หญิงตับแข็ง ผลแอลกอฮอล์เป็นบวก ทั้งที่ไม่เคยดื่ม หมอยังอึ้งร่างกายส่วนนี้ "กลั่นได้เอง"

หญิงตับแข็ง ผลแอลกอฮอล์เป็นบวก ทั้งที่ไม่เคยดื่ม หมอยังอึ้งร่างกายส่วนนี้ "กลั่นได้เอง"

หญิงตับแข็ง ผลแอลกอฮอล์เป็นบวก ทั้งที่ไม่เคยดื่ม หมอยังอึ้งร่างกายส่วนนี้ "กลั่นได้เอง"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หมอยังบอกเคสนี้แปลกมาก หญิงวัย 61 ปี มีระดับแอลกอฮอล์แสดงผลเป็น "บวก" แม้ไม่ได้ดื่มเครื่องดื่มมึนเมา แต่ร่างกายผลิตได้เอง

กรณีที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสาร Annals of Internal Medicine หญิงวัย 61 ปีคนหนึ่ง จำเป็นต้องปลูกถ่ายตับเนื่องจากโรคตับแข็ง แต่กลับทำให้พทย์สับสนเมื่อปัสสาวะของผู้ป่วยตรวจพบแอลกอฮอล์ซ้ำๆ แม้ว่าเธอจะปฏิเสธว่าไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์ก็ตาม

ผู้เชี่ยวชาญจากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยพิตต์สเบิร์ก สหรัฐอเมริกา ทำการตรวจสอบปัสสาวะ และพบว่าหญิงวัย 61 ปีรายนี้พูดความจริง เธอไม่เคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่กลับต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคที่พบได้ยาก แบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะจะหมักกลูโคส (น้ำตาล) ให้เป็นแอลกอฮอล์ ซึ่งส่งผลให้ระดับแอลกอฮอล์ผิดปกติ

อาการของผู้หญิงรายนี้คล้ายกับโรคที่พบไม่บ่อยที่เรียกว่า "auto-brewery syndrome" (ABS) กลุ่มอาการร่างกายกลั่นสุราได้เอง ซึ่งแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหารจะเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตเป็นแอลกอฮอล์ มีกรณีผู้ป่วยรายแรกได้รับการบันทึกในญี่ปุ่นเมื่อปี 1970 และอีก 10 ปีต่อมาจึงพบผู้ป่วยในสหรัฐอเมริกา

อย่างไรก็ดี ตามข้อมูลของ WordsSideKick ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มอาการของ ABS สามารถเมาได้เพียงจากการรับประทานคาร์โบไฮเดรต (แป้ง, น้ำตาล) แต่ผู้หญิงวัย 61 ในกรณีข้างต้นนี้ เกิดจากกระเพาะปัสสาวะของเธอผลิตแอลกอฮอล์ ถูกวินิจฉัยว่าเป็น ABS ในกระเพาะปัสสาวะ อาการของเธอหายากมากจนไม่มีชื่อด้วยซ้ำ แพทย์จึงเสนอให้เรียกอาการนี้ว่า "กลุ่มอาการต้มปัสสาวะเอง" หรือ "กลุ่มอาการหมักกระเพาะปัสสาวะ"

"Kenichi Tamama" ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ของ Clinical Toxicology Laboratory แห่ง Pittsburgh Medical Center กล่าวว่า เขาดีใจที่ทีมงานของเขาทำงานอย่างหนักเพื่อวินิจฉัยผู้ป่วยรายนี้ได้อย่างถูกต้อง เขาหวังว่าการค้นพบนี้จะนำความตระหนักรู้มาสู่วงการแพทย์ และช่วยเหลือผู้ป่วยที่ประสบภาวะที่หายากนี้ แต่กลับได้รับการพิจารณาอย่างผิดๆ ว่ามีความผิดปกติจากการดื่มสุรา

“เราได้ชี้แจงสถานการณ์ของผู้ป่วยรายนี้แล้ว และนั่นเป็นประโยชน์สำหรับเธอ เพราะการถูกวินิจฉัยว่าติดแอลกอฮอล์ เป็นสิ่งที่หลอกหลอนผู้ป่วย ”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook