กฟภ. มาพูดเอง! เปิด ๆ ปิด ๆ แอร์ กับ เปิดแอร์ต่อเนื่อง แบบไหนประหยัดไฟกว่ากัน

กฟภ. มาพูดเอง! เปิด ๆ ปิด ๆ แอร์ กับ เปิดแอร์ต่อเนื่อง แบบไหนประหยัดไฟกว่ากัน

กฟภ. มาพูดเอง! เปิด ๆ ปิด ๆ แอร์ กับ เปิดแอร์ต่อเนื่อง แบบไหนประหยัดไฟกว่ากัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ระหว่างปิด ๆ เปิด ๆ แอร์ กับ เปิดแอร์ต่อเนื่องยาว ๆ กฟภ. มาบอกเอง แบบไหนประหยัดไฟมากกว่า พร้อม 6 เคล็ดลับประหยัดค่าไฟ

ถือเป็นคำถามคาใจสำหรับ ผู้ใช้เครื่องปรับอากาศ หรือ แอร์ ว่าระหว่างปิด ๆ เปิด ๆ แอร์ กับ เปิดแอร์ต่อเนื่องยาว ๆ โดยสิ่งหนึ่งที่เรามักจะเข้าใจผิด คือคิดว่าการเปิดแอร์ต่อเนื่องนาน ๆ จะทำให้กินไฟมาก เพราะเครื่องปรับอากาศทำงานนาน

เฟซบุ๊ก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA ได้ออกมาโพสต์ภาพพร้อมข้อความว่า ร้อนระอุแบบนี้ ขาดแอร์ก็แทบขาดใจ แต่จะเปิดแอร์ยังไงให้เราไม่ช็อตฟิลกับบิลค่าไฟตอนสิ้นเดือน เซฟไทยขอแนะนำทริกดี ๆ ในการเปิดแอร์ช่วงหน้าร้อน ที่ยังเย็นฉ่ำ ๆ แต่ไม่ทำให้ค่าไฟไม่พุ่งกระหน่ำตาม ลองไปทำตามกันนะ….

1. เลือกขนาด BTU แอร์ให้เหมาะกับพื้นที่ห้อง เพื่อให้แอร์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และแอร์ขนาด 9,000–21,000 BTU เหมาะกับห้องขนาดเล็กถึงปานกลางอย่างคอนโด แอร์ขนาด 21,000–30,000 BTU เหมาะกับห้องขนาดกลางถึงใหญ่ เช่น ห้องนั่งเล่น ห้องโถง ส่วนแอร์ขนาดใหญ่ 30,000–36,000 BTU เหมาะกับห้องขนาดใหญ่ เช่น โฮมออฟฟิศ ร้านอาหาร คาเฟ่ เป็นต้น

2. เปิดแอร์ 26-27 องศาฯ ควบคู่กับเปิดพัดลม การเปิดพัดลมช่วยอีกทางจะเป็นการระบายความร้อน เพิ่มการเคลื่อนที่ของอากาศภายในห้อง และทำให้อุณหภูมิในห้องเย็นเร็วขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดค่าไฟลงได้ 10%

3. ล้างแอร์เป็นประจำทุก 6 เดือน หมั่นล้างแผ่นกรองแอร์เป็นประจำทุก 1 เดือน และล้างแอร์ทุกๆ 6 เดือน เพื่อกำจัดฝุ่นที่เกาะกรังอยู่ภายใน ซึ่งจะทำให้แอร์ทำงานได้อย่างเต็มกำลัง

4. ปิดแอร์เมื่อไม่ใช้งาน และไม่ควรปิด ๆ เปิด ๆ แอร์บ่อย ๆ การปล่อยให้แอร์ทำงานยาวนานต่อเนื่อง ย่อมดีกว่าการเปิด ๆ ปิด ๆ แอร์เพราะช่วงการทำงานของแอร์ที่กินไฟที่สุดคือ ช่วงที่เราเริ่มเปิดแอร์ และสตาร์ตมอเตอร์ เพราะฉะนั้นยิ่งเปิดแอร์บ่อย ก็ยิ่งกินไฟมากยิ่งขึ้น

5. ตั้งเวลาปิดแอร์ ช่วยเซฟค่าไฟ การตั้งเวลาปิดแอร์เป็นการควบคุมชั่วโมงการใช้แอร์ที่เหมาะสมที่สุด โดยเฉพาะเวลากลางคืนที่อากาศไม่ได้ร้อนมากจนเกินไป อาจหันไปใช้พัดลมแทน

6. ปิดประตู หน้าต่างในห้องให้สนิท ยิ่งภายในห้องมีช่องให้ลมแอร์เล็ดลอดผ่านไปหรือลมร้อนจากภายนอกผ่านเข้ามามากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้แอร์ต้องทำงานหนักเพื่อรักษาอุณหภูมิความเย็นให้คงที่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook