หนุ่มทรุด หมอชี้เป็นมะเร็ง เพราะลืมล้างส่วนนี้ใน "หม้อหุงข้าว" ช็อก พลาดกันแทบทุกบ้าน!

หนุ่มทรุด หมอชี้เป็นมะเร็ง เพราะลืมล้างส่วนนี้ใน "หม้อหุงข้าว" ช็อก พลาดกันแทบทุกบ้าน!

หนุ่มทรุด หมอชี้เป็นมะเร็ง เพราะลืมล้างส่วนนี้ใน "หม้อหุงข้าว" ช็อก พลาดกันแทบทุกบ้าน!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หนุ่มทรุด อุตส่าห์กินข้าวบ้านทุกวัน แต่ยังป่วย “มะเร็ง” หมอชี้จุดพลาด “ล้างหม้อหุงข้าว” แบบผิดๆ หลายบ้านก็ทำเหมือนกัน!

ตามรายงานพบว่า นายหลี่ อายุ 42 ปี จากมณฑลซานตง ประเทศจีน เป็นพนักงานออฟฟิศที่ยังคงกินข้าวหุงเองที่บ้านทุกวัน เพราะเชื่อมั่นว่าเมื่อเทียบกับอาหารที่สั่งจากภายนอก การกินข้าวสวยร้อนๆ ที่บ้านถูกสุขอนามัยและดีต่อสุขภาพมากกว่ามาก ด้วยเหตุนี้ทุกวันในช่วงพักเที่ยง จึงวิ่งกลับบ้านไปกินข้าวร้อนๆ เสมอ อย่างไรก็ตาม น่าแปลกที่หลังจากนั้นเพียงครึ่งปี เขาได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น “มะเร็งกระเพาะอาหาร”

จากการสำรวจประวัติทางการแพทย์และการรับประทานอาหารของผู้ป่วย แพทย์หวัง จู ฟัต โรงพยาบาลประจำจังหวัดซานตง ค้นพบว่านายหลี่ใช้หม้อหุงข้าวเก่ามานานหลายปี และที่สำคัญคือจะทำทำความสะอาดภายในหม้อเท่านั้น โดยไม่คิดว่าจำเป็นต้องทำความสะอาดส่วนอื่นๆ ของหม้อหุงข้าว ได้แก่ วาล์วระบายไอน้ำ ฝาปิดหม้อหุงข้าว และถาดทำความร้อน

การทำความสะอาดเครื่องครัวเป็นสิ่งสำคัญ!!!

แพทย์อธิบายว่า ต้องทำความสะอาดแผ่นทำความร้อน และฝาปิดภายในหม้อหุงข้าวเป็นประจำ แม้ว่าไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดทุกครั้งที่หุงข้าว แต่หากไม่ได้ทำความสะอาดเป็นเวลานาน สิ่งตกค้างร่วมกับความชื้นหลังหุงข้าวแต่ละครั้ง ก็อาจทำให้บริเวณนี้กลายเป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้

เมื่อดูเผินๆ อาจดูเหมือนว่าการทำความสะอาดหม้อหุงข้าว ไม่เกี่ยวข้องกับมะเร็งโดยตรง รวมถึงมะเร็งกระเพาะอาหารด้วย แต่ในความเป็นจริงแล้ว การบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนจากภาชนะปรุงอาหารที่ทำความสะอาดไม่ดีในระยะยาว มีความเชื่อมโยงอย่างมากกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคระบบทางเดินอาหาร

แพทย์ย้ำว่า ไม่เพียงแต่ต้องทำความสะอาดหม้อหุงข้าวเป็นประจำเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอุปกรณ์ในครัวทั้งหมดด้วย รวมถึงพัดลมระบายอากาศในครัว ตู้ใส่เครื่องเทศ อุปกรณ์ทำอาหาร เช่น มีด เขียง เป็นต้น เพื่อให้มั่นใจว่าจุลินทรีย์ก่อโรคไม่มีสภาวะที่จะแพร่ขยาย และก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้

ระวังภาชนะพลาสติกสำหรับอุ่นอาหาร!!!

ในระหว่างการรักษา นายหลี่ยังเสริมว่ามีนิสัยชอบเก็บและใช้ภาชนะพลาสติก เพื่อเก็บและอุ่นอาหาร สิ่งนี้ทำให้ร่างกาย "บรรทุก" สารเคมีอันตรายจำนวนนับไม่ถ้วนโดยไม่ตั้งใจ เมื่อภาชนะไม่ผ่านคุณสมบัติที่จะให้ความร้อนที่อุณหภูมิสูง ไม่ต้องพูดถึงพลาสติกราคาถูกที่มักประกอบด้วยพลาสติไซเซอร์ สารป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต สารตัวเติม เม็ดสี ซึ่งมีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้มากกว่า รบกวนระบบต่อมไร้ท่อของมนุษย์ และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะทางการแพทย์ต่างๆ รวมถึงมะเร็ง

แพทย์ที่รักษาหลี่ยังเน้นย้ำว่า แม้แต่ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีป้ายกำกับว่า "ปลอดสารบีพีเอ" ซึ่งเป็นสารที่สามารถรบกวนฮอร์โมนและเชื่อมโยงกับโรคอ้วน เบาหวาน และโรคหัวใจ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงในการปล่อยสารอันตรายหลังจากใช้งานเป็นเวลานาน ดังนั้น แนะนำว่าครอบครัวควรให้ความสำคัญกับการใช้ภาชนะแก้วหรือสเตนเลสเพื่อเก็บอาหารแทน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook