ครบรอบ 30 ปี รูบิค บิดอัศจรรย์

ครบรอบ 30 ปี รูบิค บิดอัศจรรย์

ครบรอบ 30 ปี รูบิค บิดอัศจรรย์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พักสายตา : โดย อิสรภาพ แสงธรรม

ร้านขายของเล่นชื่อดังในอังกฤษจัดงานฉลองครบรอบ 30 ปีรูบิค ของเล่นลับสมองที่เคยได้รับความนิยมไปทั่วโลก และดูจะเพิ่มศักยภาพของคนให้หันมาสนใจเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ร้านแฮมลียส์ ทอย ช็อป ร้านขายของเล่นชื่อดังในกรุงลอนดอนของอังกฤษ จัดงานฉลองครบรอบ 30 ปีให้กับรูบิค ของเล่นลับสมอง ซึ่งเคยได้รับความนิยมสูงสุดไปทั่วโลกในช่วงทศวรรษที่ 80 และได้กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ ของวัฒนธรรมสมัยนิยม ของยุคนั้น

และถือได้ว่าเ รูบิค เป็นของเล่นที่ขายได้มากที่สุดในโลก โดยมีจำนวนยอดขายรวม ทั้งของแท้ และเลียนแบบ มากกว่า 300,000,000 ชิ้นทั่วโลก อ่านดูแล้วอาจจะไม่น่าเชื่อ

แต่ รูบิค ถือได้ว่าเป็นของเล่นฝึกสมองที่ท้าทายให้ผู้เล่น (รวมถึงตัวผู้เขียน) หาหนทางบิดเข้ารูปสี่เหลี่ยมจตุรัสให้แต่ละด้านเป็นสีเดียวกันทั้งหมด ซึ่งจะทำได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับเทคนิคของผู้เล่นแต่ละคนว่าจะจับจุดไขปริศนาบนสี่เหลี่ยมรูปบาศก์ได้รวดเร็วแค่ไหน

หากใครบางคนที่เพิ่งจะลองเล่น คงต้องขอบอกไว้ก่อนว่า เจ้ารูบิค มีมนต์ขลังในการทำให้ผู้เล่นเกิดการวิเคราะห์อย่างเป็นขั้นเป็นตอน การแก้ไขปัญหาที่เสมือนอุปสรรคยิ่งใหญ่ที่แก้ไขไม่ได้ง่าย และนี่คือสิ่งที่บ่งบอกและทำให้ฉุกคิดได้ว่า "หากจะแก้ไขปัญหาแต่ล่ะอย่างไม่ง่ายดาย แต่อยู่ที่หัวใจว่าจะสู้ต่อไปแค่ไหน เพื่อให้ได้ความสำเร็จ เจ็บบ้าง หกล้มบ้าง แต่คุ้มค่ากับสิ่งที่รอคอย" (ว่าไปแล้วผู้เขียนก็ดูจะน้ำเน่าไปนิด)

มาว่ากันต่อ โดยทั่วไป ตัวลูกบาศก์นั้นทำจากพลาสติก แบ่งเป็นชิ้นย่อยๆ 26 ชิ้น ประกอบกันเป็นรูปลูกบาศก์ที่สามารถบิดหมุนไปรอบๆ ได้ ส่วนที่มองเห็นได้ของแต่ละด้าน จะประกอบด้วย 9 ส่วนย่อย ซึ่งมีสีทั้งหมด 6 สี ส่วนประกอบที่หมุนไปมาได้นี้ทำให้ การจัดเรียงสีของส่วนต่างๆ สลับกันได้หลายรูปแบบ การจัดเรียงให้แถบสีทั้ง 9 ที่อยู่ในด้านเดียวกันของลูกบาศก์ ซึ่งมีทั้งหมด 6 ด้านนั้น มีสีเดียวกัน

เจ้ารูบิค เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นทั่วทั้งประเทศฮังการี โดยการบอกเล่าปากต่อปาก วงการศึกษาในกลุ่มประเทศตะวันตก และผู้ที่ได้ชื่อว่า ประดิษฐ์คิดค้น รูบิค ให้เราได้เล่นกันถึงทุกวนนี้ คือ เออร์โน รูบิค ประติมากรชาวฮังการี คิดค้นขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2517

ปัจจุบัน เจ้ารูบิค ได้รับความนิยมไปทั่วประเทศ และแพร่หลายเพิ่มทวีมาก ๆ ขึ้น จนต้องมีการการแข่งขัน ปั่นลูกบาศก์ (speedcubing) เพื่อหาผู้ที่สามารถแก้ปัญหาลูกบาศก์ของรูบิคได้เร็วที่สุด การแข่งขันครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงบูดาเปสต์ ในวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1982 ผู้ชนะเลิศการแข่งขันในครั้งนั้นคือ มิน ไท (Minh Thai) นักศึกษาชาวเวียดนามจาก นครลอสแอนเจลิส โดยใช้เวลา 22.95 วินาที สถิติโลกอย่างเป็นทางการที่ยอมรับโดย สหพันธ์ลูกบาศก์โลก (World Cube Association)

และนี่จึงเป็นจุดเล็ก ๆ ที่ทำให้ นักบิด หลายต่อหลายคนฝึกฝนและสร้างความชำนาญ ความท้าทาย การแก้ไขด้วยขั้นตอนที่อาศัยความรวดเร็ว ไม่ได้เป็นแค่เกมเพื่อวัดว่าใครทำได้เร็วที่สุด แต่นี่หมายถึง "ความท้าทายที่จะแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที" และ "ผสมผสานต่อสิ่งที่เรียกว่า ความพยามสู่ความสำเร็จ" อีกด้วย

ข้อมูลเพิ่มเติม :

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook