ไขข้อสงสัย! มรดกร้อยกว่าล้าน ต้องเสียภาษีเท่าไหร่?
จากกรณีพินัยกรรมที่กำลังเป็นกระแสอยู่ตอนนี้ หลายคนคงอดสงสัยไม่ได้ว่าแล้วผู้ที่ได้รับมรดกจำเป็นต้องเสียภาษีไหม? แล้วต้องเสียเท่าไหร่? วันนี้ sanook เลยไม่พลาดที่จะตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับภาษีมรดก จะเป็นอย่างไร ไปดูกันเลย!
กรณีใดบ้างที่ต้องเสียภาษีมรดก?
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าไม่ใช่ทุกคนที่ได้รับมรดกจะต้องเสียภาษีนี้ทั้งหมด จะเป็นเพียงบางกรณีเท่านั้น ที่ต้องเสียภาษีมรดก ซึ่งจะต้องตรงไปตามเงื่อนไขต่อไปนี้
- เมื่อทรัพย์สินมรดกที่ได้รับ มีมูลค่าสุทธิเกิน 100 ล้านบาท
- เมื่อเป็นทรัพย์สินใน 4 ประเภทนี้ ได้แก่ 1. อสังหาริมทรัพย์ (เช่น บ้าน คอนโด) 2. หลักทรัพย์ตามกฎหมาย (เช่น หุ้น หุ้นกู้) 3.เงินฝากธนาคาร 4. ยานพหนะ ที่มีทะเบียน
ผู้รับมรดกต้องเสียภาษีเท่าไหร่?
อัตราภาษีมรดก จะคิดตามความสัมพันธ์ของผู้รับมรดกกับเจ้าของมรดก ซึ่งแบ่งได้ 2 ประเภทดังนี้
กรณีภาษีอัตรา 5%:
ในกรณีที่ผู้รับมรดกเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดาน เช่น ผู้ตายมอบมรดกให้บิดา 127 ล้านบาท จะต้องคำนวนภาษี ดังนี้
- ภาษีที่ต้องจ่าย = (ทรัพย์สินมรดกสุทธิ - 100 ล้านบาท) x 5%
- ภาษีที่ต้องจ่าย = (127 ล้านบาท - 100 ล้านบาท) x 5%
- ภาษีที่ต้องจ่าย = 1.35 ล้านบาท
กรณีภาษีอัตรา 10%
ในกรณีผู้รับมรดกจะต้องไม่มีได้มีความเกี่ยวข้องทางสายเลือดกับเจ้าของมรดก ผู้ที่เป็น จะเสียอัตราภาษี 10% เช่น ได้รับมรดก 127 ล้านบาท จะต้องคำนวนภาษี ดังนี้
- ภาษีที่ต้องจ่าย = (ทรัพย์สินมรดกสุทธิ - 100 ล้านบาท) x 10%
- ภาษีที่ต้องจ่าย = (127 ล้านบาท - 100 ล้านบาท) x 10%
- ภาษีที่ต้องจ่าย = 2.7 ล้านบาท
สำหรับใครที่สงสัยว่าภาษีมรดกมีเงื่อนไขการจ่ายอย่างไร หวังว่าบทความนี้จะสามารถไขข้อสงสัยทุกคนได้ไม่มากก็น้อยนะคะ