เลขากฤษฎีกา งง! ถกกู้ทำ "ดิจิทัลวอลเล็ต" ในบอร์ดใหญ่ พูดถึง 3 แหล่งเงิน ไม่มี "ธ.ก.ส."

เลขากฤษฎีกา งง! ถกกู้ทำ "ดิจิทัลวอลเล็ต" ในบอร์ดใหญ่ พูดถึง 3 แหล่งเงิน ไม่มี "ธ.ก.ส."

เลขากฤษฎีกา งง! ถกกู้ทำ "ดิจิทัลวอลเล็ต" ในบอร์ดใหญ่ พูดถึง 3 แหล่งเงิน ไม่มี "ธ.ก.ส."
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เอ๊ายังไง?! เลขากฤษฎีกา ยืนยัน ถกกู้เงินทำ "ดิจิทัลวอลเล็ต" ในบอร์ดใหญ่ พูดถึงแหล่งเงินว่ามาจาก 3 แหล่ง ไม่มีชื่อ "ธ.ก.ส."

นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวถึง กรณีที่คณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัล วอลเล็ต (บอร์ดดิจิทัลวอลเล็ต) เห็นชอบให้ใช้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) มาดำเนินการในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ว่า ในวันประชุมบอร์ดดิจิทัลวอลเล็ต มีการพูดถึงแหล่งเงินว่ามาจาก 3 แหล่ง คือ

งบประมาณรายจ่ายปี 2567, งบประมาณรายจ่ายปี 2568 และอีกส่วนหนึ่ง มาจากการดำเนินการตามมาตรา 28 ของพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง เพื่อดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกร ประมาณ 1.7 แสนล้านบาท ซึ่งจะเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่รับงบประมาณ ยังไม่มีการพูดถึงเรื่องการกู้เงินจาก ธ.ก.ส.ในที่ประชุม ดังนั้นจึงไม่ทราบว่ามีการนำเรื่องกู้เงิน ธ.ก.ส.มาจากไหน

เลขาธิการกฤษฎีกา กล่าวว่า การดำเนินโครงการตามมาตรา 28 สามารถทำได้ แต่จะต้องมีการกำหนดรายละเอียดเป็นโครงการเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) อีกครั้ง แต่ยืนยันว่าในการประชุมบอร์ดดิจิทัลวอลเล็ตครั้งที่ผ่านมา ไม่มีการพูดเรื่องการใช้เงินจากธ.ก.ส สำรองจ่ายไปก่อนในฐานะโครงการหรือกิจกรรมของรัฐ

ทั้งนี้ การใช้เงินตามมาตรา 28 กับการใช้เงินของ ธ.ก.ส. ถือเป็นคนละเรื่องกัน ซึ่งการใช้เงินตามมาตรา 28 จะมีการกำหนดโครงการเพื่อจัดสรรงบประมาณ และประเมินข้อดี-ข้อเสีย โดยการดำเนินการตามมาตรา 28 นั้น เงินดังกล่าวจะต้องให้กับเกษตรกรเท่านั้น ส่วนรายละเอียดเรื่องการดำเนินโครงการ และการตรวจสอบว่าเป็นเกษตรกรตัวจริงหรือไม่ เป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังที่จะต้องไปดูแลเหมือนกับทุกโครงการที่ผ่านมา

ส่วนกรณีที่นายกรัฐมนตรี และสหภาพ ธ.ก.ส. ต้องการให้กฤษฎีกาตรวจสอบข้อกฎหมายอีกครั้ง จะส่งผลให้การดำเนินโครงการล่าช้าไปอีกหรือไม่นั้น นายปกรณ์ กล่าวว่า หากมีการนำเสนอเข้าสู่คณะรัฐมนตรี สำนักงานกฤษฎีกาก็สามารถเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาได้ แต่ถ้าเป็นการส่งเรื่องเพื่อขอหารือไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา กระบวนการจะต้องผ่านหน่วยงานที่รับผิดชอบพิจารณาว่า มีประเด็นปัญหาข้อกฏหมายตรงไหน และต้องหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน แต่ถ้ายังหาข้อยุติไม่ได้ ถึงจะไปยังขั้นตอนของกฤษฎีกา ซึ่งจะต้องมีการนัดประชุมอย่างน้อย 2-3 ครั้ง

นายปกรณ์ กล่าวด้วยว่า โดยส่วนตัวไม่รู้สึกหนักใจที่ต้องดำเนินการเรื่องนี้ เพราะถือเป็นหน้าที่ของกฤษฎีกาในการดูแลให้รัฐบาลดำเนินการต่างๆ ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น อย่าไปคิดมาก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook