREEN” ที่มุ่งสร้างโอกาสเพื่อสังคมสะอาด เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายของ OR 2030 Goals ให้เกิดสังคมสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืนและบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2573 ตลอดจนมุ่งสู่การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Carbon) ภายในปี 2593
โออาร์ ได้จัดตั้งโรงแปรรูปเมล็ดกาแฟ Cafe Amazon ตั้งอยู่ที่ อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นจุดรับซื้อผลผลิตเมล็ดกาแฟกะลาอะราบิกาในพื้นที่ภาคเหนือ จากเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟโดยตรงในราคาที่เป็นธรรม และเป็นสถานที่แปรรูปเป็นกาแฟสารที่มีคุณภาพ ก่อนที่จะจัดส่งให้โรงคั่วกาแฟ Cafe Amazon เพื่อคั่วและจำหน่ายไปยังร้าน Cafe Amazon ทั่วประเทศ และยังเป็นศูนย์พัฒนาทักษะความรู้ในการปลูก ผลิตและแปรรูปกาแฟให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานเพื่อความยั่งยืนอีกด้วย
ข้อมูลสนับสนุน :
บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จํากัด (มหาชน) หรือ โออาร์ เป็นบริษัท Flagship ของกลุ่ม ปตท. ที่ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจพลังงานและธุรกิจค้าปลีกแบบผสมผสาน เพื่อส่งต่อโอกาสให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มได้เติบโตไปด้วยกัน (Inclusive Growth) ภายใต้แนวคิด SDG ในแบบฉบับของ OR ได้แก่ Small (S) การสร้างโอกาสเพื่อคนตัวเล็ก ผ่านการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชน Diversified (D) การสร้างโอกาสเพื่อการเติบโตทุกรูปแบบ ผ่านศักยภาพของ OR ที่จะเป็นแพลตฟอร์มในการกระจายโอกาสทางธุรกิจที่หลากหลายและครอบคลุม (Inclusive Growth Platform) ทั้ง Physical Platform และ Digital Platform ตลอดจนร่วมมือกับพันธมิตรที่มีศักยภาพเพื่อผนึกกำลังประสานจุดแข็งและเติบโตไปพร้อมกัน Green (G) การสร้างโอกาสเพื่อสังคมสะอาด โออาร์ ให้ความสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมธุรกิจทุกประเภทให้เป็นธุรกิจสีเขียว เพื่อสนับสนุนให้เกิดสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน บรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2573 ตลอดจนมุ่งสู่เป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593
- โออาร์ เป็น 1 ในองค์กรต้นแบบ และเป็นองค์กรกลุ่มแรกในประเทศไทย ที่มีการตั้งเปาหมายความสำเร็จครบทั้ง 3 มิติ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของสังคม (People) สิ่งแวดล้อม (Planet) และผลประกอบการที่ดี (Performance) หรือที่เราเรียกว่า โออาร์ 2030 Goals ซึ่งประกอบไปด้วย Living Community, Economic Prosperity และ Healthy Environment
- โออาร์ ดำเนินธุรกิจตามแนวคิด OR SDG (Small / Diversified / Green) เป็นคำที่มีรากฐานมาจาก Sustainable Development Goals (SDGs) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ซึ่งจะมาตอบโจทย์เป้าหมายระยะยาวของ OR ให้เกิดขึ้นได้ในระยะเวลาอันสั้น
S – SMALL
โอกาสเพื่อคนตัวเล็กผ่านการดําเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชน โดย โออาร์ ได้มีการดำเนินการผ่านโครงการต่าง ๆ
- โครงการวิจัยและพัฒนาการปลูกและการผลิตกาแฟภายใต้ระบบอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ภาคเหนือ: ร่วมกับสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ พัฒนาเทคโนโลยีด้านการปลูกและการผลิตกาแฟสายพันธุ์อะราบิกา
ภาคใต้: ร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และสภาเกษตรกรแห่งชาติ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งเสริมการปลูกกาแฟสายพันธุ์โรบัสตาให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน
- อีกหนึ่งในโครงการที่สร้างโอกาสให้กับคนตัวเล็กและชุมชน คือ โครงการไทยเด็ด ที่ดำเนินการจากการคัดสรรสินค้าดีและเด่นในท้องถิ่นจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและ SMEs มาวางจำหน่ายในสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น ทั่วประเทศ 132 แห่ง เพื่อช่วยเหลือผู้คนในชุมชนและเพื่อชูอัตลักษณ์ที่สะท้อนถึงเรื่องราวและความภูมิใจของคนในพื้นที่ เพิ่มโอกาสในการส่งต่อสินค้าถึงมือผู้บริโภคทั่วประเทศ
- รวมถึงโครงการ Café Amazon for Chance ร้านกาแฟเพื่อผู้ด้อยโอกาส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโอกาสให้กับผู้ด้อยโอกาสกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม เช่น ผู้พิการทางการได้ยิน ผู้พิการทางร่างกาย ผู้พิการทางการเรียนรู้ ผู้สูงวัย รวมถึงทหารผ่านศึกและครอบครัว ได้มีอาชีพ มีรายได้ มีความภาคภูมิใจในตนเองจากการทำงานเป็นบาริสต้าในร้าน Cafe Amazon
D – DIVERSIFIED
โอกาสเพื่อการเติบโตทุกรูปแบบ ผ่านศักยภาพของ โออาร์ ที่จะเป็น Platform ในการกระจายโอกาสทางธุรกิจ ที่หลากหลายและครอบคลุม พร้อมเติบโตไปด้วยกัน
- ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ของ โออาร์ ที่มีศักยภาพในการกระจายโอกาสทางธุรกิจที่หลากหลายและครอบคลุมพร้อมแสดงจุดยืนที่ชัดเจนในการเป็น Inclusive Partnership เพื่อรองรับการเติบโตร่วมกันกับพันธมิตร เปิดโอกาสธุรกิจทุกประเภทเข้ามาสู่ระบบนิเวศของ โออาร์ เพื่อร่วมเติมเต็มศักยภาพและก้าวสู่ความสำเร็จด้วยกัน
- รวมถึงขยายการลงทุนสู่ธุรกิจต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความหลากหลายของสินค้าและบริการ รองรับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ผ่านการร่วมลงทุนและเป็นพันธมิตรกับกลุ่ม Start-up และ SMEs ช่วยต่อยอดธุรกิจของผู้ประกอบการรายย่อย
G - GREEN
โอกาสเพื่อสังคมสะอาด (Low Carbon Business Areas) ผ่านการส่งเสริมธุรกิจทุกประเภทของ โออาร์ ให้เป็นธุรกิจสีเขียว
- เพื่อสนับสนุนให้เกิดสังคมสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืนและบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2573 ตลอดจนมุ่งสู่การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Carbon) ภายในปี 2593 ผ่านการขยายธุรกิจ New Energy และโครงการต่าง ๆ
- สถานีบริการ พีทีที สเตชั่น วิภาวดี 62 เป็นจุดหมายแห่งใหม่ ที่มีสินค้าและบริการตอบโจทย์ทุกความต้องการ สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ สอดแทรกด้วยพื้นที่สีเขียว การใช้เทคโนโลยีจัดการสถานีให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ใช้พื้นที่สร้างส่วนร่วมกับชุมชน เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้คน ชุมชน สิ่งแวดล้อม
- Café Amazon Circular Living ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นําวัสดุใช้แล้วภายในร้านและโรงคั่วกาแฟ Cafe Amazon มาผลิตผ่านกระบวนการ Upcycling
- มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อตอบสนองต่อทิศทางการใช้พลังงานสะอาด สร้างโอกาสที่จะได้ช่วยรักษ์โลก ผ่านการขยาย EV Station PluZ กว่า 7,000 หัวชาร์จ (DC Fast Charger) ภายในปี 2573 ซึ่งเปิดให้บริการทั้งในและนอก สถานีบริการ พีทีที สเตชั่น
- รวมถึงส่งเสริมการแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม ผ่านโครงการแยก แลก ยิ้ม ร่วมสร้างจิตสำนึกและพฤติกรรมในการแยกขยะให้กับผู้คน เป็นการส่งเสริมการแยกขยะ เชิญชวนผู้บริโภคแยกขยะและนำมาทิ้งในถังขยะประเภทต่าง ๆ ในสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น และนำรายได้จากการขายขยะเหล่านั้นมาสร้างรอยยิ้มให้ชุมชน
[Advertorial]