รู้ไว้ดีกว่า! "ยืนกิน" ช่วยย่อยอาหาร ไม่ทำให้น้ำหนักขึ้น ดีกว่านั่งกินจริงหรือ?
จริงหรือ? "ยืนกิน" ดีกว่านั่งกิน เพราะช่วยย่อยอาหาร แถมไม่ทำให้น้ำหนักขึ้น
เมื่อกระแสกการดูแลสุขภาพแพร่ไปทั่วโลก หลายๆ คนเริ่มให้ความสนใจกับการดูแลตนเองมากยิ่งขึ้น สำหรับพนักงานออฟฟิศที่อาจต้องนั่งอยู่กับที่เป็นเวลา 8 ชั่วโมงต่อวัน (หรือมากกว่านั้น) บางบริษัทถึงกับหันมาใช้โต๊ะยืนเพื่อปรับปรุงสุขภาพของพนักงาน รวมทั้งช่วยลดความกระสับกระส่ายที่เกิดจากการนั่งเป็นเวลานาน ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพของการทำงานลดลง
แต่เคยลองคิดบ้างไหมว่า หากว่าเราทุกคนสามารถยืนขณะทำงานได้ อีกทั้งยังส่งผลดีต่อสุขภาพและคุณภาพงาน ดังนั้นการรับประทานอาหารขณะยืนก็เป็นวิธีการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพด้วยหรือไม่? Yu Chengyu และ Lai Jianhan แพทย์ชาวไต้หวัน ได้รวบรวมข้อมูล 5 ข้อ เกี่ยวกับการ “ยืนกิน” ว่ามีข้อดีและข้อเสียต่อร่างกายอย่างไร
1. ผลการวิจัยพบว่าการย่อยอาหารจะเร็วขึ้นเมื่อยืน
เราทุกคนรู้ดีว่าทุกสิ่งบนโลกได้รับผลกระทบจากแรงโน้มถ่วง และการรับประทานอาหารก็ไม่มีข้อยกเว้น จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (NCBI) การนั่งลงทันทีหลังจากทานอาหาร จะย่อยอาหารได้เร็วกว่าการนอนราบ แม้ว่าจะไม่มีการเปรียบเทียบระหว่างการยืนทานกับนั่งทาน แต่โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์ระหว่างท่าทางหลังรับประทานอาหารกับความเร็วในการย่อย สามารถอนุมานความเร็วในการย่อยของอาหารในกระเพาะ ว่าเมื่อยืนทานอาจจะเร็วกว่านั่งทาน
2. ย่อยได้เร็ว แต่ก็ทำให้กินได้มากขึ้น
เมื่อมนุษย์ยืน ร่างกายจะใช้พลังงานประมาณ 50 แคลอรี่ต่อชั่วโมง ซึ่งมากกว่าการนั่ง หากคาดเดาจากทิศทางนี้ “ยืนกิน” ก็น่าจะลดน้ำหนักได้ง่ายกว่าใช่ไหม? แต่กลับพบว่าในทางตรงกันข้าม เมื่อยืนทานมักจะทำให้เราเร่งรีบและทานได้เร็วขึ้นความเร็วนี้เองอาจทำให้กินอาหารได้มากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น หากชอบยืนกิน แต่ไม่อยากเพิ่มน้ำหนักโดยรับแคลอรี่มากเกินไป แนะนำให้เคี้ยวช้าๆ ซึ่งยังช่วยลดภาระในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย ลดอัตราการเกิดอาการอาหารไม่ย่อย เพราะยิ่งกินเร็วก็หมายความว่าอาหารมักจะเคี้ยวไม่ละเอียด
3. ความหิวมาเร็วขึ้น
ถ้าไม่เพียงแต่ยืนทาน แต่ยังทานขณะเดินหรือทำกิจกรรมอื่นๆ อาจทำให้การย่อยอาหารเร็วขึ้น 30% ส่งผลให้ท้องว่างเร็วขึ้นและส่งสัญญาณความหิวไปที่สมอง ทำให้อยากหาอะไรมาทานเพื่อให้หยุดหิวอย่างรวดเร็ว แม้ว่าปรากฏการณ์นี้อาจน่ากังวลสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก หรือรักษารูปร่างให้ผอมเพรียว แต่สำหรับผู้ที่กำลังต้องการเพิ่มน้ำหนัก ถือเป็นวิธีหนึ่งในการเพิ่มปริมาณแคลอรี่ทั้งหมดในแต่ละวันได้
- หมอญี่ปุ่นลดน้ำหนัก 14 กก. สำเร็จในปีเดียว แค่จำหลัก 3 ข้อ อะไรกินได้ อะไรควรเลี่ยง
- เช็กก่อนกิน! ถั่ว 3 แบบ มีสารก่อสารพัด “โรคร้าย” ไม่ควรเอาเข้าปากแม้แต่ชิ้นเดียว
4.ลดความเสี่ยงของกรดไหลย้อน
กรดไหลย้อน (GERD) หมายถึงกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารเข้าสู่หลอดอาหาร ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดและแสบร้อนได้ การนอนทันทีหลังทานอาหาร หรือทานอาหารมากเกินไป อาจทำให้เกิดกรดไหลย้อนจากอาหารที่ไม่ได้ย่อย เพื่อหลีกเลี่ยงนอกจากการจะไม่ควรนอนลงทันทีหลังอาหารแล้ว ให้ลองยืนทานอาหาร และเดินเล่นหลังอาหาร เพื่อช่วยให้กระเพาะย่อยอาหารเร็วขึ้น
5.ท้องอืดบ่อยหลังรับประทานอาหาร
ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น เมื่อเรายืนทานมักจะทานเร็วขึ้น เพื่อเร่งการรับประทานอาหาร อาหารแต่ละคำจะถูกยัดเข้าไปมากขึ้น ในทำนองเดียวกัน อากาศจะถูกกินมากขึ้นตรมไปด้วย จึงอาจทำให้ท้องอืดได้ นอกจากนี้การเร่งการย่อยอาหารยังทำให้ระยะเวลาที่ร่างกายดูดซึมสารอาหารในอาหารสั้นลง เมื่อคาร์โบไฮเดรตที่อยู่ในอาหารดูดซึมได้ไม่เต็มที่ ก็อาจหมักและผลิตก๊าซทำให้เรารู้สึกท้องอืดได้
สรุปแล้วยืนกินหรือนั่งกินดีกว่ากัน?
การวิจัยระบุว่า แม้การรับประทานอาหารขณะยืน สามารถลดความเสี่ยงของกรดไหลย้อนได้ แต่ก็สามารถทำให้ผู้คนมีแนวโน้มที่จะรับประทานอาหารมากเกินไปและทำให้ท้องอืดได้ อย่างไรก็ตาม สาเหตุของภาวะเหล่านี้มักเกี่ยวข้องกับความเร็วในการรับประทานอาหาร ไม่ว่าคุณจะเลือกรับประทานอาหารด้วยวิธีใด การควบคุมความเร็วในการรับประทานอาหารระหว่างมื้ออาหารอย่างเหมาะสม ล้วนมีความสำคัญในการช่วยระบบย่อยอาหาร มากกว่าการเลือกรับประทานอาหารแบบยืนหรือนั่งเสีย